พอดแคสต์สำหรับคนที่ชื่นชอบเรื่องราวประวัติศาสตร์ในทุกมุมโลก เราจะพาไปเรียนรู้เรื่องราวในอดีตภายใน 8 นาที เพื่อถอดบทเรียนว่าเราจะสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
The podcast 8 Minute History is created by THE STANDARD. The podcast and the artwork on this page are embedded on this page using the public podcast feed (RSS).
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/SkQm43Pgb_Q
8 Minute History พาย้อนจุดกำเนิดของการนับช่วงเวลาแบบ ‘คริสต์ศักราช’ พร้อมลำดับเหตุการณ์สำคัญของโลกในช่วงศตวรรษที่ 1 ตั้งแต่การตรึงกางเขนพระสันตะปาปาองค์แรกแห่งโรมันคาทอลิก, การสร้างโคลอสเซียม รวมถึงการระเบิดของภูเขาไฟวิซุเวียสที่ทำให้เมืองปอมเปอีลุกเป็นไฟ
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/kaISff5ip_s
8 Minute History ซีรีส์ Brand Journey ตอนใหม่ พาไปเจาะลึกประวัติศาสตร์ของ ‘Bosch’ บริษัทเทคโนโลยีและวิศวกรรมระดับโลกที่อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมมากมายที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน
หัวใจสำคัญที่ Bosch ใช้ขับเคลื่อนองค์กรมาตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบันคืออะไร DNA แบบไหนทำให้ Bosch สามารถรักษามาตรฐานการผลิต รวมถึงคิดค้นนวัตกรรมล้ำๆ มานานกว่าศตวรรษ ติดตามพร้อมกันได้ในเอพิโสดนี้
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/WURsUKPNDps
8 Minute History เอพิโสดนี้พาย้อนประวัติศาสตร์ของ Duke University มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ Top 10 ของโลกมาอย่างต่อเนื่อง และมีวาระครบรอบ 100 ปีพอดีในปี 2024
สิ่งที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ จุดกำเนิดของมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาจากมหาเศรษฐีที่เป็นเจ้าพ่อแห่งวงการยาสูบ ภายใต้กรอบเวลาที่เป็น ‘ยุคทองของอุตสาหกรรม’ ในสหรัฐอเมริกา
อุตสาหกรรมยาสูบเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาแห่งนี้อย่างไร ศิษย์เก่าที่กลายมาเป็นบุคคลสำคัญของโลกมีใครบ้าง หัวใจที่ทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ติดอันดับ Top 10 มาหลายปีคืออะไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History ซีรีส์ ‘ประวัติศาสตร์ดัตช์’ เอพิโสดสุดท้าย พาไปดูการขยายเครือข่ายการค้าของชาวดัตช์ โดยเฉพาะการมุ่งสู่ดินแดนตะวันออกไกลของบริษัท Dutch East India Company ก่อนเข้าสู่ยุคเสื่อมถอย และปิดฉากลงหลังจากดำเนินการมา 197 ปีเต็ม
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History ซีรีส์ ‘ประวัติศาสตร์ดัตช์’ เอพิโสดนี้ พาไปดูจุดกำเนิดสาธารณรัฐดัตช์ พร้อมเบื้องหลังการวางแผนเดินเรือข้ามโลกเพื่อตามหาเครื่องเทศที่เกาะโมลุกกะ รวมถึงที่มาที่ไปของการก่อตั้งบริษัทการค้าข้ามชาติ VOC หรือ Dutch East India Company
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History ยังอยู่ในซีรีส์ประวัติศาสตร์ดัตช์ เอพิโสดนี้พาไปย้อนดูจุดกำเนิดของ ‘สาธารณรัฐดัตช์’ ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 โดยมีเหตุการณ์สำคัญคือ ‘สงคราม 80 ปี’ ระหว่างกลุ่ม Seventeen Provinces นำโดย William of Orange กับขั้วอำนาจเก่าอย่างจักรวรรดิสเปน
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History ซีรีส์ใหม่พาไปเจาะลึกประวัติศาสตร์ดัตช์, ฮอลันดา หรือเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน ประเทศเล็กๆ เคยเป็นมหาอำนาจทางทะเล มีเครือข่ายการค้าครอบคลุมตะวันออกยันตะวันตก และเป็นยังต้นกำเนิดตลาดทุนแห่งแรกของโลก รวมถึงธุรกิจอีกหลายสาขา
ในเอพิโสดนี้เริ่มต้นด้วยการปูพื้นฐานเหตุการณ์และตัวละครสำคัญในช่วงศตวรรษที่ 15-16 ซึ่งเป็นยุคแห่งการสำรวจโลกและฟื้นฟูศิลปวิทยาการ พร้อมเรียงลำดับเครือข่ายของราชวงศ์ Spanish Habsburg ที่ถือครองพื้นที่ยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าว นำมาสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐดัตช์ในเวลาต่อมา
8 Minute History ยังอยู่ในซีรีส์เกร็ดน่ารู้ที่จะช่วยให้เราอ่านหรือดู ‘สามก๊ก’ แบบสนุกขึ้น รู้บริบทรอบด้านมากขึ้น เอพิโสดนี้เฮียวิทย์แจกแจงเหตุการณ์ต่างๆ ตามลำดับเวลา สถานที่ และตัวละครสำคัญ เทียบเคียงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์โลก
8 Minute History พาไปเจาะลึกประวัติของสองมหาบุรุษแห่งยุคเรเนสซองส์ ‘เลโอนาร์โด ดา วินชี’ และ ‘มิเกลันเจโล’ บุคคลที่มีส่วนในการบุกเบิกและวางรากฐานศิลปะและวิทยาการแห่งโลกยุคใหม่ ไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า พวกเขาคือต้นแบบของ Lifelong Learner ที่มาก่อนกาล กล่าวคือเชี่ยวชาญทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นตัวอย่างของคนที่ใฝ่รู้ เปิดรับสิ่งใหม่ตลอดเวลา ชอบตั้งคำถามและหาคำตอบในทุกๆ เรื่อง ผลงานที่โดดเด่นของพวกเขามีอะไรบ้าง มันมีส่วนในการเปลี่ยนโลกอย่างไร และเหตุใดแนวคิด Lifelong Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงยังคงมีความสำคัญเรื่อยมานับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้พาย้อนประวัติศาสตร์การบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย ตั้งแต่การเริ่มขุดคลองในสมัยรัชกาลที่ 5, จุดกำเนิดระบบชลประทาน, การสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ เรื่อยมาจนถึงการสร้างเขื่อนและระบบการบริหารจัดการน้ำในปัจจุบัน
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History เอพิโสดนี้ เฮียวิทย์ช่วยปูพื้นฐานสำหรับคนที่อยากศึกษา ‘สามก๊ก’ ตั้งแต่จุดกำเนิดของงานเขียนชิ้นนี้ การคำนวณกรอบเวลาทางประวัติศาสตร์ ราชวงศ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมไขข้อข้องใจว่า เหตุใดสามก๊กจึงเป็นวรรณกรรมที่ถูกขนานนามว่า “จริง 7 เท็จ 3”
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History เอพิโสดนี้พาย้อนจุดกำเนิดของตลาดทุนในประวัติศาสตร์โลกและไทย พร้อมติดตามที่มา การเดินทาง และหมุดหมายของ ‘ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย’ ซึ่งกำลังจะมีอายุครบรอบ 50 ปี ในปี 2568
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History เอพิโสดนี้ ต้อนรับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 ด้วยการเปิดลายแทง ‘สามก๊ก’ ในแบบฉบับของเฮียวิทย์
เล่มไหนเหมาะสำหรับมือใหม่ เวอร์ชันไหนเหมาะกับนักบริหาร ผลงานของนักเขียนคนไหนที่อ่านแล้ววางไม่ลง เฮียวิทย์รวบรวมมาให้แล้วในคลิปนี้!
8 Minute History เอพิโสดนี้ ปิดท้ายซีรีส์ประวัติศาสตร์เบอร์ลิน สมรภูมิที่เป็นกลายเป็นศูนย์กลางของสงครามเย็น เรียงลำดับตั้งแต่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่อาจนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 จนถึงวันที่กำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย ซึ่งเป็นทั้งหมุดหมายของการสิ้นสุดยุคสงครามเย็น และจุดเริ่มต้นของยุคโลกาภิวัตน์
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History เอพิโสดนี้ ยังอยู่ในซีรีส์ประวัติศาสตร์เบอร์ลิน เริ่มต้นจากยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อเนื่องถึงช่วงสงครามเย็น โดยมีไฮไลต์อยู่ที่การสร้าง ‘กำแพงเบอร์ลิน’ ในปี 1961 ซึ่งเป็นหมุดหมายสำคัญของการวัดพลังอำนาจระหว่างฝั่งคอมมิวนิสต์อย่างโซเวียตและฝั่งโลกเสรีอย่างสหรัฐอเมริกา
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History เอพิโสดนี้ ประเดิมซีรีส์ใหม่ ‘ประวัติศาสตร์เบอร์ลิน’ เมืองหลวงของเยอรมนี ที่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์สุดเข้มข้น
เริ่มตอนแรกด้วยการสำรวจแลนด์มาร์กสำคัญในเมือง เล่าควบคู่ไปกับเหตุการณ์สำคัญของโลก ตั้งแต่สงครามนโปเลียน สงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง จนถึงช่วงสงครามเย็น ซึ่งเมืองแห่งนี้กลายเป็นสมรภูมิหลักของสองขั้วอุดมการณ์ซ้ายจัด-ขวาจัด
8 Minute History ซีรีส์ Brand Journey ตอนใหม่ พาไปเจาะประวัติศาสตร์ ‘มิชลิน’ แบรนด์ที่มีส่วนในการบุกเบิกนวัตกรรม ‘การเดินทาง’ รูปแบบใหม่ๆ ของมวลมนุษยชาติ ตั้งแต่การผลิตยางเพื่อการขับขี่ในยุคแรก การสร้างทางขึ้น-ลงเครื่องบินแบบลาดยาง ไปจนถึงการร่วมมือกับ NASA เพื่อพัฒนายานสำรวจพื้นผิวบนดวงจันทร์
8 Minute History เอพิโสดนี้ ชวนย้อนประวัติศาสตร์งานด้านความมั่นคงของไทยผ่านบันทึก (ไม่) ลับของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่จุดกำเนิดสภาการสงครามในสมัยรัชกาลที่ 6, ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2, ช่วงสงครามเย็น เรื่อยมาถึงยุคโลกาภิวัตน์และยุคดิจิทัล
ภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนไป อะไรคือภัยความมั่นคงที่ประเทศไทยต้องเผชิญในแต่ละช่วงเวลา ภารกิจสำคัญของหน่วยงานด้านความมั่นคงมีอะไรบ้าง และอะไรคือความท้าทายใหม่ๆ ที่รอเราอยู่ข้างหน้า มาร่วมหาคำตอบกันได้ในเอพิโสดนี้
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History ตอนพิเศษ ชวนถาม-ตอบกับเฮียวิทย์ ว่าด้วยเบื้องหลังหนังสือ THE RACE OF CIVILIZATIONS: อารยะแข่งขัน
เล่มนี้ต่างจากหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไปอย่างไร ทำไมเฮียถึงหมกมุ่นกับเรื่องการแข่งขันทางอารยธรรม เบื้องหลังการออกแบบปกสีชมพูหวานแหววคืออะไร และเหตุใดก่อนหน้านี้ เฮียเคยมีความคิดว่า ‘ชีวิตนี้จะไม่เขียนหนังสืออีกแล้ว!’
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History ปิดท้ายซีรีส์ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ว่าด้วยภารกิจช่วงชิงความเป็นมหาอำนาจ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งวีรกรรมและผลงานของประธานาธิบดีคนสำคัญ ตั้งแต่ Herbert Hoover, Franklin D. Roosevelt, Richard Nixon รวมถึงสองพ่อลูกตระกูล Bush
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History ยังอยู่กับประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ว่าด้วยยุคก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ การกำเนิดนวัตกรรมด้านไฟฟ้า และจุดเริ่มต้นสู่การเป็นมหาอำนาจของโลก ภายใต้การผลักดันของ Theodore Roosevelt ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ดีที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์
8 Minute History ยังอยู่ในซีรีส์ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาและประธานาธิบดีคนสำคัญ เอพิโสดนี้จะไล่เรียงหมุดหมายสำคัญในช่วงศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม สงครามกลางเมือง การเกิดขึ้นของรัฐใหม่ๆ ไปจนถึงจุดจบของระบบทาส ซึ่งเป็นผลงานชิ้นโบแดงของประธานาธิบดีที่ดีที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐฯ อย่าง Abraham Lincoln
8 Minute History ซีรีส์ใหม่ พาไปลำดับประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ผ่านเรื่องราวของประธานาธิบดีทั้ง 46 สมัย เริ่มต้นเอพิโสดแรกด้วยการปูพื้นเบื้องหลังการประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ. 1776 การก่อตั้งสภาคองเกรสจนนำไปสู่การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรกคือ จอร์จ วอชิงตัน
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History เอพิโสดนี้ ปิดท้ายซีรีส์ประวัติศาสตร์การทูตไทย ว่าด้วยเรื่องราวของคดีเพชรซาอุช่วงต้นทศวรรษ 1990 อันเป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ไทย-ซาอุมัวหมองยาวนานกว่า 30 ปี ก่อนจะกลับมารื้อฟื้นสัมพันธ์ได้สำเร็จเมื่อปี 2022
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History เอพิโสดนี้ ยังอยู่ในซีรีส์ประวัติศาสตร์การทูตไทย พาไปเจาะเบื้องหลังการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชียอาคเนย์ การเอาตัวรอดจากทฤษฎีโดมิโน การกำหนดท่าทีและจุดยืนของไทยที่ต้องดีลกับทั้งฝั่งโลกเสรีอย่างอเมริกา และฝั่งคอมมิวนิสต์อย่างจีนแผ่นดินใหญ่
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History ซีรีส์ใหม่ พาย้อนประวัติศาสตร์นโยบายด้านต่างประเทศของไทยภายใต้กระดานหมากรุกโลก
เริ่มตั้งแต่การเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติในสมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์ เรื่อยมาถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 1, สงครามโลกครั้งที่ 2, บทบาทของขบวนการเสรีไทย ไปจนถึงจุดยืนของไทยในสมรภูมิสงครามเย็น
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
youtu.be/sLqaZHOpSf0
8 Minute History ซีรีส์โอลิมปิกเกมส์ ปิดท้ายด้วยเรื่องราวของโอลิมปิกเกมส์ยุคหลังสงครามเย็น นับตั้งแต่ปี 1992 ที่บาร์เซโลนา เรื่อยมาถึงปี 2021 ที่โตเกียว
ในช่วงเวลาเกือบสามทศวรรษนี้ การจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิก นอกจากจะเป็นการชิงชัยในความเป็นเลิศด้านกีฬาแล้ว ไฮไลต์ในแต่ละครั้งยังอยู่ที่การแสดงพิธีเปิดของเจ้าภาพ ซึ่งมักจะมี ‘เซอร์ไพรส์’ ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ชมทั่วโลกได้เสมอ
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
8 Minute History ซีรีส์โอลิมปิกเกมส์เอพิโสดนี้ ไล่ลำดับประวัติศาสตร์โอลิมปิกเกมส์ช่วงทศวรรษ 1980-1990 ซึ่งขับเคลื่อนโดย Juan Antonio Samaranch ประธานคนใหม่ที่เข้ามาพลิกโฉมโอลิมปิกเกมส์ให้ทันสมัยมากขึ้น โดยเขาดำรงอยู่ในวาระยาวนานถึง 20 ปี
ในช่วงเวลานี้ มีหมุดหมายสำคัญเกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือการที่นักกีฬาไทยสามารถคว้าเหรียญกลับมาได้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับนักกีฬาจากเอเชียที่เริ่มเฉิดฉาย รวมถึงการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพได้สำเร็จของเกาหลีใต้ในปี 1988
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/PdhRRkj4S1k
8 Minute History ซีรีส์โอลิมปิกเกมส์ เอพิโสดนี้ เล่าถึงมหกรรมกีฬาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากโอลิมปิกเกมส์ที่กลับมาแข่งขันกันตามเดิมแล้ว ยังมีพาราลิมปิกเกมส์สำหรับผู้พิการ ซึ่งจัดคู่ขนานกันไปด้วย
แต่ด้วยสถานการณ์หลังสงคราม ความขัดแย้งในหลายพื้นที่ยังคงฝุ่นตลบ ตั้งแต่การแบ่งแยกประเทศที่ไม่ลงตัว ทั้งในกรณีของเยอรมนี สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์และสีผิว ส่งผลให้ในการแข่งขันไม่ได้มีแค่เรื่องกีฬาเท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีที่ถูกใช้แสดงออกซึ่งอุดมการณ์ และจุดยืนทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
8 Minute History ซีรีส์ใหม่ ต้อนรับมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ Paris 2024 Olympics ด้วยการพาย้อนจุดกำเนิดโอลิมปิกเกมส์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 120 ปี จากยุคแรกที่มีประเทศเข้าร่วมเพียงไม่กี่สิบชาติ สู่ยุคใหม่ที่กลายเป็นเวทีที่มหาอำนาจใช้ประกาศศักดาและความยิ่งใหญ่ของตน
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/13vT3Bv5dg0
ว่ากันว่าสำหรับคนเกาหลี 3 สิ่งที่หนีไม่พ้นคือ ความตาย ภาษี และ Samsung!
8 Minute History ซีรีส์ Brand Journey ตอนใหม่ จะพาไปสำรวจการเดินทางของ Samsung แบรนด์ยักษ์ใหญ่จากแดนกิมจิ ที่ไม่ได้มีดีแค่เรื่องสมาร์ตโฟนเท่านั้น แต่ผ่านการเดินทางและช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญทางประวัติศาสตร์เกาหลีใต้มาโดยตลอด และถือได้ว่าเป็นเครื่องยนต์ตัวสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่การมีขนาดเศรษฐกิจอันดับที่ 10 ของโลกอย่างปฏิเสธไม่ได้
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/8PRRMtIUFBU
8 Minute History ตอนพิเศษ ฉลองวาระครบรอบ 3 ปี รวมแล้วกว่า 300 ตอน!
ทีมงานชวนเฮียมาตอบข้อสงสัยยอดฮิตของแฟนรายการ ตั้งแต่ที่มาที่ไปของชื่อรายการ เบื้องหลังการทำงานและการหาข้อมูลในแต่ละเอพิโสด ไปจนถึงคำถามคลาสสิกที่ว่า “ประวัติศาสตร์ 8 นาที มีอยู่จริงไหม?”
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/erFHIqLg_kE
8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยบทสรุปของ ‘สงครามกลางเมืองกัมพูชา’ รวมถึงจุดจบของเขมรแดง ภายใต้ช่วงเวลาที่สงครามเย็นเริ่มผ่อนคลาย
ฝ่ายเขมรแดงนำโดย พอล พต เริ่มหมดหนทางในการยื้ออำนาจ เช่นเดียวกับเจ้านโรดม สีหนุ ที่ตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ขณะที่ขั้วอำนาจใหม่อย่าง ฮุน เซน เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นตัวละครสำคัญในการสถาปนาราชอาณาจักรกัมพูชา
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/ozkhRib7Nzk
8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยปฐมบทที่นำไปสู่เหตุการณ์ ‘พนมเปญแตก’ ในปี 1975 อันเป็นจุดเริ่มต้นของหน้าประวัติศาสตร์ที่มืดดำที่สุดของกัมพูชา พร้อมลำดับบริบทที่นำไปสู่การสังหารหมู่อันเหี้ยมโหด ภายใต้การปกครองของเขมรแดง
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/0QKPOJAFOuo
8 Minute History เอพิโสดนี้ ยังอยู่ที่เรื่องราวของสงครามกลางเมืองกัมพูชา ภายใต้กรอบเวลาที่สงครามเย็นเริ่มผ่อนคลาย ตัวละครสำคัญคือ พอล พต ผู้นำฝ่ายซ้ายจัดหรือ ‘เขมรแดง’ ที่เริ่มกระชับอำนาจและมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่จุดเปลี่ยนและความสูญเสียครั้งใหญ่ที่โลกต้องจารึก
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/YYGoor6Za5Q
หลังจากนำเสนอบริบทของ ‘เวียดนาม’ และ ‘ลาว’ ภายใต้สมรภูมิสงครามเย็นไปแล้ว ก็ถึงคราวของ ‘กัมพูชา’ ที่ถือเป็นอีกหนึ่งโดมิโนตัวสำคัญของการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคอินโดจีน
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนปูมหลังที่นำไปสู่สงครามกลางเมืองกัมพูชาในช่วงทศวรรษ 1960 พร้อมไล่ลำดับบทบาทตัวละครสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะ ‘เจ้านโรดม สีหนุ’ ซึ่งต้องดีลกับขั้วอำนาจทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาอย่างรอบคอบ
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/drJujcOFyDU
8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยบทสรุปของสงครามกลางเมืองลาว พร้อมเรื่องราวเบื้องหลังการทิ้งระเบิดกว่า 260 ล้านลูกใน Operation Barrel Roll จนนำไปสู่จุดเปลี่ยนผ่านทางการเมืองครั้งใหญ่ในลาว
การคืบคลานของกระแสคอมมิวนิสต์ในลาว ส่งผลต่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ลาวอย่างไร และท้ายที่สุด ลาวก้าวไปสู่การเป็นสาธารณรัฐได้อย่างไร ติดตามต่อได้ในเอพิโสดนี้
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/5uIsT0IDsgg
8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยบทบาทของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น โดยเฉพาะการเดินเกมเพื่อสกัดกั้นอิทธิพลคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคอินโดจีน
หนึ่งในหมากสำคัญภายใต้ยุค John F. Kennedy คือการหนุนกลุ่มอำนาจฝ่ายขวาในประเทศลาวแบบลับๆ ผ่านหน่วยงานอย่าง CIA
เป้าหมายที่แท้จริงของสหรัฐฯ ในหมากเกมนี้คืออะไร สุดท้ายแล้วสถานการณ์ในลาวจะลงเอยแบบไหน แล้วเหตุใดสงครามครั้งนี้จึงเป็นสงครามที่ประกาศไม่ได้ ติดตามได้ในคลิปนี้
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/3HmuJGFSFTI
8 Minute History ซีรีส์ใหม่ ว่าด้วยเรื่อง ‘สงครามลับในลาว’ ที่มีบริบทลากยาวตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อเนื่องถึงช่วงสงครามเย็น โดยมีมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เข้ามาเกี่ยวข้อง
ในอีพีแรกนี้จะเป็นการปูพื้นประวัติศาสตร์ของลาวในช่วงเปลี่ยนผ่าน ไล่เลียงตัวละครสำคัญ พร้อมชนวนความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำในลาวที่มีเจ้าอาณานิคมชักใยอยู่เบื้องหลัง
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/BBaLtiB1hbc
8 Minute History ยังอยู่กับเรื่องราวเบื้องหลังของภาพยนตร์ Lawrence of Arabia เอพิโสดนี้ว่าด้วยการตระบัดสัตย์ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งตัดสินใจเซ็นสัญญาสองฉบับที่มีเนื้อหาขัดแย้งกัน อันเป็นชนวนที่ทำให้ดินแดนอาระเบียถูกตัดแบ่งและครอบงำโดยมหาอำนาจ ตามมาด้วยความขัดแย้งที่ยังคงลากยาวจนถึงปัจจุบัน
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/y3djnLA10v4
8 Minute History ซีรีส์ใหม่ ว่าด้วยประวัติศาสตร์ที่เป็นจุดตั้งต้นของภาพยนตร์ Lawrence of Arabia ที่สร้างขึ้นจากบันทึกชีวิตอดีตสายลับของจักรวรรดิบริติช Thomas Edward Lawrence ที่เข้าไปร่วมปฏิบัติการกับชาวอาหรับ เพื่อต่อต้านจักรวรรดิออตโตมันในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
เบื้องหลังความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับกับเจ้าอาณานิคมอย่างจักรวรรดิออตโตมันคืออะไร แล้วฝั่งจักรวรรดิบริติช รวมถึงตัวละครอย่าง Lawrence เข้ามามีบทบาทในสถานการณ์นี้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยบทสรุปของซีรีส์เส้นทางสายไหม การเข้ามาของชาวอนารยชนมากหน้าหลายตา ส่งผลให้เส้นทางการค้าสายนี้มีทั้งช่วงรุ่งเรืองและโรยรา ทั้งยังเป็นสมรภูมิสงครามที่คร่าชีวิตผู้คนนับสิบล้านคน จนนำไปสู่การปิดประตูเส้นทางสายไหมในที่สุด
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/C8HVBFu-d3c
8 Minute History เอพิโสดนี้ ร้อยเรียงเรื่องราวของ ‘ทางสายไหม’ ในกรอบเวลา 900 ปี ผ่านการเดินทางเข้ามาค้าขายและขยายอิทธิพลของชาวต่างชาติ รวมถึงหลักฐานการเผยแผ่พุทธศาสนาตั้งแต่ช่วงราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย จนถึงราชวงศ์ถังที่เกือบโดนโค่นบัลลังก์โดยกบฏอันลู่ชาน
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/VzGzUYPeJ0I
8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยประวัติศาสตร์ ‘เส้นทางสายไหม’ เส้นทางการค้าที่ทอดยาวจากเอเชียตะวันตกจรดยุโรป ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การค้า ความขัดแย้ง การขยายอิทธิพล ตลอดจนประวัติศาสตร์จีนและโลกกว่า 1,500 ปี
ในตอนปฐมบทนี้จะบอกเล่าถึงความเป็นมาของเส้นทางสายไหมที่ไม่ได้บัญญัติโดยชาวจีน การค้นพบสุสานของปฐมกษัตริย์จีน ‘จิ๋นซีฮ่องเต้’ การสร้างกำแพงเมืองจีน รวมถึงการเดินทางของแม่ทัพจางเชียน ที่นำไปสู่การบุกเบิกการค้ากับโลกตะวันตก ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับเส้นทางสายไหมทั้งสิ้น
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/fB3NOUjZQgQ
8 Minute History เอพิโสดนี้ ปิดท้ายซีรีส์สงครามเวียดนาม ว่าด้วยบทสรุปในฉากท้ายๆ ตั้งแต่ช่วงที่สหรัฐฯ ทยอยถอนกำลัง กระบวนการเจรจาสันติภาพ ไปจนถึงวันที่ ‘ไซ่ง่อนแตก’ พร้อมบทเรียนและตราบาปที่แต่ละฝ่ายต้องแลกมา
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/htNhxiyQuHU
8 Minute History เอพิโสดนี้ ยังอยู่ในบริบทสงครามเวียดนาม ตั้งแต่ช่วงเวลาที่ ‘ตระกูลโง’ เรืองอำนาจ ชนวนเหตุที่นำไปสู่วิกฤตศาสนา จนถึงการล่มสลายของตระกูลโงในเวลาต่อมา
ทั้งนี้ จุดเปลี่ยนสำคัญคือช่วงเวลาที่สหรัฐฯ ตัดสินใจยกระดับกองกำลังจากหลักหมื่นสู่หลักแสน ในระหว่างปี 1963-1965 โดยมีนักกลยุทธ์คนสำคัญอย่าง Robert MacNamara คอยบัญชาการอยู่เบื้องหลัง
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/dCjer5390n0
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปเจาะลึกเวียดนามในยุคสงครามเย็น ซึ่งสหรัฐอเมริกาเริ่มเข้ามามีบทบาทในเวียดนามใต้ เป้าหมายหลักคือ การจำกัดอิทธิพลคอมมิวนิสต์ที่มีฐานอยู่ในเวียดนามเหนือและมีจีนคอยหนุนหลัง ก่อนจะกลายเป็นชนวนสำคัญของสงครามครั้งใหม่ที่ยืดเยื้อไปอีกนับสิบปี
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/xrlD5BeIAgk
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปเจาะลึกสถานการณ์ของเวียดนามหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่การต่อรองกับฝรั่งเศสในการปกครองเวียดนามเหนือ-ใต้ การร่วมเป็นพันธมิตรกับจีนในยุคเหมาเจ๋อตง จนนำไปสู่จุดพีคในสมรภูมิเดียนเบียนฟู ซึ่งฝรั่งเศสตัดสินใจยกธงขาวในที่สุด
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/6aBiFjcE7Y4
8 Minute History ประเดิมซีรีส์ใหม่ 5 ตอนรวด ว่าด้วยชะตากรรมของ ‘เวียดนาม’ ช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ต้องรับมือกับเจ้าอาณานิคมทั้งฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศบอบช้ำจากไฟสงครามร่วมสามทศวรรษ
เริ่มเอพิโสดแรกด้วยการย้อนบริบทของเวียดนามในยุคที่ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาล่าอาณานิคมในเอเชียอาคเนย์ อิทธิพลของญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไปจนถึงเส้นทางชีวิตและแผนกอบกู้ชาติของโฮจิมินห์
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/4zlM20Y9P1M
8 Minute History พาย้อนประวัติศาสตร์การค้นหาและผลิตพลังงานบนน่านน้ำของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา
ไม่นานนี้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นประเด็นอีกครั้ง เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าเต็มไปด้วยแหล่งก๊าซธรรมชาติ ทว่ายังไม่มีฝ่ายใดลงมือสำรวจและนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะการเจรจายืดเยื้อมาหลายสิบปีโดยยังไม่มีข้อสรุป
ทางออกของปัญหานี้มีอะไรบ้าง และแนวทางความร่วมมือที่เคยประสบความสำเร็จในอดีตเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ เดินทางมาถึงตอนจบของมหากาพย์แก๊งค้ายาโคลอมเบีย
หลังจากประธานาธิบดีคนใหม่ชนะการเลือกตั้งในปี 1990 พันธกิจสำคัญของรัฐบาลโคลอมเบียคือการไล่ล่าตัวเอสโกบาร์มาดำเนินคดีให้ได้ ซึ่งสุดท้ายพวกเขาก็ทำสำเร็จด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งจากกลุ่มเครือญาติของผู้ที่ถูกเอสโกบาร์สังหาร กลุ่มปฏิบัติการ Search Bloc รวมถึงไส้ศึกที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งกันเองภายในกลุ่มเมเดยิน
8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยเรื่องราวของโคลอมเบีย ในยุคที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของแก๊งมาเฟียยักษ์ใหญ่ นำโดย Pablo Escobar ที่เหิมเกริมถึงขั้นไล่เก็บกวาดศัตรูทางการเมืองอย่างอุกอาจคนแล้วคนเล่า ตั้งแต่นักการเมืองคู่แข่ง เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ไปจนถึงสื่อมวลชน จนทำให้โคลอมเบียตกอยู่ในสภาวะ ‘รัฐล้มเหลว’
8 Minute History ยังอยู่กันที่เรื่องราวของสงครามยาเสพติดในอเมริกา โดยเอพิโสดนี้จะโฟกัสไปที่การขยายอิทธิพลของแก๊ง Medellin และ Pablo Escobar ตั้งต้นจากแก๊งค้ายาในโคลอมเบีย ลามไปสู่การเป็นองค์กรอาชญากรรมที่ไม่เกรงกลัวใคร โดยหนึ่งในหมากสำคัญคือการที่ Pablo Escobar ตัดสินใจลงเล่นการเมือง พร้อมสั่งสมฐานเสียงจากการสร้างภาพลักษณ์ ‘โรบินฮู้ด’ ที่ต่อสู้เพื่อคนทุกข์ยาก
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนมหากาพย์สงครามยาเสพติดในอเมริกา ซึ่งกินเวลายาวนานกว่าสามทศวรรษ ตั้งต้นจากช่วงปลายทศวรรษ 1960 ที่วัฒนธรรมฮิปปี้เบ่งบาน ประกอบกับผลพวงจากสงครามเวียดนาม ซึ่งทหารจำนวนมากเลือกใช้ยาเสพติดในการผ่อนคลายความเครียด
หมุดหมายสำคัญคือการประกาศ War on Drugs ในยุคประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เพื่อต่อกรกับกลุ่มผู้ผลิตและค้ายาในอเมริกาใต้ โดยเฉพาะ ปาโบล เอสโกบาร์ ราชายาเสพติดผู้ร่ำรวยที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนประวัติศาสตร์อิตาลีในแง่มุมของ Soft Power ซึ่งประกอบไปด้วย 4 อุตสาหกรรมหลัก คือ แฟชั่น, อาหาร, เฟอร์นิเจอร์ และยานยนต์
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่คนทั่วไปอาจไม่คุ้นเคยนักคือ กลุ่มของเฟอร์นิเจอร์ระดับลักชัวรี ซึ่งหลายแบรนด์มีประวัติศาสตร์ยาวนานไม่ต่ำกว่าร้อยปี
เริ่มต้นจากงานฝีมือ สู่ยุคเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมอิตาลี หน้าตาของแบรนด์และผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีอะไรบ้าง คุณค่าและความแตกต่างแบบอิตาลีคืออะไร แล้วมันส่งอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมด้าน Home and Living ทั่วโลกในปัจจุบันอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
พูดถึงประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น หนึ่งในกรอบเวลาที่ควรค่าแก่การศึกษาคือช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ถึงต้นศตวรรษที่ 17 ซึ่งญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนผ่านจากยุคเซนโกคุไปสู่ยุคโชกุน โดยมีหมุดหมายสำคัญคือการเดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีจากชาติตะวันตกสองชาติคือดัตช์และโปรตุเกส
เหตุการณ์ดังกล่าวถูกนำมาถ่ายทอดเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ‘Shogun’ โดย James Clavell ในปี 1975 และได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์ฟอร์มยักษ์อีกครั้งในปี 2024
8 Minute History เอพิโสดนี้ จะช่วยปูพื้นฐานประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าวแบบเจาะลึก ตั้งแต่การช่วงชิงอำนาจภายใน การเข้ามาเผยแพร่ศาสนาและวิทยาการของชาวตะวันตก ไปจนถึงการก่อกำเนิด Western Samurai ในราชสำนักญี่ปุ่น
8 Minute History เอพิโสดนี้ เล่าถึงช่วงเวลาที่ความสนใจในวิทยาการตะวันตกในจีนได้เลือนหายไปจากการผลัดแผ่นดินแต่ละสมัย ประกอบกับความพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นทำให้จีนเข้าสู่ยุคมืด หยุดนิ่งทางการพัฒนาประเทศ
กลับกันกับเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นที่เร่งปฏิรูปประเทศอย่างสุดแรง หลังประจักษ์ถึงความก้าวหน้าของวิทยาการตะวันตก จนสามารถกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจในเอเชียได้ในที่สุด
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนประวัติศาสตร์ช่วงศตวรรษที่ 16 ซึ่งชาติตะวันตกอย่างดัตช์และโปรตุเกสเริ่มขยายอิทธิพลมายังตะวันออกไกล โดยมีปราการด่านแรกคือเกาะมาเก๊า ซึ่งเป็นเสมือนประตูสู่แผ่นดินจีน
การที่ชาติตะวันตกจะเข้ามาสานสัมพันธ์กับจีนนั้น แม้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สุดท้ายพวกเขาก็ทำได้สำเร็จ ด้วยการใช้วิทยาการและองค์ความรู้จากฝั่งตะวันตกที่เหนือกว่ามาเป็นข้อแลกเปลี่ยน
ทว่านั่นก็ไม่ต่างจากดาบสองคม เพราะแม้จีนจะได้ประโยชน์ แต่นั่นก็เป็นการยอมรับกลายๆ ว่า พวกเขาล้าหลังกว่าชาติตะวันตกอยู่หลายก้าว
8 Minute History เอพิโสดนี้ ยังคงตามติดเบื้องหลังโศกนาฏกรรมช็อกโลกในโอลิมปิก ปี 1972 ที่เมืองมิวนิก
หลังจากกลุ่ม ‘กันยาทมิฬ’ หรือ Black September บุกเข้าควบคุมตัวประกันชาวอิสราเอลได้สำเร็จ นำไปสู่การประกาศข้อเรียกร้องให้ทางการอิสราเอลปล่อยตัวชาวปาเลสไตน์ สนามโอลิมปิกจึงแปรเปลี่ยนเป็นสนามการเมืองอันคุกรุ่นและยากที่จะคาดเดา
เหตุการณ์ตึงเครียดในวันที่ 5-6 กันยายน 1972 ลุกลามจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งประวัติศาสตร์ และต้องใช้เวลากว่าครึ่งศตวรรษในการชำระล้างตราบาปที่เกิดขึ้น
ในวาระที่มหกรรมกีฬาโอลิมปิกใกล้เวียนมาอีกครั้ง 8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนเบื้องหลังโศกนาฏกรรมช็อกโลกในโอลิมปิก ปี 1972 ที่เมืองมิวนิก
ในขณะที่เจ้าภาพอย่างเยอรมนีตะวันตกตั้งใจใช้งานนี้เพื่อลบภาพจำแย่ๆ จากการเป็นเจ้าภาพครั้งก่อนที่จัดขึ้นภายใต้การเรืองอำนาจของนาซี สิ่งที่พวกเขาไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีกลุ่มก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ลักลอบเข้าไปในหมู่บ้านนักกีฬาเพื่อจับนักกีฬาชาวอิสราเอลเป็นตัวประกัน ก่อนลงเอยด้วยเหตุการณ์น่าสลดในตอนท้าย
อะไรคือมูลเหตุจูงใจเบื้องหลังเหตุการณ์นี้ และฝั่งเจ้าภาพมีวิธีรับมือสถานการณ์ดังกล่าวอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
จากโรงรถในเมืองเชเซนา ประเทศอิตาลี สู่ผู้นำนวัตกรรมด้านสุขภาพระดับโลก เริ่มขึ้นจากแนวคิดตั้งต้นอย่าง ‘Wellness is everyone’s business’ ทำให้ Technogym ขับเคลื่อนด้วยการผสาน 3 แนวคิดหลักคือ Innovation, Performance และ Design เข้าไว้ด้วยกัน จนกลายเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านสุขภาพในหลากหลายมิติ
8 Minute History ซีรีส์ Brand Journey เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ‘Technogym’ แบรนด์ที่เป็นผู้นำด้าน Luxury Wellness สัญชาติอิตาลีแท้ๆ ที่เป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมด้านการออกกำลังกายหลายประเภท รวมถึงเป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกับมหกรรมกีฬานานาชาติอย่างโอลิมปิก ฟุตบอลโลก และฟอร์มูลาวัน (Formula One) มาหลายทศวรรษ
จากตอนที่แล้ว เราเล่าถึงประวัติการขุดคลอง เส้นทางการค้าสำคัญของโลก เช่นคลองคีล ประเทศเยอรมนี, คลองคอรินท์ ประเทศกรีซ และคลองสุเอซ ประเทศอียิปต์
8 Minute History เอพิโสดนี้ เล่าเรื่องอีกหนึ่งคลองสำคัญที่มีลักษณะใกล้เคียงกับโครงการ ‘คลองกระ’ ของไทยเรามากที่สุดคือ คลองปานามา พร้อมเฉลยสาเหตุที่การขุด ‘คลองกระ’ หรือ ‘คอคอดกระ’ ไม่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ในตอนนี้ของ 8 Minute History พามาย้อนแผนการขุด ‘คลองกระ’ หรือ ‘คอคอดกระ’ ในยุคของปรีดี พนมยงค์ เป็นการลดทางที่ซับซ้อนผ่านช่องแคบมะละกาถึง 1,200 กิโลเมตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าทางทะเล และส่งเสริมเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
ถึงแม้โครงการนี้จะไม่สำเร็จในยุคนั้น แต่แนวคิดนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญสำหรับการวางแผน และพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางทะเลของบริเวณนี้ในอนาคต
8 Minute History เอพิโสดนี้ ปิดท้ายเรื่องราวของ ‘อาจารย์ฝรั่ง’ ศิลป์ พีระศรี ด้วยเบื้องหลังการตั้งชื่อและถือสัญชาติไทย การวางรากฐานมหาวิทยาลัยศิลปากร ไปจนถึงผลงานประติมากรรมเด่นๆ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ท่านและบรรดาลูกศิษย์ร่วมกันสร้างสรรค์
ในตอนที่แล้ว เราได้เกริ่นถึงการเดินทางของศิลปะอิตาเลียนมายังสยามประเทศ ผ่านผลงานของสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาเลียนหลายคน เช่น Mario Tamagno, Annibale Rigotti, Galileo Chini รวมถึง Corrado Feroci ที่ได้รับชื่อไทยว่า ศิลป์ พีระศรี ในเวลาต่อมา
8 Minute History เอพิโสดนี้ จะพามาทำความรู้จักกับ Corrado Feroci ในมุมที่ลึกขึ้น ตั้งแต่การวางรากฐานด้านศิลปะตะวันตกในไทย การใช้เทคนิค Iconographic (ประติมานวิทยา) ในการปั้นประติมากรรม อาทิ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ซึ่งแม้ไม่เคยเห็นพระองค์จริง แต่ผลงานของท่านกลับแม่นยำ จนได้รับคำชมจากรัชกาลที่ 7 ว่า “ดีมาก เหมือนมาก”
สถานีรถไฟหัวลำโพง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พระที่นั่งอนันตสมาคม ล้วนเป็นประติมากรรมอิตาเลียน หากแต่เราอาจไม่ทันสังเกตว่าศิลปะอิตาเลียนเหล่านี้หาชมได้ยากในแถบเอเชียตะวันออก แล้วเหตุใดมาอยู่กลางกรุงสยามได้
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนวันวานสู่ยุครัชกาลที่ 5 เปิดประตูต้อนรับศิลปินอิตาเลียนมากมายเข้ามาสู่สยามประเทศ ทั้ง Mario Tamagno, Annibale Rigotti, และ Galileo Chini รวมถึง Corrado Feroci ซึ่งต่อมาได้รับการเชิดชูในนามศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งไม่เพียงแต่มีคุณูปการต่อวงการศิลปะร่วมสมัยอย่างมหาศาล แต่ยังเป็นหลักฐานของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของสองประเทศที่อยู่คนละซีกโลก
จากความเดิมตอนที่แล้ว เราได้เห็นภาพกว้างของการเมืองอินเดีย และระบบการแบ่งวรรณะที่มีอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างความไม่เท่าเทียมและการแบ่งแยกในสังคมอินเดียมาอย่างยาวนาน
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปเจาะลึกประวัติและปูมหลังชีวิตของ ดร.อัมเบดการ์ ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักกฎหมาย นักเศรษฐศาสตร์ และนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมของ ‘ฑลิต’ ชนชั้นต่ำสุดในสังคมอินเดีย รวมถึงการเบนเข็มศรัทธาของตัวท่าน ซึ่งตัดสินใจเปลี่ยนศาสนาเป็นพุทธศาสนิกชนในช่วงบั้นปลายชีวิต
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ดร.อัมเบดการ์ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย’
เบื้องหลังชีวิตของชายคนนี้มีหลายมิติที่น่าสนใจ ตั้งแต่การเกิดมาเป็น ‘จัณฑาล’ ที่อยู่นอกระบบวรรณะของชาวฮินดู, การต่อสู้ขวนขวายจนได้รับวุฒิการศึกษาระดับสูงจากตะวันตก จนถึงจุดยืนด้านศาสนาที่สวนทางโดยสิ้นเชิงกับ มหาตมะ คานธี
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนประวัติศาสตร์อันดุเดือดของอินเดีย ตั้งแต่การต่อสู้ของชาวซิกข์ เพื่อนำมาซึ่งรัฐเอกราชคาลิสถาน (Khalistan) ซึ่งเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงนำไปสู่ ‘ปฏิบัติการดาวสีน้ำเงิน’ (Operation Blue Star) ที่เปลี่ยนศาสนสถานสำคัญเป็นเวทีโศกนาฏกรรมที่คร่าชีวิตผู้คนกว่า 500 ราย รวมถึงการสังหาร อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีหญิงของอินเดีย ที่โลกไม่อาจลืมเลือน
ภายใต้การปกครองที่เด็ดเดี่ยว อินทิรา คานธี พาอินเดียฝ่าฟันวิกฤตและก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ตลอด 3 ยุคสมัย รวมเวลากว่า 15 ปี ในประเทศที่ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาทุกท่านมารู้จักกับ อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีหญิงเพียงหนึ่งเดียวในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองอินเดีย ทั้งชีวิตวัยเด็ก นโยบายการเมืองที่ทำให้เธอครองใจชาวอินเดียมายาวนาน รวมถึงมูลเหตุที่นำไปสู่โศกนาฏกรรมที่ทำให้เธอจบชีวิต ภายใต้ ‘ปฏิบัติการดาวสีน้ำเงิน’ (Operation Blue Star)
รู้หรือไม่ว่า ก่อนที่โลกเราจะมีนวัตกรรมยาและวัคซีนที่ทรงประสิทธิภาพอย่างทุกวันนี้ ในอดีตมนุษย์เคยเผชิญโรคระบาดใหญ่มาแล้วหลายครั้ง คร่าชีวิตประชากรโลกเป็นหลักสิบล้านคน โดยไร้หนทางป้องกันหรือรักษา
8 Minute History เอพิโสดนี้ ขอพาย้อนประวัติศาสตร์การเกิดโรคระบาดครั้งสำคัญของโลก พร้อมไล่เลียงจุดเริ่มต้นและพัฒนาการของนวัตกรรมยาและวัคซีนที่ช่วยให้มนุษย์รับมือกับโรคภัยต่างๆ ได้ดีขึ้นตามลำดับ
จากความเดิมตอนที่แล้ว ความพยายามรวมชาติพันธุ์ในการประชุมที่ปางหลวงของนายพลอองซานเหมือนจะดำเนินไปด้วยดี หากแต่หนทางประชาธิปไตยของเมียนมายังไม่ถึงเส้นชัย
8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยห้วงเวลาสำคัญหลังจาก ‘บิดาแห่งเมียนมาสมัยใหม่’ อย่างนายพลอองซานถูกสังหาร การเกิดขึ้นของรัฐกะเหรี่ยง และการรัฐประหารครั้งใหญ่โดยนายพลเนวิน ผู้พลิกหน้าประวัติศาสตร์การเมืองเมียนมาไปตลอดกาล
จากความเดิมตอนที่แล้ว เมียนมาได้เผชิญหน้าการรุกรานจากอังกฤษ และตกไปอยู่ใต้อาณานิคมของ British Raj ในที่สุด ทว่าประวัติศาสตร์ของเมียนมาไม่ได้หยุดนิ่งที่เหตุการณ์นั้น
8 Minute History เอพิโสดนี้ ไปสำรวจยุคที่เมียนมาเจอการแทรกแซงจากมหาอำนาจเอเชียอย่างญี่ปุ่น และการต่อสู้เพื่อเอกราชภายใต้การนำของนายพล ออง ซาน ผู้เป็นบุคคลสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองของเมียนมา รวมไปถึงความพยายามในการรวมชาติพันธุ์ต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านการประชุมที่ปางหลวง สะท้อนถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เต็มไปด้วยความท้าทาย และความปรารถนาอันแรงกล้าในการกำหนดอนาคตของชาติตนเองของประชาชนเมียนมา
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปไขรหัส CHANEL N°5 น้ำหอมที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘The world’s most famous fragrance.’ กับแขกรับเชิญพิเศษ ปืน-สธน ตันตราภรณ์ นักวิชาการด้านแฟชั่น ที่มีโอกาสไปเยี่ยมชมแหล่งปลูกดอกลิลลี่ และกระบวนการผลิต CHANEL N°5 ที่เมืองกราสส์ ประเทศฝรั่งเศส อย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน
อะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้กลิ่นหอมของ CHANEL N°5 ได้รับความนิยมมากว่าหนึ่งศตวรรษ ประวัติศาสตร์เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของน้ำหอมเลื่องชื่อนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ติดตามได้ใน 8 Minute History ‘Brand Journey’ ตอนพิเศษนี้ไปพร้อมๆ กัน
8 Minute History เอพิโสดนี้ จะพาคุณไปสำรวจประวัติศาสตร์และการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านของเรา ‘สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา’ ตั้งแต่ยุคของพระเจ้าอโนรธามังช่อ ผู้เป็นปฐมกษัตริย์ ผู้ก่อตั้งและปูพื้นฐานอาณาจักรพุกามอันยิ่งใหญ่ ไปจนถึงการรุกรานจากชาวตะวันตก จนเกิดเป็นสงครามอังกฤษ-พม่า (Anglo-Burmese Wars) ถึง 3 ครั้ง กินเวลากว่า 60 ปี
การเปลี่ยนแปลงอำนาจเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อการเมืองและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคมอย่างลึกซึ้ง
6 ประเทศ 4 ภาษา 3 ศาสนา ยูโกสลาเวีย อดีตดินแดนคอมมิวนิสต์อันแสนรุ่งโรจน์ ที่มีจุดจบเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่
8 Minute History MEDLEY เอพิโสดนี้ สรุปประวัติศาสตร์ยูโกสลาเวีย และเล่าถึงการรวมชาติภายใต้การนำของจอมพลติโต รวมไปถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์บอสเนีย ตั้งแต่ยุคทองของความเป็นหนึ่งเดียว ผ่านความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่นำไปสู่การแบ่งแยก ค้นหาคำตอบว่าทำไมแผ่นดินแห่งนี้ถึงกลายเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าในหน้าประวัติศาสตร์
“ข้าค้นพบโรมในวันที่มันสร้างด้วยอิฐ และจากมาในวันที่มันกลายเป็นเมืองหินอ่อน” คือคำกล่าวของ ซีซาร์ ออกุสตุส (Caesar Augustus) จักรพรรดิพระองค์แรกของอาณาจักรโรมัน เป็นประโยคอมตะที่สะท้อนพลวัตของหนึ่งในจักรวรรดิที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกได้เป็นอย่างดี
8 Minute History MEDLEY เอพิโสดนี้ ขอพาทุกคนย้อนไปสู่วันวานแห่งความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากแรกเริ่มก่อตั้ง สู่วันที่ค่อยๆ ร่วงโรย ล่มสลาย ก่อนถูกแบ่งแยกและกลายเป็นประเทศมหาอำนาจแห่งยุโรปในปัจจุบัน
8 Minute History เอพิโสดนี้ เดินทางมาถึงตอนสุดท้ายของซีรีส์สงครามนโปเลียน และฉากจบของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ผู้แพ้ภัยต่อความอหังการ์ ก่อนถูกเนรเทศไปอยู่บนเกาะอันห่างไกล และจบชีวิตลงอย่างโดดเดี่ยว
ผลที่ตามมาหลังจากนั้นคือการขยายอำนาจของเยอรมนีและจักรวรรดิอังกฤษ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสาธารณรัฐที่ 2 ของฝรั่งเศส ภายใต้จักรพรรดินโปเลียนที่ 3
8 Minute History เอพิโสดนี้ รับชมรับฟังกันแบบต่อเนื่องกับเรื่องราวของ ‘สงครามนโปเลียน’ ภายใต้การนำทัพของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1
เจาะลึกสงครามย่อยๆ ทั้ง 7 ครั้ง ที่เต็มไปด้วยกลการรบและเกมการเมือง ในยุคที่ความยิ่งใหญ่ไม่ใช่เพียงเพราะผู้นำ กระบอกปืนใหญ่ และจอมพล แต่เพราะประชาชนที่ยืนอยู่ข้างหลัง
8 Minute History พาไปร้อยเรียงมหากาพย์สงครามที่นำไปสู่ความรุ่งโรจน์ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ความยิ่งใหญ่ที่ Ridley Scott ผู้สร้าง Gladiator นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ชื่อ Napoleon นำแสดงโดย Joaquin Phoenix
เริ่มต้นเอพิโสดแรกกับที่มาที่ไปของสงคราม เส้นทางสู่อำนาจของนโปเลียน โบนาปาร์ต จากนายทหารปืนใหญ่ กลายเป็นกงสุลใหญ่ และเป็นผู้ผลัดแผ่นดินสู่ยุคจักรวรรดิฝรั่งเศส
8 Minute History เอพิโสดนี้ มาถึงจุดจบของนโปเลียนที่ 3 ผู้สร้างความงามให้ปารีส แต่อยู่ไม่ทันได้เชยชมผลงานตน พ่ายศึกที่สู้ไม่ได้ทั้งจำนวนคนและแสนยานุภาพ
ด้าน ‘ปรัสเซีย’ หรือเยอรมนี นำโดย Otto von Bismarck ผู้ที่รู้ผลการศึกตั้งแต่ก่อนเริ่ม นำขบวนทัพประกาศสถาปนาจักรวรรดิหยามฝรั่งเศสกลางพระราชวังแวร์ซายส์ ความดุเดือดของศึกฟรานโก-ปรัสเซียนจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ ยังคงอยู่กับเรื่องราวของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งสาธารณรัฐที่ 2 ของฝรั่งเศส ครั้งนี้มาย้อนดูความรุ่งโรจน์ที่ส่งผลถึงความรุ่งเรืองในปัจจุบัน ตั้งแต่โครงการพัฒนาอุตสาหกรรม อภิมหาโปรเจกต์ Haussmann และการออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่เหล่าทหาร
แต่สุดท้ายบุคคลที่ประชาชนโหวตให้อย่างถล่มทลาย กลายเป็นถูกกดดันจนต้องยอมสละอำนาจบางส่วน ก่อนหน้านั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วเหตุใดจึงลงเอยเช่นนี้ ติดตามต่อกันได้เลย!
8 Minute History เอพิโสดนี้ เริ่มต้นซีรีส์ความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส-เยอรมนีช่วงหลังการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม และการเกิดขึ้นของกษัตริย์พลเมือง ด้วยประวัติของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 หรือ ‘หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต’
จากอดีตผู้ลี้ภัยการเมืองในวัยเยาว์ กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกจากการเลือกตั้งโดยประชาชนฝรั่งเศส สู่การรัฐประหารตนเอง และสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ ติดตามได้ในซีรีส์จักรพรรดินโปเลียนที่ 3
รายการ 8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปย้อนประวัติศาสตร์ ‘ไส้กรอกเยอรมัน’ จากวิธีการถนอมอาหารที่มีมาตั้งแต่ยุคโบราณ สู่อาหารที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก พร้อมไขข้อสงสัยว่า เหตุใดเยอรมนีจึงเป็นชนชาติที่เชี่ยวชาญในการทำไส้กรอก รวมถึงการแปรรูปเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แฮม เบคอน โบโลนา แล้วในประเทศไทยเอง เริ่มรู้จักรสชาติต้นตำรับแบบเยอรมันตั้งแต่เมื่อไร บริษัทไหนที่เป็นผู้บุกเบิกการผลิตอาหารประเภทนี้เป็นรายแรกๆ
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจประวัติศาสตร์ของผู้แจ้งเบาะแส หรือ ‘Whistleblower’ ปราการด่านแรกที่มีส่วนสำคัญในการตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลภายในองค์กร ตั้งแต่การทุจริตฉ้อโกงในระดับเล็กๆ ไปจนถึงการเปิดโปงข้อมูลลับในคดีคอร์รัปชันระดับโลก
ความสำคัญของ Whistleblower คืออะไร ต้นตอของคำนี้มีที่มาจากไหน และในโลกยุคปัจจุบันมีนโยบายหรือมาตรการแบบไหนที่ช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมการ Speak Up ที่ยั่งยืนได้ ติดตามได้ใน 8 Minute History เอพิโสดนี้
8 Minute History ยังอยู่กันที่ออตโตมัน จากจักรวรรดิที่รุ่งเรือง ล้าหลัง เข้าไปมีความสัมพันธ์กับสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเลี่ยงไม่ได้ จนสู่ยุคผู้พ่ายที่ไร้ธงตนเองบนแผ่นดิน ถูกตัดแบ่งพื้นที่เป็นชิ้นๆ อังกฤษและฝรั่งเศสล่อลวงเมืองขึ้นของออตโตมันให้ร่วมต่อต้านด้วยของขวัญชิ้นโตอย่างคำว่า ‘เอกราช’ จนเกิดสนธิสัญญา ‘Treaty of Serves’
แม้ออตโตมันล่มสลาย แต่ชาวเติร์กมิยอมจำนน จนในที่สุดช่วงชิงพื้นที่หนึ่งจนเป็นสาธารณรัฐตุรกี จากความขัดแย้งเหล่านี้นำสู่ความขัดแย้งในปัจจุบัน เกี่ยวเนื่องโยงใยกันอย่างแยกไม่ได้ จะเป็นอย่างไรเริ่มฟังได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ ต่อกันที่จักรวรรดิออตโตมันที่เริ่มล้าหลังไม่ทันตะวันตก จนกลายเป็นเบี้ยล่างในกระดานหมากรุกโลก และนำไปสู่มหาสงครามโลกครั้งที่ศูนย์ หรือสงครามไครเมีย สงครามที่เริ่มจากปัญหาความไม่ลงรอยกับจักรวรรดิรัสเซีย โดยออตโตมันมีพันธมิตรคืออังกฤษและฝรั่งเศส
แต่ภายหลังแม้จะชนะสงครามไครเมีย กลับมีปัญหาด้านการเงินที่ต้องกู้ยืมจากพันธมิตรจนเป็นหนี้ก้อนโต เมื่อพันธมิตรมีอิทธิพลและอำนาจเหนือกว่า ออตโตมันหันไปสร้างสัมพันธ์เพิ่มกับเยอรมนีเพื่อถ่วงดุลอำนาจ ส่วนตนเองมีการรัฐประหารยึดอำนาจภายใต้ชื่อ ‘Young Turk’
แล้วการล่มสลายของออตโตมันจะเป็นอย่างไรต่อ ติดตามได้ที่เอพิโสดหน้า
8 Minute History ซีรีส์ ‘จุดสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน’ ประวัติศาสตร์มหาอำนาจที่อยู่มายาวนานถึง 6 ศตวรรษ และกินพื้นที่ 3 ทวีป แต่ไม่สามารถก้าวทันความก้าวหน้าของชาติยุโรปได้ จึงเริ่มมีการรยกเลิกระบบแกนหลักของสังคมออตโตมันเพื่อหวังจะพัฒนาให้ทันชาวโลก
แต่ภัยคุกคามความมั่นคงในโลกยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมมาถึงเร็วเกินกว่าที่ออตโตมันจะสร้างกองทัพสมัยใหม่ให้เข้มแข็งรับมือภัยคุกคามได้ อีกทั้งยังต้องรับมือกับปัญหาในพื้นที่ปาเลสไตน์ ที่กลายมาเป็นชนวนเหตุในสงครามโลกครั้งที่ 0 ในเวลาต่อมา ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ออตโตมันที่เคยยิ่งใหญ่กลับร่วงโรย ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History คุยต่อเนื่องถึงประวัติศาสตร์เทคโนโลยี การกำเนิดพลังงานไฟฟ้า ที่กลายมาเป็นอุตสาหกรรมหลักในโลกปัจจุบัน การผลิตกระแสไฟฟ้านำไปสู่การเกิดสงครามระหว่างสองบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่พยายามต่อสู้กันระหว่างการสนับสนุนการใช้ ‘ไฟฟ้ากระแสตรง’ และ ‘ไฟฟ้ากระแสสลับ’
สงครามที่นำกระแสไฟมาทดสอบกับชีวิตคนจะนำไปสู่ผลลัพธ์อะไรบ้าง และทำไมสงครามไฟฟ้าในครั้งนั้น จึงเป็นการแข่งขันที่สกปรกที่สุดในสังคมอเมริกา ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้เรียงหมุดหมายสำคัญของประวัติศาสตร์โลกควบคู่ไปกับพัฒนาการของ ‘Shrewsbury School’ มรดกทางการศึกษาที่มีจุดเริ่มต้นจากราชวงศ์ทิวดอร์แห่งอังกฤษเมื่อเกือบ 500 ปีก่อน สู่สถาบันการศึกษานานาชาติชั้นนำทั้งในสหราชอาณาจักรและประเทศไทยในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตบุคลากรคนสำคัญของโลกอย่าง ‘ชาร์ลส์ ดาร์วิน’ เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการ รวมถึงห้องสมุดที่รวบรวมเรื่องราวสำคัญของประวัติศาสตร์โลกเอาไว้ในสถาบันการศึกษาแห่งนี้ด้วย
มรดกทางการเรียนรู้จากรั้วสหราชอาณาจักร สู่การพัฒนาการศึกษาในประเทศไทย จะมีเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ ชวนย้อนอดีตไปในช่วงที่ทำให้ทุกวันนี้เรามีไฟฟ้าเป็นแหล่งความสว่างภายในบ้าน โดยนักประดิษฐ์-นวัตกร ‘Thomas Edison’ ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟและจำหน่ายไฟฟ้าให้มีไว้ใช้ในครัวเรือนได้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลถึงโลกปัจจุบัน
แต่ผลงานของ Edison ในยุคนั้นยังเป็นเพียงการใช้ ‘ไฟฟ้ากระแสตรง’ ทำให้ลูกน้องเก่าอย่าง ‘Nikola Tesla’ กลายเป็นคู่ปรับและเข้ามามีบทบาทในการคิดหาทางออก จนนำไปสู่การใช้ ‘ไฟฟ้ากระแสสลับ’ ในเวลาต่อมา วิวัฒนาการทั้งสองนี้นำไปสู่จุดเริ่มต้นของสงครามแห่งกระแสไฟฟ้าได้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History ปิดท้ายซีรีส์ด้วยสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างสันนิบาตอาหรับกับอิสราเอล ซึ่งมีชนวนมาจากการบุกโจมตีอิสราเอลเพื่อทวงคืน ‘คาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน’ แต่เหตุการณ์บานปลาย จนกระทั่งสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาต้องเข้ามามีบทบาทในการยุติ และนำไปสู่ ‘สัญญาสันติภาพอียิปต์-อิสราเอล’
ถึงแม้ว่าสงครามครั้งนั้นจะยุติลง แต่ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังคงคุกรุ่นอยู่ในพื้นที่ขัดแย้งถึงปัจจุบัน รายละเอียดของความขัดแย้งที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ คุยต่อเนื่องถึงพื้นที่แห่งความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล และกลุ่มสันนิบาตอาหรับ ความขัดแย้งครั้งที่ 2 อันเกิดจากการรุกล้ำคำประกาศ ‘ห้ามเปิดช่องแคบติราน’ ของฝ่ายอิสราเอล อันนำไปสู่ความไม่พอใจ ชนวนเหตุสำคัญที่นำไปสู่การก่อสงครามกองทัพอากาศเหนืออียิปต์
การจบลงด้วยชัยชนะอิสราเอลเหนืออียิปต์ในเวลาเพียง 6 วัน จะสร้างแรงแค้นให้ฝ่ายสันนิบาตอาหรับอย่างไร และจะส่งผลกระทบใดบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ เรียบเรียงเบื้องหลังประวัติศาสตร์ ปมความขัดแย้งระหว่างชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ ที่มีชนวนเหตุมาจาก ‘ปฐมบท Zionist’ แนวคิดการเกิดรัฐของชาวยิวบนดินแดนพันธสัญญา หรือแนวคิดที่เชื่อว่าชาวยิวต้องมีรัฐเป็นของตนเอง ซึ่งนำไปสู่ความไม่พอใจของชาวปาเลสไตน์เดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มาอย่างยาวนานชนวน
ชนวนเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้งและสงครามต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน จะมีพื้นฐานมาจากแนวคิดและความเชื่อทางศาสนาอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้เอาใจแฟนๆ ซีรีส์เกาหลีย้อนยุค ด้วยการพาไปดูจุดกำเนิดอารยธรรมบนคาบสมุทรเกาหลี เปิดหลักฐานการก่อตั้ง ‘อาณาจักรโกโชซอน’ และการสู้รบของชนเผ่าต่างๆ ก่อนจะพัฒนามาเป็น ‘ราชวงศ์โชซอน’ ของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน
ซีรีส์เกาหลีแอ็กชันฟอร์มยักษ์เรื่อง Arthdal Chronicles ซีซัน 1 และซีซัน 2 สตรีมได้บน Disney+ Hotstar
8 Minute History คุยต่อเนื่องถึงการก่อตัวทางความคิดแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งพัฒนามาจากการเริ่มตั้งคำถามต่อความเชื่อเดิม การพิสูจน์แนวคิดเรื่องระบบสุริยจักรวาล รวมถึงแนวคิดเรื่องกฎธรรมชาติที่นำไปสู่การขยายผลในเชิงสังคมและการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศเอกราชของอเมริกา รวมถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
ระบบคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่กลายมาเป็นรากฐานสำคัญของโลกในปัจจุบัน ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History พาย้อนไปดูจุดเริ่มต้นแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ผ่านการตั้งคำถามของ Galileo Galilei ต่อแนวคิดแบบ ‘Heliocentric’ หรือความเชื่อเรื่อง ‘ดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก’ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์กล้าตั้งคำถามต่อแนวคิดของศาสนจักรที่ถูกสืบทอดมาอย่างยาวนาน
การก่อตัวทางความคิดแบบวิทยาศาสตร์จะสั่นคลอนแนวคิด ความเชื่อ และผู้มีอำนาจเดิมอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้คุยต่อเนื่องถึงผลงานชิ้นสำคัญของ John Maynard Keynes กับบทบาทของรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ส่งอิทธิพลต่อทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำอย่างต่อเนื่อง นโยบายแบบ Keynesian จะส่งผลต่อการจัดระเบียบการเงินโลกอย่างไร และส่งผลต่อรูปแบบรัฐสวัสดิการของรัฐบาลอังกฤษในยุคสมัยนั้นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้จะพูดถึงประวัติศาสตร์โลก ผ่านมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ที่ถือว่ามีอิทธิพลมากที่สุดต่อเศรษฐกิจมหภาคในศตวรรษที่ 20 โดยจะเรียบเรียงเรื่องราวชีวิตและผลงานของ John Maynard Keynes นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ที่เป็นผู้ให้กำเนิดเศรษฐศาสตร์ที่เรียกกันว่า ‘Keynesian Economy’ ที่เป็นรากฐานของนโยบายทางเศรษฐกิจทั้งหลายทั้งปวง นับตั้งแต่เหตุการณ์ Wall Street Crash ในปี 1929 จวบจนปัจจุบัน บทบาทของนักคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญของโลกได้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เล่าประวัติศาสตร์ไทยผ่านเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์โลก ที่มีวิวัฒนาการคู่ขนานตั้งแต่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ไล่มาจนถึงยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สยามจะมีบทบาทใดบ้างในเวทีโลก และเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่นของโลกอย่างไร สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ เปรียบเทียบประวัติศาสตร์ชาติไทยกับประวัติศาสตร์โลก โดยเริ่มตั้งแต่ยุคสุโขทัยเทียบกับช่วงปลายของสงครามครูเสด สมัยอยุธยากับยุคเรเนสซองส์และยุคแห่งการสำรวจโลกของชาวยุโรป ที่นำมาซึ่งการหลั่งไหลเข้ามาของชาวตะวันตกในอยุธยา ปิดท้ายด้วยกรุงธนบุรีกับการประกาศเอกราชของอเมริกา วิวัฒนาการชาติตะวันตกในยุคก่อนกรุงรัตนโกสินทร์จะเป็นอย่างไร และมีปฏิสัมพันธ์กับสยามอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History ปิดท้ายซีรีส์ปฏิวัติฝรั่งเศส ต่อเนื่องจากท่ามกลางภาวะสุญญากาศทางการเมือง หลังจากที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จบลง แต่ความวุ่นวายยังดำเนินต่อไป เนื่องจากแกนอำนาจรัฐในยุคสาธารณรัฐที่ 1 คือ สภาประชาชน (Convention Nationale) เป็นยุคแห่งอนาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นภาพทางการเมืองฝรั่งเศสเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ฝ่ายหนึ่งต้องการเดินทางสายกลาง ในขณะที่อีกฝ่ายต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบสุดขั้ว ทำให้ทหารหนุ่ม ‘นโปเลียน โบนาปาร์ต’ ได้เข้ามามีบทบาทในการก่อรัฐประหาร เปลี่ยนฝรั่งเศสให้เข้าสู่จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1
‘การเมืองฝรั่งเศส’ ถือเป็นการปฏิวัติที่สะเทือนระบอบการเมืองสังคมเดิมแบบฉับพลันและรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความวุ่นวายในหลายช่วงเวลา ฝรั่งเศสก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งความน่าสะพรึงกลัวมาถึงปัจจุบันได้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History ซีรีส์ปฏิวัติฝรั่งเศสเอพิโสดนี้เข้มข้นต่อเนื่อง ถึงเหตุการณ์ทลายคุกบาสตีย์ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นช่วงเวลาแห่งความน่าสะพรึงกลัว มีการปลดพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อองตัวเนตต์ สู่ชนชั้นสามัญ ก่อนนำตัวเข้าสู่ลานประหารด้วยเครื่องกิโยติน และเปลี่ยนเข้าสู่ฝรั่งเศสยุคสาธารณรัฐที่ 1 สภาประชาชนเริ่มต้นเป็นใหญ่แทนที่ระบบกษัตริย์ได้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History ซีรีส์ปฏิวัติฝรั่งเศส เรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส โดยมีจุดตั้งต้นจากรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14, พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 และตามด้วยยุคแห่งความวุ่นวายในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยุคที่ประชาชนเริ่มมีการตั้งคำถามต่อระบบการปกครองแบบศูนย์รวม รวมถึงการใช้จ่ายที่ฟุ้งเฟ้อของราชสำนักปารีส ที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจมหาศาล จนนำไปสู่การทลายคุกบาสตีย์ และยุคแห่งการปฏิวัติ จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศสจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History กลับมาพร้อมกับภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์จากผู้กำกับระดับโลก Christopher Nolan ที่นำเสนอเรื่องราวของ Oppenheimer ในด้านของประวัติศาสตร์ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ที่มีพื้นฐานตัวละครมาจากบุคคลจริงจากประวัติศาสตร์โลก
เอพิโสดนี้จึงสรุปเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลก ตั้งแต่การค้นพบพลังงานนิวเคลียร์ไปจนถึงเหตุการณ์ระเบิดปรมาณู ที่นับเป็นหนึ่งในความเสียหายขนาดใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์โลก บุคคลสำคัญที่ซ่อนอยู่ในภาพยนตร์จะมีบริบทใดบ้างในประวัติศาสตร์จริง สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History MEDLEY ซีรีส์ ‘สงครามอ่าวเปอร์เซีย’ รวบรวมเรื่องราวตั้งแต่ปฐมบทของสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 อันเกิดจากความขัดแย้งระหว่างอิรัก-อิหร่านที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อิรักต้องกู้ยืมเงินจากคูเวตเพื่อมาทำสงคราม แต่กลับไม่มีเงินมากพอเพื่อจะใช้หนี้ จึงตัดสินใจบุกคูเวตเพื่อลบล้างภาระหนี้ที่ติดค้างอยู่ทั้งหมด จนกลายมาเป็นชนวนสำคัญในการเกิดขึ้นของ ‘สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1’ ทำให้สหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา และพันธมิตรทั้ง 37 ชาติ ประณามการทำสงครามของอิรัก และกดดันอิรักให้ถอนกำลังออกจากคูเวตทั้งหมด
แต่สหรัฐฯ ยังเดินหน้ารุกรานอิรักอีกครั้ง หลังจากมีข้อสันนิษฐานว่าอิรักเชื่อมโยงกับผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ถล่มตึกเวิลด์เทรด 9/11 นำไปสู่ ‘สงครามอ่าวเปอร์เซียในครั้งที่ 2’ ซึ่งเป็นสงครามที่ส่งผลกระทบต่อชาวตะวันออกกลางอย่างมหาศาล และถือเป็นจุดเริ่มต้นของภัยคุกคามใหม่ระหว่างสหรัฐอเมริกากับองค์กรรัฐอิสลามอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในเวลาต่อมา
8 Minute History MEDLEY เอพิโสดนี้ พาย้อนฟังประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก ตั้งแต่การจดโน้ตลงบนบรรทัดห้าเส้น กำเนิดละครร้องโอเปรา ดนตรีสมัยบาโรก จนถึงยุคดนตรีคลาสสิกรุ่งเรือง
โดยเริ่มจากจุดกำเนิดละครร้องโอเปราตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 การเบ่งบานของดนตรียุคบาโรก ควบคู่กับผลงานของอุปรากรแห่งยุคสมัยอย่าง Claudio Monteverdi และ George Frideric Handel ตามมาด้วยยุคคลาสสิก พร้อมเกร็ดชีวิตคีตกวีคนสำคัญของโลกในช่วงศตวรรษที่ 18 ได้แก่ Mozart, Beethoven และบรมครูผู้ให้กำเนิดซิมโฟนีอย่าง Franz Joseph Haydn
และปิดท้ายซีรีส์ประวัติศาสตร์ดนตรีคลาสสิกตะวันตกด้วยเรื่องราวของโอเปรายุคโรแมนติก การใช้ดนตรีเป็นสื่อกลางในการรวมชาติอิตาลี จนถึงร่องรอยของดนตรีคลาสสิกที่ปรากฏอยู่ในบทเพลงร่วมสมัย
พัฒนาการทางดนตรีจากบรรทัดห้าเส้นในวันนั้น มีอิทธิพลต่อโลกดนตรีในปัจจุบันอย่างไร ติดตามได้เอพิโสดนี้รวดเดียวจบ
8 Minute History MEDLEY เอพิโสดนี้ รวมมิตรวิวัฒนาการของพลังงานนิวเคลียร์ ตั้งแต่การคิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ในยุคเริ่มต้น จนนำไปสู่การกำเนิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์โรงงานนิวเคลียร์ระเบิด ‘โศกนาฏกรรม Chernobyl’ และ ‘โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ หมายเลข 1’ ก็ถือเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ชาวโลกในเวลาต่อมา
พลังงานทางเลือกที่ ‘เคย’ เป็นความหวังของมวลมนุษยชาติ จะนำไปสู่การตั้งคำถามในอนาคต ถึงเส้นทางของพลังงานนิวเคลียร์อย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History MEDLEY เอพิโสดนี้ ร้อยเรียงเรื่องราวของมหากาพย์สงครามครูเสดที่เกิดถึง 9 ครั้ง ในช่วงเวลาทั้งหมดเกือบ 200 ปี
โดยเริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสดจากการประกาศระดมพลให้ผู้มีศรัทธาแรงกล้าในคริสต์ศาสนาของพระสันตะปาปา Urbano II ในการทวงคืนนครเยรูซาเลม จนกลายเป็นสงครามครั้งแรกระหว่างชาวคริสต์กับมุสลิม และทำให้เกิดสงครามยืดเยื้อในเวลาต่อมาถึง 9 ครั้ง ต่อเนื่องยาวนานก่อนที่จะปิดตำนานสงครามครูเสดครั้งสุดท้ายในปี 1272 โดยที่กรุงเยรูซาเลมยังอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของรัฐอิสลามต่อไป แต่ผลจากสงครามกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการค้าขายระหว่างยุโรปกับมุสลิม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในรุ่งอรุณใหม่ของยุโรปและโลกทั้งใบในเวลาต่อมา
สงครามทั้ง 9 ครั้งจะมีรายละเอียดอย่างไร เมดเลย์เอพิโสดนี้สรุปให้รวดเดียวจบ
8 Minute History เมดเลย์เอพิโสดนี้พาไปสำรวจประวัติศาสตร์การสำรวจโลก ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการศึกษาภูมิศาสตร์โลก ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะการศึกษาแผนที่ ซึ่งผ่านการพัฒนาจากแบบกระดาษสู่ลูกโลกฐานทรงกลม ไล่ไปจนถึงการแข่งขันการสำรวจโลกระหว่างราชสำนักสเปนและโปรตุเกส ที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของ ‘สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส’ ซึ่งเป็นข้อกำหนดในการแบ่งเขตพื้นที่ในการเดินเรือสำรวจโลก
สองมหาอำนาจทางทะเลของโลกนำไปสู่การค้นพบช่องแคบและหมู่เกาะต่างๆ มากมาย แต่ก็ต้องแลกกับการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ระหว่างการเดินทางรอบเส้นรอบวงโลก ทำให้เหลือกองเรือสำรวจเพียงลำเดียวเท่านั้นที่สามารถกลับสเปนได้อย่างปลอดภัย เส้นทางการสำรวจโลกจะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเมดเลย์เอพิโสดนี้
8 Minute History ยังคงไล่เรียงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์กลางอำนาจของจักรวรรดิจีน เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของประวัติศาสตร์จีนพร้อมกับวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์โลก ในช่วงก่อนที่จะมาเป็น ‘กรุงปักกิ่ง’ ในปัจจุบัน
การย้ายเมืองหลวงของจีนยังคงย้ายตำแหน่งที่ตั้งไปมาตามแต่ละรัชสมัยของจีน จนท้ายที่สุดเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐจีน ปักกิ่งกลับมาเป็นศูนย์กลางอำนาจของจีน และทำให้จีนกลายเป็นมหาอำนาจอันดับที่ 2 ของโลก
อีกหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งการปักหมุดศูนย์กลางอำนาจของจีนยุคใหม่คือ การสร้างลานจัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของพระราชวังหลวงเดิมของปักกิ่ง ถือเป็นการปักหมุดของจีนบนเวทีโลกมาถึงปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์การย้ายเมืองหลวงของจีนโบราณจะผ่านช่วงเวลาการค้นพบอะไรบ้างของฝั่งซีกโลกตะวันตก ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History พาย้อนรอยศึกษา ‘ศูนย์กลางอำนาจของประวัติศาสตร์จีนโบราณ’ ในยุคต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของประวัติศาสตร์จีน ไปพร้อมกับการเชื่อมโยงบริบทโลกผ่านการไล่เรียงประวัติศาสตร์โลกตะวันตกคู่ขนาน ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นวิวัฒนาการของการรวบรวมแผ่นดินและเลือก ‘เมืองหลวง’ ของจีนในแต่ละยุค
กรุงปักกิ่ง กลายมาเป็นศูนย์กลางอำนาจจีนในช่วงเวลาใด และแผ่นดินจีนในช่วงก่อนที่จะมาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่ใดบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History พาศึกษาบทเรียนจากวิกฤตเวเนซุเอลา ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อย่ำแย่มากที่สุดในโลก รวมทั้งมีอัตราการว่างงาน อัตราอาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ มิติ
ทั้งๆ ที่ในอดีตเคยเป็นประเทศที่ร่ำรวยเป็นอภิมหาโชคลาภ เพราะพบทรัพยากรน้ำมันดิบเป็นประเทศแรกๆ ของโลก จนสามารถนำเม็ดเงินที่ได้จากการส่งออกน้ำมันมาวางรากฐานและพัฒนาโครงสร้างประเทศ แต่การมีเงินมหาศาลแล้วรัฐบาลบริหารจัดการไม่ถูกต้อง นำไปสู่การเป็นประเทศใกล้ล้มละลายในปัจจุบัน
ความหวังของชาวเวเนซุเอลากับการแก้ปัญหาของนักการเมืองที่ไม่ถูกจุด จะมีเหตุการณ์ใดให้เรียนรู้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับคนทั้งโลกได้บ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ พูดถึงประวัติศาสตร์ของประเทศเวเนซุเอลา ซึ่งมีทะเลสาบขนาดใหญ่และมีความสำคัญต่อโลกอย่าง ‘ทะเลสาบมาราไคโบ’ เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่ถูกค้นพบเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
การค้นพบน้ำมันดิบทำให้เวเนซุเอลากลายเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นที่ต้องการของยุคสมัยศตวรรษที่ 20 รวมทั้งยังมีความสำคัญต่อการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศ เพราะไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย หรือทหารผู้ยึดอำนาจทางการเมือง ต่างก็ใช้นโยบาย ‘อิงเศรษฐกิจทั้งระบบกับการขายทรัพยากรธรรมชาติ’ น้ำมันจึงกลายเป็นงบประมาณหลักของประเทศมาโดยตลอด
แต่ทำไมประเทศเวเนซุเอลาถึงไม่ได้เติบโตเท่าที่ควร โครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเพียงอย่างเดียวส่งผลต่อสังคมอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนรอยถึงแหล่งกำเนิดและวิวัฒนาการของภาษาเยอรมัน ซึ่งเป็นภาษาแห่งวิทยาการและการแบ่งปันความรู้อย่างแท้จริง เนื่องจากมีหนังสือที่ถูกเรียบเรียงด้วยภาษาเยอรมันและมีเนื้อหาสาระน่าสนใจมากมายอยู่หลายเล่ม
ภาษาเยอรมันถูกพัฒนามาจากรากฐานภาษาใด และมีความเกี่ยวข้องกับคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์อย่างไรบ้าง สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนดูแหล่งกำเนิดและวิวัฒนาการรากฐานทางภาษาที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของ ‘ภาษาอิตาเลียน’ โดยจะใช้เลนส์ทางประวัติศาสตร์ในการมองวิวัฒนาการของภาษาในแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่ยุคโรมัน ยุคกลาง ยุคเรเนสซองส์ ไล่ไปจนถึงการล่มสลายของโรมัน สู่การแบ่งแยกดินแดนต่างๆ ในคาบสมุทรอิตาลี
ทำไมประเทศอิตาลีถึงได้มีภาษาใหม่ที่กลายมาเป็นภาษากลาง และเป็นรากของภาษายุโรปจำนวนมากมายในปัจจุบัน ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ จักรวรรดิญี่ปุ่นขยายอำนาจในแผ่นดินจีน ทำให้รัฐบาลเจียงไคเชกต้องประกาศศึกเพื่อเริ่มต้นทำสงครามกับจีน หรือ ‘สงครามแห่งเซี่ยงไฮ้’ (Battle of Shanghai) ซึ่งเป็นสงครามที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นสตาลินกราดแห่งแยงซีเกียง เพราะเป็นการทำสงครามระหว่างกองทัพปฏิวัติชาติของสาธารณรัฐจีนและกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
ถึงแม้ว่ากำลังพลทหารของจีนที่น้อยกว่าฝ่ายญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก แต่วีรบุรุษชาวจีนแผ่นดินใหญ่สามารถต้านทานกองกำลังญี่ปุ่นได้อย่างสมศักดิ์ศรี สงครามสิ้นสุดอย่างไร และทำไม ‘เซี่ยงไฮ้’ ยังเติบโตทางเศรษฐกิจได้ถึงปัจจุบัน ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ พูดถึงการแผ่ขยายอำนาจของชาติตะวันตกในเซี่ยงไฮ้ หลังจากจบสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ชาวต่างชาติก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในการควบคุมพื้นที่ในแผ่นดินจีน อีกทั้งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบัน
สถาปัตยกรรมตะวันตกที่ตั้งอยู่บริเวณท่าเรือนั้น ต่างมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เช่น ‘The Bund’ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการค้าในโลกตะวันออกของมหาอำนาจตะวันตกบนแผ่นดินจีน รวมไปถึงห้องรับแขกแห่งเซี่ยงไฮ้ หรือ ‘Peace Hotel’ ที่สะท้อนวิวัฒนาการของเซี่ยงไฮ้ได้ดี เพราะเป็นกิจการที่เกิดจากการแข่งขันทางการค้าของอังกฤษและชาวต่างชาติที่มาทำการค้าที่เซี่ยงไฮ้
ในยุคเวลาที่จีนถูกต่างชาติคุกคามนั้น ฝ่ายต้าชิงเองก็พยายามปฏิรูปและปรับตัวเข้าหาชาติตะวันตก แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะนายทุนที่เข้ามาวางรากฐานในการพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ได้ การยึดครองพื้นที่ของชาติตะวันตกในแผ่นดินจีน จะมีที่มาที่ไปอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนรอยศึกษา ‘จุดเริ่มต้นของเซี่ยงไฮ้’ อันมีต้นกำเนิดจากยุทธศาสตร์สำคัญทางประวัติศาสตร์อย่าง ‘ท่าเรือสือลิ่วผู่’ พื้นที่ปากแม่น้ำที่ไม่เคยมีใครคิดว่ามันสำคัญ แต่ชาวอังกฤษกลับเล็งเห็นว่า พื้นที่นี้เป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญสำหรับการค้าระหว่างประเทศ จึงนำไปสู่สงครามฝิ่น เพื่อให้ต้าชิงเปิดการค้าขายกับจักรวรรดิอังกฤษ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเชื่อมต่อการค้าระหว่างจีนกับชาติตะวันตก
อังกฤษ, อเมริกา, ฝรั่งเศส รวมถึงชาติตะวันตกอีกหลายชาติ สามารถเข้ามามีบทบาทและอาศัยอยู่ในพื้นที่ของต้าชิงได้อย่างไร และทำไมจีนถึงยอมให้ชาวต่างชาติเข้ามาเช่าพื้นที่แผ่นดินจีน หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History ที่มีมากกว่า 8 นาทีเอพิโสดนี้ พาศึกษาการเดินทางของประวัติศาสตร์โลกผ่านเลนส์ของนักรัฐศาสตร์นักเคลื่อนไหวทางการเมืองสายมาร์กซิสต์ผ่านบันทึกผลงานจาก ‘สมองที่ถูกแช่แข็ง’ ของ Antonio Gramsci ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในอิตาลี
ทฤษฎีการเมืองของของเขาว่าด้วยเรื่อง ‘การครองความคิดเชิงวัฒนธรรม’ จากการตกตะกอนมาตลอด 46 ปีที่ถูกแวดล้อมไปด้วยเหตุการณ์พลิกโลกมากมาย แม้กระทั่งช่วงที่ถูกจำคุกยาวนานกว่า 20 ปี แต่ห้องขังก็ยังไม่สามารถควบคุมแนวคิดและสมองของเขาได้ กลับกระตุ้นให้โลกของเรามีแนวคิดวิพากษ์ มีหลักคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล เพื่อโลกที่ดีขึ้นสำหรับคนหมู่มาก ไม่ใช่เฉพาะกับคนกลุ่มน้อยๆ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เส้นทางการเดินทางของ Antonio Gramsci จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ปิดท้ายซีรีส์ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ด้วยเหตุการณ์โหมโรงเด็ดปีกพญาอินทรี ในการถล่มเพิร์ลฮาร์เบอร์ ก่อนโดนถล่มกลับจากระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ และถูกจารึกลงหน้าประวัติศาสตร์ จากการประกาศยอมแพ้สงครามของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ นับเป็นความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่น
เรื่องราวของการต่อสู้ระหว่างนักรบญี่ปุ่นและอเมริกา จนไปถึงการปฏิรูปเข้าสู่ญี่ปุ่นยุคใหม่จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้จะพูดถึงความพยายามในการขยายอำนาจของญี่ปุ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตก รวมทั้งการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ทำให้สหรัฐฯ ประกาศสงครามกับญี่ปุ่นและฝ่ายอักษะ จนนำไปสู่จุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 และตามด้วยการล่มสลายของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเวลาถัดมา ญี่ปุ่นใช้วิธีการใดในการเดินทัพทั้งทางบกและทางเรือ เพื่อประกาศแสนยานุภาพสู่ประชาคมโลก สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้ ย้อนประวัติศาสตร์สู่จุดเริ่มต้น ‘ก้าวแรกของกองทัพญี่ปุ่นสมัยใหม่’ ที่มีรากฐานมาจากทหารเกณฑ์ที่เคยเป็นชาวนา ช่างฝีมือ อันเป็นพื้นฐานของการขยายแสนยานุภาพของญี่ปุ่นในสงครามโลก รวมถึงสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับจีน หรือแม้กระทั่งการได้รับความร่วมมือจากสหราชอาณาจักรในการทำสงครามกับรัสเซีย
การข้ามผ่านสงครามหลายครั้ง เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าคนผิวเหลืองสามารถเอาชนะคนผิวขาวได้ และทำให้ญี่ปุ่นได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางทหารของโลก เบื้องหลังความสำเร็จของกองทัพญี่ปุ่นจะมีอะไรบ้าง สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เปิดซีรีส์ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ด้วย ‘ปฐมบทแห่งการเปลี่ยนแปลง’ จากยุคเซนโกคุหรือรัฐสัประยุทธ์ สู่การรวมแผ่นดินเป็นรัฐโชกุนที่สร้างความแข็งแกร่งด้านนักรบให้แก่ญี่ปุ่นในสมัยนั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ญี่ปุ่นก็ไม่สามารถทัดทานกระแสจักรวรรดินิยมจากชาติตะวันตกได้ ต้องยอมล้มระบอบโชกุนเดิม และเดินหน้าด้วยระบอบใหม่ภายใต้พระจักรพรรดิมัตสึฮิโตะ อันเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘รัชสมัยเมจิ’
นโยบายที่พลิกแบบ 180 องศา จากเดิมที่ญี่ปุ่นปฏิเสธคนต่างชาติ กลายเป็นนำเอาแนวคิดชาติตะวันตกมาใช้ในระบบการศึกษา และมุ่งพัฒนาประเทศภายใต้สโลแกน ‘Fukoku Hyohe’ ประเทศมั่งคั่ง แสนยานุภาพแข็งแกร่ง จะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เมดเลย์เอพิโสดนี้พาไปสำรวจประวัติศาสตร์เยอรมัน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกทั้งสองครั้ง การเปลี่ยนผ่านการทางการเมืองด้านประชาธิปไตยของเยอรมัน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว รากฐานมหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลกที่มีต้นกำเนิดมาจากเยอรมัน รวมทั้งศาสตร์แห่งการออกแบบที่ส่งผลถึงโลกปัจจุบัน
เพื่อถอดวิธีคิดแบบชาวเยอรมัน ว่ามีพื้นฐานแนวคิดแบบใดบ้างที่ให้เยอรมันกลายเป็นผู้นำและแข็งแกร่งตลอดกาล
ปิดท้ายซีรีส์อัสดงคตราชวงศ์หมิง สู่รุ่งอรุณของแมนจู ด้วยการแปรพักตร์อู๋ซานกุ้ย ในการเปิดด่านซานไห่กวน เพื่อจับมือกับกองทัพแมนจูในการเข้าปราบปรามกบฏหลี่จื้อเฉิงที่ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ในเวลานั้น กองทัพเคลื่อนเข้าสู่ใจกลางกรุงปักกิ่ง ในวันที่ 4 มิถุนายน 1644 และถือเป็น ‘จุดเริ่มต้นการปกครองแผ่นดินจีนของราชวงศ์ชิง’
7 ปีแรกของราชวงศ์ชิง คือการทำให้ชาวฮั่นยอมรับศักราชใหม่ ด้วยมาตรการ ‘ไม่ตัดผมก็ต้องตัดหัว’ เพื่อให้ชาวฮั่นโกนผมด้านหน้าและไว้ผมเปียเหมือนกับชาวแมนจู อีกทั้งยังมีการปราบแม่ทัพชาวฮั่นเก่าทั้งหมด การเปลี่ยนผ่านอำนาจจากต้าหมิงสู่ต้าชิง จะมีเหตุการณ์อะไรน่าสนใจอีกบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ พูดถึงเหตุการณ์การล่มสลายของราชวงศ์หมิงในวันที่ 24 เมษายน 1644 เมื่อกบฏหลี่จื้อเฉิงบุกเข้าพระราชวังต้องห้ามได้สำเร็จ และเข้าสู่ภาวะสุญญากาศทางการเมือง จนทำให้ราชสำนักแมนจูต้องประกาศโองการแห่งฟ้าว่า ‘ต้าชิงคือผู้ที่สวรรค์บัญชาให้เข้าไปปราบกบฏในปักกิ่ง และสถาปนาให้แมนจูปกครองแผ่นดินจีนต่อไป’
แต่ฝ่ายแมนจูยังต้องพบกับด่านสำคัญด้านตะวันออกของกำแพงเมืองจีนที่ชื่อซานไห่กวน การตัดสินใจปราบกบฏหลี่จื้อเฉิงของกองทัพแมนจู ภายใต้การนำของแม่ทัพอู๋ซานกุ้ยจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ เรียบเรียงประวัติศาสตร์ช่วงปลายราชวงศ์หมิงสู่ช่วงต้นของราชวงศ์ชิง อันเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่อง ‘อาทิตย์อัสดงที่ราชวงศ์หมิง สู่รุ่งอรุณแห่งยุคแมนจู’
โดยพูดถึงความระส่ำระสายของราชวงศ์หมิงในช่วงปลาย แม้ว่าจักรพรรดิฉงเจินจะแก้ไขปัญหาแผ่นดินด้วยการขับไล่ เว่ยจงเสียน ดาวร้ายของราชสำนัก ออกไปจากพระราชวัง ดูเหมือนกับจะเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้ราชสำนักหมิงจากร้ายกลายเป็นดี แต่การโฟกัสที่ตัวเองให้ดี โดยไม่ได้มองว่ารอบบ้านผ่านเมืองเป็นอย่างไร จึงนำไปสู่ความพินาศเมื่อ ข่านโฮ่วจิน หนูเอ่อร์ฮาชื่อ กลายเป็นภัยคุกคามของราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์แมนจูเริ่มต้นมีอำนาจทัดทานราชวงศ์หมิงได้อย่างไร และใช้กลยุทธ์ใดในการโค่นราชวงศ์หมิง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้เลย
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนรอยการเติบโตของแบรนด์สำนักงานกฎหมายระดับโลก ‘Baker McKenzie’ กับการเดินทางควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์โลก ซึ่งแบรนด์ได้มีส่วนร่วมในบริบทสำคัญของการพัฒนากฎหมายไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ตลอด 45 ปีที่ผ่านมา
ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกับสถาบันการเงิน การคมนาคม และรัฐวิสาหกิจในการพัฒนาเชิงธุรกิจและสังคม รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาท่ามกลางวิกฤตใหญ่ๆ ตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง มหาอุทกภัยปี 2554 หรือแม้แต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา
ที่ปรึกษาด้านกฎหมายมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ตั้งแต่ยุคอนาล็อกจนถึงยุคดิจิทัลอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History คุยต่อเนื่องถึงพัฒนาการของพิพิธภัณฑ์สาธารณะในฝรั่งเศส ที่เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในโลก เพราะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมงานศิลปะระดับตำนานเอาไว้ ได้แก่ Sleeping Hermaphrodite, Mona Lisa และ La Liberté guidant le Peuple เป็นต้น
ต้นกำเนิดของพีระมิดแก้ว รวมทั้งแนวคิดเบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ของการออกแบบอาคารหลังนี้ จนกลายมาเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของฝรั่งเศส จะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History งานศิลปะชิ้นสำคัญจากยุคนโปเลียนที่เป็นหนึ่งใน Top 10 สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ และยังจัดแสดงอยู่ในปัจจุบัน จะมีที่มาที่ไป และวิธีการค้นพบอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น Nozze di Cana ภาพจิตรกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รวมถึงการได้มาของคอลเล็กชันอียิปต์และกรีกโบราณ เช่น The Great Sphinx of Tanis, Venus de Milo และ La Victoire de Samothrace งานศิลปะเหล่านี้จะมีความสำคัญคู่ไปกับพัฒนาการประวัติศาสตร์โลกอย่างไร ติดตามต่อในเอพิโสดนี้
8 Minute History พาชมประวัติศาสตร์ ‘พิพิธภัณฑ์ Louvre’ อันมีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นพระราชวังเดิมสำหรับเก็บงานศิลปะของราชสำนัก Bourbon จนกระทั่งในปี 1793 สภาประชาชนฝรั่งเศสมีมติให้ ‘พระราชวัง Louvre’ กลายมาเป็นพื้นที่พิพิธภัณฑ์สาธารณะที่คนฝรั่งเศสทุกคนสามารถเข้าไปชมได้ จุดพลิกผันของการเปลี่ยนแปลงจะมีที่มาที่ไปจนนำไปสู่พิพิธภัณฑ์ระดับโลกที่รวบรวมอารยธรรมจากหลากหลายภูมิภาคได้อย่างไร สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้คุยต่อเนื่องถึง 2 หลักการสำคัญอันเป็นพื้นฐานนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ Henry Kissinger เป็นตำนานในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นั่นคือ ‘Realpolitik’ และ ‘Rapproachment’
ถือได้ว่า Henry Kissinger เป็นหนึ่งในผู้ที่ทำให้ความตึงเครียดของสงครามเย็นผ่อนคลายลง รวมไปถึงบทบาทต่อการเมืองระหว่างประเทศและดุลอำนาจโลก ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตนิวเคลียร์ที่คิวบา, การลดความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับโซเวียต, สงครามเวียดนาม, สงครามอิสราเอล-อาหรับ รวมถึงสงครามในอาร์เจนตินา บทบาทนักวิชาการที่มองโลกอย่างเป็นจริงนำไปสู่สันติภาพโลกอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
หากจะมีใครสักคนที่มีชีวิตครบรสชาติล้อกันไปกับประวัติศาสตร์โลกตลอดช่วงเวลาเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา 8 Minute History คงต้องพูดถึงชีวประวัติของ ‘Henry Kissinger’ สถาปนิกที่อยู่เบื้องหลังทิศทางนโยบายต่างประเทศแบบ ‘Realpolitik’ ผู้ที่เติบโตมากับบริบทประวัติศาสตร์โลกตั้งแต่ปี 1923 จนถึงปัจจุบัน
เรื่องราวของ Henry Kissinger ท่ามกลางบริบทโลกควบคู่ไปกับทัศนคติที่น่าสนใจของเขา การเดินทางของชีวิตจาก ‘ชาวยิวอพยพ’ สู่ ‘การได้รับการยอมรับจากผู้นำสหรัฐฯ’ จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
การชุมนุมประท้วงของกลุ่มนักศึกษาจีนที่จัตุรัสเทียนอันเหมินมีชนวนเหตุสำคัญมาจากการเสียชีวิตของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ‘หูเย่าปัง’ ทำให้มีนักศึกษาออกมาประท้วงมากถึง 1 แสนคน โดยใช้วิธีอดข้าวประท้วงและขัดขวางการทำงานของรัฐ รวมถึงการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพจากสื่อมวลชน
แต่ทางรัฐกลับใช้ความรุนแรงในการปราบปรามผู้ชุมนุม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เหตุการณ์ในครั้งนั้นส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจจีนจนเติบโตเป็นยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้ย้อนรอยเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญ อันเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนของจีนยุคหลัง นั่นคือ ‘การปราบปรามผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย จัตุรัสเทียนอันเหมิน ปี 1989’ เหตุการณ์ที่นักศึกษาออกมาประท้วงและเป็นกำลังหลักในการผลักดันสังคมให้ก้าวไปข้างหน้า และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเศรษฐกิจจีนจนถึงปัจจุบัน
ชนวนเหตุสำคัญที่นำไปสู่จุดเริ่มต้นเหตุการณ์เทียนอันเหมิน และการยกระดับการปราบปรามผู้ชุมนุมจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เมดเลย์ เอพิโสดนี้พาไปสำรวจประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร ผ่านเรื่องราวของราชวงศ์อังกฤษ ตั้งแต่ราชวงศ์สจ๊วต ราชวงศ์ฮันโนเวอร์ จนถึงราชวงศ์วินด์เซอร์ สอดแทรกด้วยพระราชกรณียกิจสำคัญของประมุขในแต่ละยุคสมัย
คอประวัติศาสตร์อังกฤษ ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง!
หนึ่งในบทที่น่าสนใจในหนังสือ Il Principe ของ Machiavelli ที่กล่าวถึงความจริงแท้ ได้ให้ความสำคัญกับการพูดถึงต้นกำเนิดของ ‘ทหารรับจ้างสวิส’ หรือ ‘Schweizerische Reislaufen’ ทหารอารักขาที่ว่ากันว่าดีที่สุดในยุโรป ด้วยฝีมือการรบ ความซื่อสัตย์ และความเป็นมืออาชีพอย่างที่สุด
นอกจากนี้ยังมีการนำระบบการเกณฑ์ทหารมาใช้กับคนพื้นเมือง จนทำให้กองทัพสวิสกลายเป็นกองทัพที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของพระสันตะปาปาและราชสำนักอย่างยาวนาน อันเป็นหนึ่งในการพิสูจน์ว่าทฤษฎีของ Machiavelli ถูกต้อง ‘ทหารรับจ้างสวิส’ จะสะท้อนมุมมองทางด้านประวัติศาสตร์อย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Munute History เอพิโสดนี้ พูดถึงตำรารัฐศาสตร์ที่ถูกเอ่ยถึงบ่อยที่สุดในโลกภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของบทความทฤษฎีการเมือง ‘Il Principe’ ประพันธ์โดย Niccolò Machiavelli ที่กล่าวถึง ‘ทฤษฎีการเมืองอย่างเป็นจริง’ ไม่ใช่แค่เพียงการเมืองในอุดมคติ
รวมทั้งมีการพูดถึงบทบาทของ ‘Swiss Guards’ ทหารรับจ้างที่แข็งแกร่งที่สุดกองหนึ่งในยุโรป บทบาทของศาสนจักรโรมันคาทอลิก ชาวยุโรป กองทัพสงคราม และการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่างๆ เพื่อความมั่นคงของศาสนจักร จะเกี่ยวข้องกับหนังสือทฤษฎีการเมืองอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ คุยต่อเนื่องถึงเกร็ดประวัติศาสตร์เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ที่ถูกนำมาเป็นท้องเรื่องในซีรีส์ Reborn Rich โดยจะพูดถึงบทบาทของ IMF ในเศรษฐกิจเกาหลีใต้ รวมถึงตอบคำถามที่ว่า ‘วิกฤตฟองสบู่ดอทคอม เกี่ยวกับ Y2K อย่างไร?’ และผลกระทบตลาดโลกจากเหตุการณ์โจมตีตึก World Trade Center วันที่ 11 กันยายน 2001 ส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History หยิบยกประเด็นที่ซ่อนอยู่ในซีรีส์อิงประวัติศาสตร์ Reborn Rich มาคุย เพื่อเจาะลึกข้อเท็จจริงจากประวัติศาสตร์เกาหลีใต้ที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองเกาหลีในช่วงปี 1987 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ ก่อนเข้าสู่จุดเริ่มต้นของการเมืองใหม่เกาหลีใต้ยุค ‘สาธารณรัฐที่ 6’ รวมถึงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจในเกาหลีใต้ ‘IMF’ เข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมเกาหลีได้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ คุยต่อเนื่องถึงการประชุมของคนผิวขาว ‘ชาวยุโรปทั้ง 14 ประเทศ’ ในการตัดแบ่งพื้นที่แอฟริกา โดยที่ชาวพื้นเมืองไม่ได้มีส่วนรับรู้ถึงการประชุมครั้งนี้แม้แต่น้อย โดยการประชุมครั้งนั้นเกิดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในปี 1884 และส่งผลสำเร็จในปี 1914 ซึ่งกินเวลายาวนานกว่า 30 ปี
แอฟริกาภายใต้การปกครองของชาติตะวันตกจะเป็นอย่างไรบ้าง และสามารถกลับคืนสู่เอกราชได้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ ไล่เรียงประวัติความเป็นมาของการที่มหาอำนาจจากประเทศตะวันตกเข้าครอบครองทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นทวีปที่ท้าทายลัทธิล่าอาณานิคมเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ‘แอฟริกา’ เป็นดินแดนที่มีสัตว์ดุร้าย และว่ากันว่าเป็นดินแดนที่ไม่มีอารยธรรม
ชาติตะวันตกใดเป็นชาติแรกที่สามารถเข้ายึดครองใจกลางทวีปแอฟริกา รวมถึงใช้วิธีใดในการเอาชนะสัตว์ดุร้ายแห่งแอฟริกา สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ คุยต่อเนื่องถึงการเดินหน้าของกองเรืออังกฤษ (Privateers) ในสงครามยุทธนาวีระหว่างอังกฤษและสเปน เพื่อเดินหน้าแข่งขันการค้นหาดินแดนใหม่ในพื้นที่ทวีป ‘อเมริกาเหนือ’ หรือ ‘British America’
อังกฤษสามารถพลิกเกมสู่การขึ้นเป็นมหาอำนาจและปกครองอเมริกาได้อย่างไร ซึ่งมีอิทธิพลถึงการตั้งชื่อเมืองในอเมริกาได้อย่างน่าสนใจ การเดินเรือในครั้งนั้นจะเปลี่ยนประวัติศาตร์โลกไปในทิศทางใดบ้าง เอพิโสดนี้มีคำตอบ
ต่อเนื่องจากซีรีส์สำรวจโลก หลังจากที่มหาอำนาจโปรตุเกสและสเปนค้นพบทวีปอเมริกา แต่ 8 Minute History เอพิโสดนี้จะพาไปหาคำตอบว่า ‘อังกฤษ’ เข้ามามีบทบาทในการปกครองทวีปอเมริกาได้อย่างไร
เรื่องราวของการค้นพบดินแดนใหม่และการพลิกเข้าสู่การขยายขั้วอำนาจอังกฤษในช่วงก่อนที่จะมาเป็น ‘สหรัฐอเมริกา’ จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ คุยต่อเนื่องถึงวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1962 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเข้าใกล้ภาวะสงครามนิวเคลียร์ของประวัติศาสตร์โลก
วิกฤตครั้งนี้เกิดขึ้นที่ ‘คิวบา’ เกาะทางตอนใต้ของสหรัฐฯ โดยมีโซเวียตใช้เป็นฐานที่ตั้งในการยิงขีปนาวุธเข้าสู่สหรัฐฯ สหรัฐฯ จะตอบโต้วิกฤตนิวเคลียร์ในครั้งนี้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนรอย ‘จุดเริ่มต้นวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา’ หรือ Cuban Missile Crisis อันเป็นภูมิศาสตร์สำคัญของการทำสงครามระหว่างฝ่ายสหรัฐอเมริกาและโซเวียตในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามเย็น
‘คิวบา’ ซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ มีส่วนได้ส่วนเสียกับเหตุการณ์ในครั้งนี้อย่างไร และทำไมถึงกลายเป็นฐานที่ตั้งของขีปนาวุธนิวเคลียร์ในการข่มขู่สหรัฐฯ ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ ปิดท้ายซีรีส์ประวัติศาสตร์ดนตรีคลาสสิกตะวันตก ด้วยเรื่องราวของโอเปรายุคโรแมนติก การใช้ดนตรีเป็นสื่อกลางในการรวมชาติอิตาลี จนถึงร่องรอยของดนตรีคลาสสิกที่ปรากฏอยู่ในบทเพลงร่วมสมัย
ใครที่เคยรู้สึกว่า ‘ดนตรีคลาสสิก’ เป็นของไกลตัว เข้าถึงยาก เมื่อฟังซีรีส์นี้จบแล้วอาจต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะคุณจะค่อยๆ ค้นพบว่าแท้จริงแล้ว ดนตรีประเภทนี้อยู่ใกล้ตัวและคุ้นหูกว่าที่คิด!
8 Minute History เอพิโสดนี้ยังอยู่กับซีรีส์ประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก จากความเดิมตอนที่แล้วเราได้เข้าใจที่มาที่ไปของภาษาดนตรี กำเนิดละครโอเปรา รวมถึงดนตรียุคบาโรก แบบสังเขปกันไปแล้ว
เอพิโสดนี้จะพาไปทำความรู้จักโลกดนตรีตะวันตกในยุคถัดมาที่เรียกว่า ‘ยุคคลาสสิก’ พร้อมเกร็ดชีวิตคีตกวีคนสำคัญของโลกในช่วงศตวรรษที่ 18 ไล่ตั้งแต่ George Frideric Handel, Mozart, Beethoven และบรมครูผู้ให้กำเนิดซิมโฟนีอย่าง Franz Joseph Haydn
เคยสงสัยกันไหมว่า ที่มาของดนตรีสมัยใหม่ที่เราเสพกันอยู่ทุกวันนี้ มีต้นตอมาจากไหน?
8 Minute History ซีรีส์ใหม่ พาไปย้อนประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก ไล่ตั้งแต่การคิดค้นการจดโน้ตลงบนบรรทัดห้าเส้น กำเนิดละครร้องโอเปรา ดนตรีสมัยบาโรก จนถึงยุคดนตรีคลาสสิกรุ่งเรือง
เริ่มต้นเอพิโสดแรก ด้วยการย้อนจุดกำเนิดละครร้องโอเปราตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 การเบ่งบานของดนตรียุคบาโรก ควบคู่กับผลงานของอุปรากรแห่งยุคสมัยอย่าง Claudio Monteverdi และ George Friedrich Handel
เอพิโสดสุดท้ายของซีรีส์สงครามอ่าว จะพาหาคำตอบว่า ชนวนเหตุที่ทำให้ George W. Bush เดินหน้ารุกรานอิรักคืออะไร ทั้งๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นหนาพอว่าอิรักเชื่อมโยงกับผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ถล่มตึกเวิร์ลเทรด 9/11 อย่างไร รวมถึงทำไมถึงใช้คูเวตเป็นฐานทับในการรุกรานอิรักครั้งที่ 2
ท้ายที่สุดสามารถจับกุมตัว ซัดดัม ฮุสเซน ดาวร้ายของซีรีส์สงครามอ่าวเปอร์เซีย แต่การจับกุมครั้งนี้กลับกลายเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของภัยคุกคามใหม่ระหว่างสหรัฐอเมริกากับองค์กรรัฐอิสลามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เรื่องราวของสงครามอ่าวครั้งที่ 2 นี้จะมีรายละเอียดอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
หลังจากที่อิรักเข้ายึดครองคูเวตเพื่อยกเลิกหนี้ที่ติดค้างคูเวตจำนวนมหาศาล และมีแนวโน้มที่จะเข้าบุกซาอุดีอาระเบียต่อ ทำให้สหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา และพันธมิตร ตื่นตัวในการประณามการทำสงครามของอิรัก จนกระทั่งเกิดเป็น ‘ปฏิบัติการพายุทะเลทราย’ เพื่อนำไปสู่การปลดปล่อยคูเวตจากการรุกรานของแบกแดด
สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 ส่งผลให้อิรักถอนกำลังออกจากคูเวตทั้งหมด แต่แล้วจะมีปัจจัยอะไรต่อเนื่องจนทำให้เกิดสงครามอ่าวครั้งที่ 2 ได้อีก ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ความขัดแย้งระหว่างอิรัก-อิหร่าน รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่การเผาเรือน้ำมันลงทะเล ‘The Tankers War’ แบบที่ไม่มีฝ่ายใดได้ประโยชน์เลย อีกทั้งกินเวลายาวนาน 7 ปี ทำให้อิรักต้องกู้ยืมเงินจากคูเวตเพื่อมาทำสงคราม แต่กลับไม่มีเงินมากพอเพื่อจะใช้หนี้
ท้ายที่สุดอิรักตัดสินใจบุกคูเวตเพื่อรบล้างภาระหนี้ที่ติดค้างอยู่ทั้งหมด จนกลายมาเป็นชนวนสำคัญในการเกิดขึ้นของ ‘สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1’ นอกจากนี้จะมีสาเหตุอะไรอีกบ้างที่ทำให้สหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมในการประณามการรุกรานของอิรัก สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
รายการ 8 Minute History ประเดิมเอพิโสดแรกของปี 2023 ด้วยซีรีส์ 'สงครามอ่าวเปอร์เซีย' ที่หลายคนรอคอยมานาน
สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 อันเกิดจากพันธมิตรทั้ง 37 ชาติภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาที่เข้าบุกอิรักเพื่อยึดครองคูเวต กินเวลายาวนานจนไปถึงสงครามอ่าวเปอร์เซียในครั้งที่ 2 ถือเป็นสงครามที่ส่งผลกระทบต่อชาวตะวันออกกลางอย่างมหาศาลและกินเวลายาวนานหลายทศวรรษ
ปฐมบทของสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างอิรักกับอิหร่านมีที่มาที่ไปอย่างไร ต้นเหตุของสงครามภายหลังการปฏิวัติอิหร่านคืออะไร และซัดดัม ฮุสเซน ตัวละครเอกของซีรีส์นี้ เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History ส่งท้ายปี 2022 ด้วยเมดเลย์ชุดพิเศษ 4 ชั่วโมงเต็ม ไล่เรียงสงครามครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์แบบต่อเนื่อง 15 ตอน ตั้งแต่มหากาพย์สงครามครูเสดที่ยืดเยื้อถึง 200 ปี, สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 กับความแค้นของจีน, เจาะลึกสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปฐมบทสงครามโลกครั้งที่ 2 และอีกมากมาย
การตีความคำว่า ‘จีนเดียว’ นำไปสู่ข้อพิพาทที่บานปลาย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในจุดแตกหักระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน เอพิโสดนี้พาศึกษาความเป็นมาทางการเมืองของไต้หวัน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างกับสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความสัมพันธ์สามเส้าของทั้งสามประเทศนี้ เริ่มมีความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ และยังดำเนินอยู่จนถึงปัจจุบัน ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลให้เกิดความแตกหักของทั้งสามฝ่ายขึ้น สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ทำไมสหรัฐฯ ถึงกลับมารื้อฟื้นความสัมพันธ์กับจีน เอพิโสดนี้พาย้อนประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันเริ่มถอยห่าง จุดเริ่มต้นของการแบ่งแยก ‘จีนแดง-จีนขาว’ จนนำไปสู่ข้อพิพาทที่เกิดจากคำว่า ‘จีนเดียว’ จะส่งผลถึงปัจจุบันอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ในขณะที่จีนแบ่งแผ่นดินออกเป็นสองประเทศ หรือที่เรียกกันติดปากว่า ‘จีนแดงกับจีนขาว’ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ กลับเริ่มต้นแน่นแฟ้นขึ้น
เอพิโสดนี้พาย้อนรอยจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ จีน-ไต้หวัน-สหรัฐฯ ในช่วงที่จีนเริ่มต้นเป็นสาธารณรัฐ เหมาเจ๋อตุง, เจียงไคเชก และฝ่ายสหรัฐฯ จะเริ่มต้นเดินเกมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนี้อย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ในแวดวงกีฬามีประโยคที่ถูกหยิบยกมาพูดกันบ่อยๆ ว่า “การเป็นแชมป์ว่ายากแล้ว แต่การรักษาแชมป์นั้นยากกว่า”
ประโยคดังกล่าวดูจะสอดคล้องกับการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นอย่างยิ่ง เพราะในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลกที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 1930 ยังไม่มีทีมแชมป์เก่าทีมใดที่สามารถป้องกันแชมป์ในสมัยต่อมาได้เลย
รายการ 8 Minute History ซีรีส์พิเศษต้อนรับฟุตบอลโลก 2022 เอพิโสดส่งท้ายก่อนถึงนัดชิงชนะเลิศ พาไปย้อนประวัติศาสตร์ทีมที่ได้แชมป์ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา พร้อมวิเคราะห์ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้พวกเขา (บรรดาแชมป์เก่าและทีมเต็งทั้งหลาย) ไม่สามารถป้องกันแชมป์ได้อย่างที่ใจหวัง
ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน แห่งรายการ 8 Minute History ร่วมด้วย ดิษยุตม์ ธนบุญชัย บรรณาธิการข่าวกีฬา THE STANDARD
ช่วงปลายทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 เป็นช่วงเวลาที่ทีมชาติเยอรมนีก้าวขึ้นมาอยู่ในแนวหน้าแห่งวงการลูกหนังอย่างเต็มตัว หมุดหมายสำคัญคือการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 1990 จากการล้างแค้นคู่ปรับเก่าอย่างอาร์เจนตินา
ดาวเด่นในช่วงเวลานั้น ซึ่งกลายเป็นกัปตันทีมในเวลาต่อมาคือ โลธาร์ มัทเธอุส นักเตะขวัญใจแฟนบอลยุค 90 ผู้มีความโดดเด่นทั้งในแง่ทักษะ รวมถึงบุคลิกที่มีความเป็นผู้นำสูง จนได้รับฉายาว่า ‘ซูเปอร์แมน’
ที่สำคัญ เขาคือนักฟุตบอลคนแรกที่ได้เล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายถึง 5 สมัย ระหว่างช่วงปี 1982-1998
รายการ 8 Minute History ซีรีส์พิเศษต้อนรับฟุตบอลโลก 2022 เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจชีวิตและวิธีคิดของอดีตกัปตันทีมชาติเยอรมนี ผู้ที่ราชาลูกหนังอย่าง ดิเอโก มาราโดนา ยกย่องให้เป็น ‘คู่อริที่เก่งที่สุดในสนามฟุตบอล’
ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน แห่งรายการ 8 Minute History ร่วมด้วย ดิษยุตม์ ธนบุญชัย บรรณาธิการข่าวกีฬา THE STANDARD
ทุกครั้งที่การแข่งขันฟุตบอลโลกเปิดฉากขึ้น ทีมจากทวีปแอฟริกามักมีเซอร์ไพรส์ให้กองเชียร์ตื่นเต้นอยู่เสมอ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลงานในสนาม อย่างการที่ทีมจากประเทศเล็กๆ กลายเป็นม้ามืดโค่นทีมใหญ่ได้หลายต่อหลายหน จนถึงสีสันนอกสนาม กองเชียร์ชาวแอฟริกันขึ้นชื่อว่ามีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ยังไม่นับวีรกรรมแปลกๆ ที่ทำเอาผู้จัดการแข่งขันต้องปวดหัว เช่น การออกแบบชุดแข่งให้เป็นเสื้อแขนกุด จนแทบจะกลายเป็นชุดนักบาสเกตบอล!
รายการ 8 Minute History ซีรีส์พิเศษต้อนรับฟุตบอลโลก 2022 เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจเกร็ดประวัติศาสตร์ทีมจากทวีปแอฟริกา ที่มักจะมาพร้อมสิ่งเหนือความคาดหมายอยู่เสมอ
ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน แห่งรายการ 8 Minute History ร่วมด้วย ดิษยุตม์ ธนบุญชัย บรรณาธิการข่าวกีฬา THE STANDARD
หากพูดถึงโค้ชทีมชาติในดวงใจ คุณนึกถึงโค้ชคนไหนบ้าง?
รายการ 8 Minute History ซีรีส์พิเศษต้อนรับฟุตบอลโลก 2022 เอพิโสดนี้พาไปทำความรู้จักกับ Bora Milutinović โค้ชชาวเซอร์เบีย ผู้ได้ชื่อว่าเป็นนักปลุกปั้นทีมม้านอกสายตา สามารถพาทีมเล็กๆ ทะลุสู่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้สำเร็จมามากมาย
ไล่ตั้งแต่ทีมชาติเม็กซิโกในปี 1986, คอสตาริกาในปี 1990, สหรัฐอเมริกา 1994 รวมถึงทีมชาติจีนที่เคยได้ไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเพียงครั้งเดียวในปี 2002
นอกจากนี้ ยังมีโค้ชอีกหลายคนที่สร้างผลงานเป็นที่น่าจดจำ โดยเฉพาะโค้ชสายเลือดอิตาลีที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการฟุตบอลในภูมิภาคยุโรป
ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน แห่งรายการ 8 Minute History ร่วมด้วย ดิษยุตม์ ธนบุญชัย บรรณาธิการข่าวกีฬา THE STANDARD
'ฟุตบอลโลก' ในความทรงจำของคุณเป็นแบบไหน?
รายการ 8 Minute History ร่วมโหมโรงการแข่งขันฟุตบอลโลก FIFA World Cup 2022 กับซีรีส์พิเศษ ‘World Cup History’ เริ่มเอพิโสดแรกกับการย้อนประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลกในความทรงจำ และความสำเร็จก้าวแรกของทีมจากทวีปเอเชียในทัวร์นาเมนต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน แห่งรายการ 8 Minute History ร่วมด้วย ดิษยุตม์ ธนบุญชัย บรรณาธิการข่าวกีฬา THE STANDARD
ปิดท้ายซีรีส์ประวัติศาสตร์อังกฤษสมัยราชวงศ์สจ๊วต ด้วยเรื่องราวการพยายามรักษาเสถียรภาพทางการเมืองอังกฤษ หลังจากที่มีการประหารพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เรื่องราวของการเปลี่ยนถ่ายอำนาจทางการเมืองจากระบบกษัตริย์ไปสู่ระบบรัฐสภา ไปจนถึงการกลับมาทวงบัลลังก์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ในการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษจะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้เจาะลึกยุคสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งราชวงศ์สจ๊วต ซึ่งเป็นยุคที่มีความผันผวนทางการเมืองยาวนานกว่า 20 ปีในประวัติศาสตร์อังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางศาสนา ปัญหาการจัดตั้งรัฐสภา สงครามระหว่างทั้งสามอาณาจักร (อังกฤษ, ไอร์แลนด์ และสกอตแลนด์) จนนำไปสู่สงครามกลางเมืองหลายครั้ง เรื่องราวในยุคสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ไปจนถึงจุดสิ้นสุดของพระองค์จะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ยุคเริ่มต้นของราชวงศ์สจ๊วต ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วนในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ ภายใต้การปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 และ 2
ทางแยกที่เกิดจากความขัดแย้งจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และการปกครอง จะพาสังคมอังกฤษไปสู่สงครามในรูปแบบใดบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ปิดท้ายซีรีส์ ‘ประวัติศาสตร์สำรวจโลก’ ด้วยการเดินทางต่อของกองเรือสเปนทั้ง 5 ลำ ที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ระหว่างการเดินทางรอบเส้นรอบวงโลก
การเดินทางในเอพิโสดสุดท้ายนี้จะนำพาไปสู่การค้นพบช่องแคบอะไรบ้าง และเดินทางไปถึงหมู่เกาะโมลุกกะตามที่มาเจลลันตั้งใจไว้ได้หรือไม่ อะไรเป็นสาเหตุให้กองเรือสำรวจเหลือเพียงลำเดียวที่สามารถกลับสเปนได้อย่างปลอดภัย สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพูดถึงการแข่งขันในการสำรวจโลกระหว่างราชสำนักสเปนและโปรตุเกส ที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของ ‘สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส’ ซึ่งเป็นข้อกำหนดในการแบ่งเขตพื้นที่ในการเดินเรือสำรวจโลก เมื่อสองมหาอำนาจทางทะเลของโลกมีความเห็นไม่ตรงกัน ปัญหาเล็กๆ ที่เกิดขึ้นภายในเรือจะนำพาไปสู่ปัญหาระหว่างประเทศอย่างไร รวมถึงวิวัฒนาการของการวาดแผนที่โลกจะเพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้พาย้อนรอยจุดเริ่มต้นของการศึกษาภูมิศาสตร์โลก ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะการศึกษาแผนที่ ซึ่งผ่านการพัฒนาจากแบบกระดาษสู่ลูกโลกฐานทรงกลม จุดเริ่มต้นของการค้นพบทวีปอเมริกาของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส และการค้นพบแหลมกู๊ดโฮปโดย บาร์โธโลมิว จะมีความเกี่ยวเนื่องกันหรือไม่ ‘ยุคแห่งการค้นพบ’ จะมีพัฒนาการอย่างไร สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้พาสำรวจจุดเชื่อมต่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงการปะทุสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 อะไรคือจุดพลิกผันที่ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในสงครามโลกครั้งที่ 1 ไปจนถึงการประกาศยอมแพ้สงครามของรัฐบาลเยอรมัน ‘รอยแค้น’ ซึ่งเป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่เชื่อมโยงไปสู่สงครามโลกครั้งถัดไป
การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 1 จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History พาเจาะลึกจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 ผ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ โดยเฉพาะที่สมรภูมิรบ ‘The Battle of Verdun’ สมรภูมิที่สร้างความสูญเสียมากที่สุด
จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นได้อย่างไร มีประเทศไหนเข้าร่วมกับฝ่ายไหนบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ส่วนลดพิเศษ 10%] THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022 กรอกโค้ด PODCAST
📍 ซื้อบัตรได้ที่ www.thaiticketmajor.com/seminar/the-standard-economic-forum-2022.html
เอพิโสดนี้ยังคงเล่าประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผ่านเรื่องราวของวรรณกรรมจีนชื่อดังอย่าง ‘มังกรหยก’, ‘108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซาน’ และ ‘อาญาสิทธิ์ 12 ป้ายทอง’ ที่มีตัวละครที่น่าสนใจหลายตัวละครปรากฏอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์ตระกูลซ่ง เรื่องราวของการปกครองแผ่นดินจีนตลอด 339 ปี จวบจนการปิดฉากราชวงศ์ซ่ง จะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
การศึกษาประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการติดตามเรื่องราวผ่านวรรณกรรมจีน สามารถทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ง่ายยิ่งขึ้น แต่มีตัวละครใดบ้างที่มีตัวตนจริงอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์ เอพิโสดนี้จะพาไปหาคำตอบผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์ซ่ง ที่ปกครองแผ่นดินจีนรวม 339 ปี ผ่านเรื่องราวของวรรณกรรมจีนเรื่อง ‘เปาบุ้นจิ้น’ และ ‘ขุนศึกตระกูลหยาง’ ตัวละครใดบ้างที่มีตัวตนจริงตามบันทึกประวัติศาสตร์ สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
การเดินเรื่องประวัติศาสตร์อเมริกาผ่านตัวละครสมมติ ‘Forrest Gump’ สะท้อนเหตุการณ์สำคัญได้อย่างน่าสนใจ เอพิโสดนี้ยังคงพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงทศววรษที่ 80-90 เช่น นัยสำคัญของรองเท้ากีฬาที่ตัวละครหลักใส่วิ่งในการดำเนินเรื่อง ไปจนถึงการเล่าเรื่องผ่านประธานาธิบดีทั้งหมด 9 คน เกร็ดประวัติศาสตร์ที่ได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้พาย้อนรอยรากฐานแนวความคิดของคนยุค Baby Boomer ซึ่งมีอายุใกล้เคียงกับตัวละครหลักจากภาพยนตร์เรื่อง Forrest Gump ภาพยนตร์ที่มีการสอดแทรกบริบทประวัติศาสตร์อเมริกาในหลายยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นบริบททางประชากร การกีดกันทางสีผิวของคนในชาติ การเข้าร่วมสงครามเวียดนามอันนำไปสู่การถือกำเนิดของกลุ่มชนฮิปปี้ การทูตแบบปิงปองระหว่างอเมริกาและจีน บริบทของประวัติศาสตร์อเมริกาที่ซ่อนอยู่ใน Forrest Gump จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เมดเลย์อีพีนี้ รวบรวมเอพิโสดเกี่ยวกับการสำรวจแหล่งอารยธรรมและโบราณคดียุคโบราณ ผ่านร่องรอยประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในสิ่งของและสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่หีบศพฟาโรห์ของอียิปต์ บันทึกของพระถังซัมจั๋ง เสาอโศกมหาราช จนถึงโบราณวัตถุยุคล่าอาณานิคมที่ถูกรวบรวมไว้ใน British Museum
การเกิดขึ้นของ ‘โศกนาฏกรรม Chernobyl’ นำไปสู่กระแส ‘Nuclear Renaissance’ ที่มาพร้อมกับความพยายามลดก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ถึงแม้ว่ามนุษย์จะหาวิธีป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้จากเตาปฏิกรณ์ แต่ท้ายที่สุดกลับเกิดเหตุการณ์ระเบิดของเตาปรมาณูอีกครั้งที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ประเทศญี่ปุ่น
ปรากฏการณ์เหล่านี้ส่งผลอะไรกับแหล่งพลังงานทางเลือกที่ ‘เคย’ เป็นความหวังของมวลมนุษยชาติ และนำไปสู่การตั้งคำถามในอนาคตถึงเส้นทางของพลังงานนิวเคลียร์ ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
หลังจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ความตื่นตัวในงานวิจัยเรื่องการนำเอาพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์มาใช้เพื่อผลิตไฟฟ้ากลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประเทศยักษ์ใหญ่หลายประเทศต่างวางแผนสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์และพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง
แต่เนื่องจากพลังงานนิวเคลียร์ยังคงเป็นสิ่งใหม่และยากต่อการควบคุม จึงตามมาด้วย ‘โศกนาฏกรรม Chernobyl’ อุบัติเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการควบคุมพลังงานของมนุษย์ ทำให้สารกัมมันตรังสีแพร่กระจายออกนอกพื้นที่สหภาพโซเวียตราว 2 ล้านตารางกิโลเมตร เรื่องราวของเหตุการณ์ระเบิดปรมาณูครั้งนี้จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพูดถึงวิวัฒนาการของพลังงานนิวเคลียร์ วิทยาการฟิสิกส์นิวเคลียร์ ที่ถูกพัฒนาทั้งในแง่ของแหล่งพลังงาน การกำเนิดต้นแบบการผลิตไฟฟ้าจากโรงงานนิวเคลียร์แห่งแรกของโลก หรือ Chicago Pile One ถือเป็นอรุณแห่งการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศพัฒนาแล้ว ก่อนจะถูกพัฒนาต่อไปเป็นอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูงที่สุดที่โลกใบนี้เคยเจอมา เรื่องราวของประวัติศาสตร์การค้นพบนิวเคลียร์จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
น้ำมัน ถือเป็นสินค้าระหว่างประเทศที่แฝงไปด้วยมิติทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ จนทำให้ ‘พื้นที่ตะวันออกกลาง’ กลายเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้ง
ทำไมตะวันออกกลางถึงเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการขยายอำนาจของชาติตะวันตก สหรัฐอเมริกาเริ่มต้นสำรวจพื้นที่และขุดพบน้ำมันนอกพื้นที่ประเทศตัวเองได้อย่างไร จาก ‘น้ำมัน’ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ แปลงไปสู่เชื้อเพลิงสงครามในพื้นที่ตะวันออกกลางได้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพูดถึง ‘ประวัติศาสตร์น้ำมัน’ เชื้อเพลิงที่เป็นชนวนสงครามนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง และความพยายามในการขยายอิทธิพลของชาติต่างๆ ในการยึดครองประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันในพื้นที่ตะวันออกกลาง จุดเริ่มต้นของการค้นพบบ่อน้ำมันบ่อแรกของโลกที่นำไปสู่ความเข้มข้นของสงครามตะวันออกกลางในเวลาถัดมาจะเป็นอย่างไร ติตตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้ยังคงพูดถึงการคอร์รัปชันของนักการเมืองอิตาลี ตั้งแต่ยุคสาธารณรัฐที่ 1 เปลี่ยนผ่านไปถึงช่วงสาธารณรัฐที่ 2 แต่พรรคการเมืองเลือดใหม่ยังคงใช้เกมการเมืองรูปแบบเดิมในการคอร์รัปชันและเอื้อเฟื้อผลประโยชน์ให้กันและกัน ถือเป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่มีการคอร์รัปชันมากที่สุดในทุกพื้นที่ของอิตาลี
การเมืองอิตาลียังคงขาดสเถียรภาพทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง มีการร่างกฎหมายใหม่เพื่อช่วยนักการเมืองที่ถูกจับกุมได้รับการปล่อยตัว เรื่องราวเกมการเมืองของอิตาลีจะล้มลุกคลุกคลานอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้พาไปศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองอิตาลีช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากยุคราชอาณาจักรสู่ระบอบสาธารณรัฐ และนำไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจอิตาลีอย่างก้าวกระโดด แต่ต้องแลกมาด้วยความวุ่นวายของนักการเมืองและการคอร์รัปชัน เรื่องราวของนักการเมืองกับมาเฟียอิตาลีจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
📍โค้งสุดท้าย! The Secret Sauce Strategy Forum 2022
การปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่ 170 ปีที่แล้ว ถือเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์โลกร้อน แต่จุดเริ่มต้นที่มนุษย์เริ่มตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนกลับเริ่มต้นมาเพียง 16 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น
การเติบโตของอุตสาหกรรมส่งผลกับอันตรายของโลกอย่างไร และนักวิทยาศาสตร์เริ่มต้นค้นพบต้นเหตุของภาวะโลกร้อนอย่างไรบ้าง ไปจนถึงที่มาที่ไปของการร่วมมือระหว่างสหประชาชาติในการตั้งเป้าหมาย Net Zero ในอนาคตจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
หนังสือ Il Milione รวมเรื่องโม้หนึ่งล้านครั้งของ มาร์โค โปโล ที่เป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ให้กับ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ในการค้นพบทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นหนังสือที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์โลกเป็นอย่างยิ่ง แต่กลับเป็นหนังสือที่นักประวัติศาสตร์หลายสำนักต่างตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ว่ามีความเป็นจริงมากแค่ไหน?
เอพิโสดนี้จึงรวบรวมข้อพิพาทของนักประวัติศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ความเชื่อที่ว่า มาร์โค โปโล มีตัวตนและได้เดินทางไปเมืองจีนจริงๆ ตามที่หนังสือ Il Milione ได้รวมเรื่องโม้เอาไว้ เรื่องราวการพิสูจน์จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพูดถึงแง่มุมทางประวัติศาสตร์ของหนังสือบันทึกการเดินทางของ มาร์โค โปโล นักเดินทางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคน หรือ ‘Il Milione’ หนังสือที่ได้ชื่อว่าเป็นหนังสือรวมเรื่องโม้หนึ่งล้านครั้งและมีต้นกำเนิดมาจากการจดบันทึกของ รุสติเชลโล ดา ปิซา ผู้ต้องขัง ที่เขียนเรื่องราวทั้งหมดจากคำบอกเล่าของ มาร์โค โปโล ระหว่างการถูกจับกุมในช่วงปี 1298 บันทึกนี้จะมีที่มาที่ไป และมีความสมจริงในแง่ประวัติศาสตร์มากแค่ไหน ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพูดถึง ‘ประวัติศาสตร์โทรทัศน์’ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ในช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยกระจายข่าวสารให้แต่ละมุมของโลกได้รับข่าวสารอย่างพร้อมเพรียงกัน
อีกทั้งเป็นหนึ่งในเครื่องมือสื่อสารที่ส่งผลต่อความคิดของคนในสังคม กำหนดการรับรู้ และทัศนคติของผู้รับสารตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน อิทธิพลของโทรทัศน์จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชาวโลกอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้ สรุปภาพของสงครามครูเสดทั้ง 9 ครั้ง โดยเริ่มต้นจากสงครามครูเสดครั้งที่ 3 และการจากไปของพระเจ้าริชาร์ด ใจสิงห์ (Richard Coeur de Lion) ถือเป็นการปิดตำนานจอมกษัตริย์นักการทหาร จากนั้นก็เข้าสู่สงครามระหว่างครูเสดและมุสลิมเรื่อยมา จนกระทั่งปิดตำนานสงครามครูเสดครั้งสุดท้ายในปี 1272 ด้วยการที่เยรูซาเลมยังอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของรัฐอิสลามต่อไป
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าสงครามครูเสดทั้ง 9 ครั้งจะสร้างความเสียหายมากมายมหาศาล แต่ผลจากสงครามกับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการค้าขายระหว่างยุโรปและมุสลิม ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ ‘ยุคเรเนสซองส์’ รุ่งอรุณใหม่ของยุโรปและโลกทั้งใบในเวลาต่อมา
เอพิโสดนี้ยังอยู่ภายใต้ซีรีส์ ‘สงครามครูเสด’ โดยจะเล่าถึงประวัติศาสตร์สงครามครูเสดช่วงที่ 2 ผ่านการเปรียบเทียบของท้องเรื่องภาพยนตร์เรื่อง Kingdom of Heaven
กองทัพอิสลามของสุลต่านซาลาดิน นักรบสุภาพบุรุษแห่งดามัสกัส สามารถยึดนครเยรูซาเลมคืนได้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ประวัติศาสตร์ 8 นาที เอพิโสดนี้ ร้อยเรียงเรื่องราวของมหากาพย์สงครามครูเสดที่เกิดถึง 9 ครั้ง ในช่วงเวลาทั้งหมดเกือบ 200 ปี จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสดเกิดจากอะไร ทำไมพระสันตะปาปา Urbano II ถึงประกาศระดมพลให้ผู้มีศรัทธาแรงกล้าในคริสต์ศาสนาในการทวงคืนนครเยรูซาเลม จนกลายเป็นสงครามครั้งแรกระหว่างชาวคริสต์กับมุสลิม และทำให้เกิดสงครามยืดเยื้อในเวลาต่อมา ติดตามได้ในซีรีส์สงครามครูเสด ตอนที่ 1
รอยร้าวแรกของสงครามยูโกสลาเวีย ที่เกิดจากเขตปกครองอิสระ ‘โคโซโว’ และ ‘สโลโบดัน มิโลเซวิช’ ผู้นำคนใหม่ของเซอร์เบียที่ต้องการขยายอำนาจ ทำให้โครเอเชียและสโลวีเนียเริ่มทำสงครามภายในเพื่อแยกตัวออกจากพื้นที่ยูโกสลาเวีย
จุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรม ‘สงครามยูโกสลาเวีย’ สงครามกลางเมืองที่สร้างความเสียหายมากมายมหาศาล จนถือเป็นอีกหนึ่งสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โหดเหี้ยมที่สุดในประวัติศาสตร์โลกจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพาไปดูบทบาทของประเทศยูโกสลาเวีย ท่ามกลางภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมไปถึงการรวมชาติท่ามกลางความเห็นต่างของผู้นำทั้ง 3 ฝ่าย และความหลากหลายทางชาติพันธ์ภายใต้พื้นที่ยูโกสลาเวีย โยซิป บรอซ หรือ ‘ติโต’ ผู้ซึ่งเป็นเหมือนบิดาแห่งชนชาติยูโกสลาเวีย สามารถรวมชาติสู่การเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียได้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ประวัติศาสตร์ของพื้นที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศยูโกสลาเวีย หรืออาณาจักรของชาวสลาฟตอนใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความแตกต่างทั้งทางชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา อันนำไปสู่การสังหารมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ความขัดแย้งระหว่างความแตกต่างของประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ยูโกสลาเวียจะเป็นอย่างไร เอพิโสดนี้มีคำตอบ
เอพิโสดนี้จะพาไปย้อนรอยวิธีการจับกุม Viktor Bout อาชญากรระดับโลก ที่ได้รับสมญานามว่า ‘พ่อค้าแห่งความตาย’ เพราะเป็นผู้ค้าขายอาวุธสงครามให้กับหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก และมีความเกี่ยวพันกับอาชญากรในเกือบทุกทวีปทั่วโลก อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา แต่สุดท้ายกลับมาโดนจับที่ประเทศไทย
DEA (Drug Enforcement Administration) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจับกุม Viktor Bout จะมีวิธีการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพาไปศึกษาบทบาทของประธานาธิบดี รัฐบาลกลาง และนักขับเคลื่อนเพื่อสิทธิมนุษยชนในการยุติการแบ่งแยกผิวสีในสหรัฐอเมริกา การต่อสู้เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมาย 'Civil rights Act’ เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับทุกชีวิต ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกสีผิวในอเมริกา วลีบรรลือโลกในอดีตที่ว่า ‘All men are created equal’ จะสัมพันธ์กับ #blacklivesmatter ที่เป็นกระแสในโลกปัจจุบันอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะเล่าประวัติศาสตร์อเมริกาผ่านเรื่องราวและมุมมองของคนผิวสีที่ต่อสู้เพื่อการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมในอเมริกา จุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนทางกฎหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งความเท่าเทียมจะเป็นอย่างไร รวมทั้งมีเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้างที่สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับการเรียกร้องความยุติธรรมของคนผิวสี ที่นำไปสู่การล้มเลิกกฎหมายที่ส่งเสริมการแบ่งแยกคนผิวสีได้ในที่สุด สามารถติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เมื่อผู้นำปากีสถานทั้ง 3 ฝ่ายเห็นพ้องต้องกันในการแบ่งแยกอินเดียและปากีสถานออกเป็นสองประเทศ จึงได้มีการการวางแนวพรมแดนใหม่ภายใต้ข้อจำกัดด้านความแตกต่างทางศาสนาของชาวอินเดีย แม้ว่า ‘Sir Cyril Radcliffe’ จะพยายามตัดแบ่งพื้นที่ตามชุมชนที่มีความแตกต่างทางศาสนา แต่ความขัดแย้งทางศาสนา และการแบ่งแยกประเทศของอินเดีย-ปากีสถานหลังจากได้รับเอกราชคืนจากอังกฤษในช่วงปี 1947 กลับนำไปสู่ความสูญเสียมากที่สุดของมวลมนุษยชาติไม่ต่างจากสงครามอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นทั่วโลก ร่วมถอดบทเรียนจากประวัติศาสตร์การแบ่งประเทศอินเดียและปากีสถานได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพูดถึงประวัติศาสตร์อินเดียหลังจากที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ โดยเฉพาะกรอบประวัติศาสตร์อินเดียช่วงที่มีความขัดแย้งระหว่างชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูกับมุสลิม ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางศาสนา จะส่งผลต่อการตัดแบ่งแผนที่ประเทศอินเดียอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้พาย้อนเวลากลับไปในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เพื่อถอดเกร็ดประวัติศาสตร์จากภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส 2 เพราะเป็นกรอบเวลาที่มหาอำนาจชาติตะวันตกต่างก็เข้ามาขยายอำนาจในแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาของพ่อค้าชาวอังกฤษในไทย อันไปสู่จุดกำเนิดของสนธิสัญญาเบอร์นี ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้สยามได้เห็นวิทยาการและความก้าวหน้าของสินค้าจากตะวันตก รวมไปถึงการถูกกดทับจากสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยนั้นด้วย
นอกจากนี้ยังมีการเข้ามาของมิชชันนารีตะวันตกที่เผยแพ่คริสต์ศาสนาในไทย รวมไปทั้งวิทยาการพิมพ์ การศึกษา การแพทย์ อันเป็นการเปิดหูเปิดตาให้ชาวสยามเป็นอย่างมาก และทำให้ไทยก้าวสู่การเป็นประเทศอารยธรรม (Civilization) ทัดเทียมชาติตะวันตกในเวลาต่อมา
เอพิโสดนี้พาย้อนเวลาสู่ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาก่อนเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของชาติตะวันตกที่เข้ามาในสยามประเทศ ทั้ง อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน ฮอลันดา ส่งผลให้พระนารายณ์มหาราชต้องใช้กุศโลบายในการคานอำนาจกับชาติตะวันตก ผ่านการสานสัมพันธ์กับมหาอำนาจฝรั่งเศส ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่สยามในหลายมิติ เรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยและชาติมหาอำนาจในช่วงเวลาเดียวกันจะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
หลังจากที่สิงคโปร์ถูกปลดออกจากการเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ทำให้เกิดความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคม ‘ลีกวนยู’ จึงสร้างกองทัพเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่คนในชาติ รวมทั้งให้ที่อยู่อาศัยแก่ประชาชนผ่านโครงการเคหะแห่งชาติ ซึ่งถือว่าเป็นการวางรากฐานประเทศที่ประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบัน รวมทั้งมีการสร้างความสมานฉันท์ของความแตกต่างทางชาติพันธ์ุผ่านกฎหมายที่เท่าเทียม การวางรากฐานทางการเงินและการศึกษา จนนำไปสู่การปักหมุดแสดงความเป็นชาติบนเวทีโลกในช่วงก่อตั้งสมาคมอาเซียน นอกจากนี้จะมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้สิงคโปร์เปลี่ยนจาก ‘กุ้งพิษตัวเล็กในมหาสมุทร สู่เม่นที่มีหนามรอบตัว’ ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพาไปศึกษาการเติบโตของประเทศสิงคโปร์ ที่มีการพัฒนาที่น่าสนใจ เพราะใช้เวลาเปลี่ยนผ่านจากประเทศโลกที่สาม สู่ประเทศพัฒนาแล้วในเวลาอันรวดเร็ว
‘ลีกวนยู’ นายกรัฐมนตรี ใช้วิธีการอะไรแก้ไขปัญหาในช่วงเริ่มก่อตั้งสิงคโปร์ การรวบรวมประชากรที่มีความหลากหลายทางชาติพันธ์ุ และพาสิงคโปร์เข้าสู่บทใหม่ หลังจากการถูกปลดออกจากสหพันธรัฐมลายูจะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปย้อนประวัติศาสตร์ที่กินเวลายาวนานกว่า 2 ล้านปีที่ British Museum พิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมมรดกล้ำค่าและอารยธรรมโบราณจากทั่วทุกมุมโลกไว้ในที่เดียว
จุดที่น่าสนใจคือ วัตถุโบราณที่อยู่ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จำนวนไม่น้อยเป็นสิ่งของที่กองทัพอังกฤษไปปล้นชิงมาในยุคล่าอาณานิคม แม้จะนำมาบำรุงรักษาและจัดแสดงในฐานะมรดกโลก แต่อีกด้านหนึ่งก็เกิดคำถามเช่นกันว่า หากวัตถุเหล่านี้เป็นของที่ปล้นชิงมา สุดท้ายแล้วมันควรถูกส่งคืนแผ่นดินเกิดอันเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมนั้นๆ หรือไม่
8 Minute History เมดเลย์อีพีนี้ รวบรวมประวัติศาสตร์นอกสายตา เรื่องใหญ่ในสนามการเมืองโลกที่คนไม่ค่อยรู้ ฟังกันแบบจุใจต่อเนื่อง 2 ชั่วโมงเต็ม ตั้งแต่ประวัติศาสตร์การแบ่งแยกคนผิวสีในแอฟริกาใต้ ประชาธิปไตยที่ไม่ได้มาง่ายๆ ของฝรั่งเศส มหากาพย์แห่งการปฏิวัติอิหร่าน จนถึงปูมหลังและการคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างอังกฤษและไอร์แลนด์
8 Minute History เอพิโสดนี้ ยังอยู่กับเรื่องราวของสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 หลังจากจีนพ่ายแพ้ราบคาบในศึกต้ากู้โข่ว นำไปสู่การบุกเผาทำลายพระราชวังหยวนหมิงหยวนของทหารอังกฤษ ปมสำคัญจากความพ่ายแพ้ครั้งดังกล่าว ทำให้จีนต้องเซ็นสนธิสัญญาเช่าดินแดนกับฝ่ายอาณานิคม ขณะที่มรดกล้ำค่าอย่างรูปปั้น 12 หัวนักษัตรก็ถูกโจรกรรมไป นี่คือจุดเริ่มต้นของการตามทวงคืนมรดกและอำนาจที่หายไป ก่อนที่จีนจะกลับมาสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้ง
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนอดีตสู่ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เจาะลึกเหตุการณ์สำคัญที่เรียกว่า Arrow War หรือ ‘สงครามฝิ่นครั้งที่ 2’ ซึ่งจักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศส สองมหาอำนาจของโลก ณ เวลานั้น จับมือกันทำสงครามกับจักรวรรดิต้าชิง โดยหนึ่งในวัตถุประสงค์คือ การกดดันให้จีนเปิดการค้าฝิ่นอย่างถูกกฎหมาย
นี่คือจุดเริ่มต้นของการถดถอยสู่จุดต่ำสุดของจีน และเป็นต้นตอของการตามล่าประติมากรรมสำริดรูปหัวนักษัตร 12 หัว มรดกล้ำค่าที่ถูกปล้นชิงไปจากการเผาทำลายพระราชวังหยวนหมิงหยวน ซึ่งยังคงยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน
8 Minute history เอพิโสดนี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมฉลอง ‘Pride Month’ ผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์ของ Alan Turing (อลัน ทัวริง) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชนะฝ่ายนาซีเยอรมนี อันเป็นจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านการถอดรหัส Enigma และการคำนวณด้วยระบบเลขฐานสองซึ่งเป็นพื้นฐานของดิจิทัล อันนำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับที่มาของตราบริษัท Apple ในยุคแรก เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ Alan Turing ในฐานะนักคณิตศาสตร์ ผู้ให้กำเนิดวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่โลกทั้งใบจนถึงปัจจุบัน
‘Less is More’ ถือเป็นพื้นฐานปรัชญาที่โด่งดังในการออกแบบงานศิลปะและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เอพิโสดนี้จะพาไปศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของความนิยมในช่วงศตวรรษที่ 20 แนวคิดและมุมมองต่อความสวยงามแบบเรียบง่ายที่เปลี่ยนไป ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโรงเรียนเบาเฮาส์ (Bauhaus) โรงเรียนออกแบบสัญชาติเยอรมัน อันถือเป็นจุดเปลี่ยนด้านศิลปะที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อโลกทั้งใบจนถึงปัจจุบัน
เอพิโสดนี้จะพูดถึงวิวัฒนาการวัฒนธรรมคอมพิวเตอร์ หลังจากมีการพัฒนาอินเทอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ในช่วงปี 1970 ก่อนนำไปสู่มอนิเตอร์เศรษฐกิจใหม่อย่าง Silicon Valley รวมถึงที่มาของชื่อ Silicon Valley พื้นที่ที่มีบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ที่มุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิตอนดักเตอร์ (Semiconductor) และคอมพิวเตอร์ จนกลายมาเป็นคลัสเตอร์ของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนโลกใบนี้ไปทั้งใบ
เอพิโสดนี้ จะพูดถึงพื้นฐานที่นำไปสู่การเกิดอินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรม ‘Start-up’ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิด ‘Silicon Valley’ แหล่งกำเนิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำคัญของพัฒนาการโลก สหรัฐอเมริกาจะมีบทบาทสำคัญอย่างไรบ้าง ในการให้กำเนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อโลกทั้งใบเข้าด้วยกันเป็นครั้งแรก ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minutes History เมดเลย์ อีพีนี้ พาไปสำรวจประวัติศาสตร์และเกร็ดน่ารู้ของแบรนด์ระดับโลก ทั้ง Nike, Gucci, Ray-Ban, Rolls-Royce อะไรที่ทำให้แบรนด์เหล่านี้อยู่ยงคงกระพัน ขณะที่อีกหลายแบรนด์ หลายผลิตภัณฑ์ กลายเป็น ‘ตำนาน’ แห่งยุคสมัยที่ไม่มีวันฟื้นคืนชีพ
เอพิโสดนี้ จะพูดถึงวิธีการในการค้นพบหีบศพมัมมี่ฟาโรห์รามเสสที่ 2 และความพยายามของทุกฝ่ายในการหาโบราณวัตถุอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดเจอพระศพของฟาโรห์รามเสสที่ 2 รวมทั้งมีการถอดความหมายของอักษร Hieroglyphic บนหลุมศพของฟาโรห์ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมนักบวชโบราณถึงปกป้องหลุมศพของฟาโรห์จากผู้บุกรุกได้ยาวนานกว่า 3,000 ปี ก่อนกลายมาเป็นโบราณวัตถุชิ้นสำคัญให้ชาวโลกได้ศึกษาอารยธรรมอียิปต์โบราณจนถึงปัจจุบัน
ในวาระที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ผ่านไปสดๆ ร้อนๆ 8 Minute History เอพิโสดนี้ขอพาทุกคนย้อนไปดูต้นกำเนิดของ ‘กรุงเทพมหานคร’ เมืองหลวงอายุ 240 ปีที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย ตั้งแต่ช่วงแรกที่มีเกาะรัตนโกสินทร์เป็นจุดศูนย์กลาง ขยับขยายไปยังสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงยุคที่การพัฒนาเมืองเป็นไปอย่างรวดเร็วและกลายเป็น ‘มหานคร’ ในปัจจุบัน
จากความสนใจของฝรั่งเศสที่มีต่ออารยธรรมอียิปต์ และความพยายามในการบั่นทอนอิทธิพลของออตโตมัน ที่กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาประวัติศาสตร์อารยธรรมอียิปต์ เอพิโสดนี้จะพาไปหาคำตอบว่าทำไมโบราณวัตถุจากอียิปต์ ถึงถูกจัดแสดงอยู่ใน ‘British Museum’ และ ‘Louvre Museum’ ในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสได้ รวมถึงตำนานเกี่ยวกับฟาโรห์รามเสสที่ 2 จะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพูดถึงเส้นทางสู่สันติภาพระหว่างอังกฤษและไอร์แลนด์ ตั้งแต่สมัยของ มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ในการเริ่มต้นเดินหน้าและสร้างสันติภาพของสองพื้นที่ในอังกฤษ จนสามารถนำไปสู่กำเนิด ‘Belfast Agreement’ ประวัติศาสตร์การเดินหน้าของกระบวนการสร้างสันติภาพในอังกฤษจะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพูดถึงประวัติศาสตร์เหตุการณ์ในปี 1969 ที่เกิดขึ้นระหว่างอังกฤษและไอร์แลนด์ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในนครหลวงของไอร์แลนด์เหนือ หรือเมืองเบลฟาสต์ ความขัดแย้งอันเจ็บปวดของทั้งสองชาติจะมีสาเหตุมาจากอะไร สามารถคลี่คลายอย่างไร ก่อนที่จะนำไปสู่ Good Friday Agreement กำเนิดสันติภาพระหว่างสองประเทศได้อย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้ยังคงพูดถึงการสำรวจโบราณคดีในการพิสูจน์พุทธศาสนาจากการตามรอยของเสาอโศกของพระเจ้าอโศกมหาราช เสาอโศกมหาราชจะมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพูดถึงการทำงานด้านโบราณคดี เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในยุคต้น การสำรวจประวัติพุทธกาลของ Alexander Cunningham ผู้เป็นบิดาด้านโบราณคดีของอินเดีย เพื่อทำความเข้าใจและพิสูจน์พุทธศาสนา ผ่านการอ้างอิงจากบันทึกการเดินทางของหลวงปู่ฟาเหียนและพระถังซัมจั๋ง เส้นทางการเดินทางของทีมสำรวจจะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพาไปศึกษาจุดจบชีวิตของนายแพทย์ Josef Mengele แห่งค่ายกักกันนาซี ผู้ที่มีฉายาว่าเทพแห่งความตาย เพราะเป็นแพทย์ที่ผ่าวิจัยชาวยิวในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของชนชาติอารยัน แต่หลังจากที่ค่ายกักกันถูกปลดปล่อย ชีวิตของนายแพทย์เมนเกเลสามารถรอดพ้นจากคดีอาชญากรสงคราม เพราะสามารถหลบหนีจากการตรวจสอบรอยสักที่แขน และมีวิธีหลบหนีออกจากเยอรมนีไปได้อย่างยาวนาน ก่อนเสียชีวิตที่บราซิลในที่สุด เรื่องราวการหลบหนีจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
คำว่า Eugenics แปลเป็นภาษาไทยว่า ‘สุพันธุศาสตร์’ มีความหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยเรื่องการจัดการชาติพันธ์ุ พันธุกรรมให้ดี ให้สมบูรณ์ และการที่จะได้มาซึ่งชาติพันธ์ุที่ดี สมบูรณ์ และบริสุทธิ์ตามนิยาม ก็จะต้องบริหารให้คนที่มียีน DNA ที่มีคุณสมบัติดีนั้นเจริญพันธ์ุ และทำให้คนที่มียีนด้อย หรือ DNA ที่ต่ำกว่ามาตรฐานปราศจากคุณสมบัตินั้นไม่สามารถที่จะเจริญพันธ์ุได้อีกต่อไป
จากแนวคิดนี้ สะท้อนหลักคิดเบื้องหลังชัดเจนว่า มนุษย์แต่ละเผ่าพันธ์ุไม่เท่ากัน และเมื่อธรรมชาติจัดการไม่ได้ ‘สุพันธุศาสตร์’ และกลไกของรัฐก็จะเข้ามาจัดการ เอพิโสดนี้จึงจะพูดถึงเรื่องของการนำแนวคิดนี้ Eugenic ไปปฏิบัติจริง โดย Dr. Josef Mengele นายแพทย์ดีกรีปริญญาเอกทางการแพทยศาสตร์เอกพันธุกรรมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ผู้สังกัดหน่วย Waffen-SS ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่คลั่งสุดโต่งผู้อยู่เบื้องหลังยุทธการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของชาติอารยัน จนได้รับสมญานามว่า Todesengel หรือเทพแห่งความตาย เรื่องราวของแพทย์อาชญากรสงครามจะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
หนึ่งในจุดพลิกผันที่ทำให้พรรคนาซีเยอรมนีได้รับคะแนนความนิยม คือเหตุการณ์ ‘ฟองสบู่แตกที่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีท’ ทำให้ประชาชาชนที่ขาดความเชื่อมั่นในประชาธิปไตยไวร์มาร์หันมาเทใจให้กับพรรคนาซี แต่หลังจากที่ฮิตเลอร์ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรวบอำนาจไว้ที่ตนเองและสถาปนาตนเป็นผู้นำสูงสุด นำเยอรมนีเข้าสู่สงครามโลก และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในเวลาต่อมา รวมทั้งข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญไวมาร์ในอดีต เหตุการณ์เหล่านี้จึงกลายเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้เยอรมนีสามารถสร้างประชาธิปไตยใหม่ที่มั่นคง และได้มาซึ่งกฎหมายขั้นพื้นฐานที่ทำให้ประชาธิปไตยเยอรมนีแข็งแรงมั่นคงถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการของประชาธิปไตยเยอรมนีจะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพาย้อนรอยประวัติศาสตร์เยอรมนีช่วงก่อนที่จะมีประชาธิปไตยที่มั่นคง กล่าวคือช่วงแห่งความล้มเหลวของ ‘สาธารณรัฐไวมาร์’ การเมืองช่วงระหว่างหลังสงครามโลกครั้งที 1 จนถึงช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ออกกฎหมายให้อำนาจเบ็ดเสร็จและสถาปนาตนเป็นผู้นำเผด็จการ
ถึงแม้รัฐธรรมนูญในยุคนั้นยังให้อำนาจแก่ประธานาธิบดี อันนำไปสู่รัฐบาลผสมซึ่งไร้เสถียรภาพ แต่การที่เยอรมนีสามารถมีประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นครั้งแรกก็ถือเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เพราะเป็นรากฐานที่นำไปสู่ความมั่นคงของประชาธิปไตยในเวลาต่อมา การเมืองเยอรมนีในยุคนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง ทำไมพรรคนาซีเยอรมนีถึงได้รับความนิยมจากประชาชน ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
8 Minute History เมดเลย์อีพีนี้ พาไปสำรวจภูมิปัญญาสำคัญๆ ของมวลมนุษยชาติ ทั้งองค์ความรู้ ผู้คน และสิ่งประดิษฐ์แห่งยุคสมัย ตั้งแต่ต้นกำเนิดของปฏิทิน ยุคเฟื่องฟูของศิลปะ วิทยาศาสตร์ ภาษา ที่มาที่ไปของอุดมการณ์มาร์กซิสต์ จนถึงการมุ่งพิชิตอวกาศของประเทศมหาอำนาจ
Time Index:
00:00 ปฏิทินจูเลียนและเกรกอเรียน ปฏิทินพันปีขับเคลื่อนกาลเวลาสู่ปัจจุบัน
12:10 ย้อนประวัติศาสตร์ไทยและทั่วโลกผ่าน พ.ศ. และ ค.ศ.
25:20 Renaissance ยุคตื่นรู้ทางปัญญา รากฐานอารยธรรมและศิลปะของโลก
42:52 วิวัฒนาการของภาษาอังกฤษ จากยุคชนพื้นเมืองสู่ Modern English ของเชกสเปียร์
01:00:52 ประวัติ คาร์ล มาร์กซ์ ผู้วางรากฐานอุดมการณ์พัฒนาสังคมอย่างเท่าเทียม
01:15:57 การเผยแพร่แนวคิดมาร์กซิสต์สู่ประเทศอื่นๆ เพื่อคืนความเท่าเทียมให้ทุกชนชั้น
01:24:34 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผู้คิดค้นทฤษฎีฟิสิกส์เปลี่ยนโลก ‘แรงโน้มถ่วงไม่มีจริง’
01:44:17 ‘ไอน์สไตน์’ ผู้พิทักษ์สันติภาพ กับจดหมายลับหยุดยั้งนิวเคลียร์นาซีเยอรมัน
01:55:29 อิทธิพลของชาวดัตช์ สู่รากฐานการค้าของชาวโลก
02:15:52 ‘ออโตบาห์น’ ถนนของประชาชน สู่ทางหลวงที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก
02:27:38 กำเนิด Space Race สงครามอวกาศสุดเดือด อเมริกา vs. โซเวียต
02:40:30 Space Race จากสงครามสู่การพัฒนากิจการอวกาศของคนทั้งโลก
เอพิโสดนี้จะพาย้อนรอยประวัติศาสตร์อิตาลีในช่วงที่มุสโสลินีเดินหน้าสร้างความยิ่งใหญ่ของฟาสซิสต์ ในช่วงที่มุสโสลินีพบกับ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ฮิตเลอร์ได้รับอิทธิพลจากมุสโสลินีหลายประการ และมั่นใจว่าเขาได้พันธมิตรร่วมรบที่แข็งแกร่ง แต่สำหรับมุสโสลินีคือการก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำโลก ความสัมพันธ์ของผู้นำเผด็จการท้ังสองประเทศจะเป็นอย่างไร และมีจุดสิ้นสุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพาย้อนรอยประวัติศาสตร์อิตาลี ในฐานะรัฐชาติภายใต้การนำของเผด็จการมุสโสลินี ที่ต้องการเดินหน้าสร้างความยิ่งใหญ่ของฟาสซิสต์ ผ่านการปลุกเร้าประชาชน และสร้างความหวังในการที่จะพาอิตาลีให้ยิ่งใหญ่เสมือนเป็นจักรวรรดิโรมันที่ 2 กระบวนการรวมอิตาลี หรือ ‘Risorgimento’ กินเวลายาวนานหลายสิบปี จนกระทั่งมุสโสลินีสามารถรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ สถาปนาอิตาลีเป็นระะบอบการเมืองพรรคเดียวเด็ดขาดโดยมีกษัตริย์เป็นประมุขได้ในที่สุด รายละเอียดการก่อตั้งราชอาณาจักรอิตาลีจะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
ซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความมั่งคั่งทางด้านพลังงานและมีประวัติศาสตร์น่าสนใจ เนื่องจากเป็นชาติที่สามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจจากการขุดพบน้ำมันดิบในปี 1938 เอพิโสดนี้จึงพาย้อนรอยประวัติศาสตร์ ‘ซาอุดีอาระเบีย’ ในช่วงที่มีการรวมพื้นที่ฮิญาซและนัจญด์ โดยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด พระมหากษัตริย์รัชกาลแรก อีกทั้งยังมีการการขุดพบทรัพยากรน้ำมันดิบ ซึ่งนำไปสู่การร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาจนสามารถเนรมิตซาอุดีอาระเบียสู่การเป็นมหาอำนาจทางพลังงาน และกลายมาเป็นประเทศที่มีสำคัญต่อโลกถึงปัจจุบัน
เอพิโสดนี้จะชวนทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ซาอุดีอาระเบียช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยที่ชาวอาหรับได้ความช่วยเหลือจากอังกฤษในการขับไล่ชาวออตโตมันออกจากพื้นที่ฮิญาซ (Hejaz) จนออตโตมันล่มสลาย นำไปสู่การรวบรวมพื้นที่ในคาบสมุทรอาระเบีย โดยเฉพาะการรวบรวมพื้นที่ตอนในของคาบสมุทรอาระเบียหรือนัจญด์ (Nejd) ยุทธศาสตร์สำคัญที่พยายามประกาศเป็นเอกราชออกจากฮิญาซ อันเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งของสองพื้นที่ ก่อนจะรวมเป็นราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียได้สำเร็จในปี 1932
หากศึกษาประวัติศาสตร์วาติกันจะพบว่าในยุคของพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 นั้น เป็นช่วงเดียวกันกับที่ ‘Jakob Fugger the Rich’ ทำงานให้กับสำนักการคลังของวาติกัน ผ่านการเสนอตัวเพื่อเป็นตัวกลางในการขายใบไถ่บาปสำหรับการระดมทุนไปสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ทำให้ตระกูล Fugger สามารถสร้างกำไรเป็นอย่างมาก จนนำไปสู่การเกิดชนชั้นกระฎุมพี (Bourgeoisie) และระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบการธนาคาร กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
จุดกำเนิดความมั่งคั่งของมหาเศรษฐี ‘Jakob Fugger’ มหาเศรษฐีที่ครองอันดับความร่ำรวยที่สุดในประวัติศาสตร์โลกมาโดยตลอด จะมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ครอบครัว Fugger มั่งคั่งจนสามารถยกระดับเข้าสู่ชนชั้นกระฎุมพี อันเป็นรากฐานของระบบทุนนิยมในเยอรมนี ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพาย้อนรอยประวัติศาสตร์อังกฤษต่อจากรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งราชวงศ์ฮันโนเวอร์มาสู่รัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 2 แต่พระองค์ไม่สนใจขยายอำนาจของอังกฤษผ่านทางเรือ ทำให้ถูกตั้งคำถามจากประชาชนในเรื่องของการขยายจักรวรรดิ นำไปสู่การแต่งตั้งพระเจ้าจอร์จที่ 3 ตามด้วยพระเจ้าจอร์จที่ 4 ตามลำดับ ที่ทำให้บริเตนกลายเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในโลก และในสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 5 อังกฤษชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการเปลี่ยนชื่อราชวงศ์ไปสู่ราชวงศ์วินด์เซอร์ ก่อนเข้าสู่สมัยพระเจ้าจอร์จที่ 6 ประมุขในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พระชนกของควีนเอลิซาเบธ ประมุขของอังกฤษในปัจจุบัน
อีกหนึ่งจักรวรรดิที่เป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการประวัติศาสตร์โลก ก็คือจักรวรรดิบริเตน เอพิโสดนี้จึงพูดถึงอีกหนึ่งหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักรหรือ ‘อังกฤษ’ ช่วงที่ประชาธิปไตยอังกฤษก้าวหน้าไปอีกขั้น เพราะเป็นยุคที่เปลี่ยนจากราชวงศ์ Stuart สู่ Hanover เกิดเหตุการณ์ The Southsea Bubble หรือเหตุการณ์ ‘ฟองสบู่หุ้น’ ครั้งแรกบนโลก กล่าวคือการที่กลุ่มนักการเมืองอังกฤษซื้อหุ้นก่อนที่จะมีการประกาศระดมทุนครั้งสำคัญหรือก่อนการประกาศขายสัมปทานผูกขาด จนกระทั่ง Robert Walpole เข้ามาแก้วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้น รวมทั้งขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของอังกฤษ ซึ่งนับเป็นพื้นฐานสำคัญของการเมืองการปกครองอังกฤษภายใต้ประชาธิปไตยที่แข็งแรงจากวันนั้นจนถึงวันนี้
เอพิโสดนี้จะพาไปย้อนรอยเส้นทางการเมืองของรัสเซียจากการเปิดประตูรัสเซียสู่โลกกว้าง ในช่วงที่พันธมิตรของสหภาพโซเวียตตีตัวออกห่างจากรัสเซียจำนวนมาก จนกระทั่งในปี 1991 บอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีคนแรกของรัสเซีย เข้ามามีบทบาทในการปฏิรูปรัสเซียสู่สหพันธรัฐรัสเซีย มีการเปลี่ยนผ่านจากระบบรัฐวิสาหกิจสู่เอกชน ที่นำไปสู่การผูกขาดของกลุ่ม Russian Oligarch จนกระทั่งวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำคนปัจจุบันของรัสเซีย เข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาเชิงโครงสร้าง และเดินหน้าสร้างความมั่นคงของรัสเซียต่อเวทีโลกในเวลาถัดมา
เอพิโสดนี้จะพาไปย้อนรอยเส้นทางการเมืองของรัสเซียในยุค ‘มิคาอิล กอร์บาชอฟ’ ประธานาธิบดีคนแรกและผู้นำที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซีย รัฐบุรุษที่มีบทบาทสำคัญในการยุติสงครามเย็น ปฏิรูปโซเวียตผ่านนโยบายเปเรสตรอยกาและกลัสนอสต์ ซึ่งทำให้นานาประเทศยอมรับสหภาพโซเวียตมากขึ้น แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ อีกทั้งยังส่งผลให้โครงสร้างสังคมรัสเซียเหลื่อมล้ำมากขึ้นจากการเกิดขึ้นของเศรษฐีรัสเซียจำนวนหนึ่งที่เข้ามามีอิธิพลต่อสังคมรัสเซียในเวลาถัดมา
สำหรับประวัติศาสตร์โรมันตอนที่ 2 จะเล่าถึงพัฒนาการการขยายอำนาจของจักรวรรดิ หลังจากการสิ้นสุดสงคราม Punic War จนได้เป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ นับเป็นยุครุ่งเรืองของอาณาจักรโรมันยาวนานหลายปี แต่เมื่ออาณาจักรมีพื้นที่กว้างขวางเกินกว่าที่ชนชั้นปกครองจะดูแลอย่างทั่วถึง จึงนำไปสู่ปัญหาการเมืองภายใน จนต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐสู่ระบบเผด็จการ เข้าสู่ยุคมืดของโรมัน และนำไปสู่ยุคกลางของยุโรปในเวลาถัดมา
การศึกษาประวัติศาสตร์โลกจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นหากเข้าใจประวัติศาสตร์โรมัน 8 Minute History จึงเรียบเรียงไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์โรมัน ตั้งแต่ยุคก่อตั้งไปจนถึงอาณาจักรล่มสลาย
สำหรับประวัติศาสตร์โรมันตอนที่ 1 นี้ จะพาไปย้อนรอยประวัติศาสตร์การก่อตั้งอาณาจักรโรมัน พัฒนาการการขยายอำนาจของจักรวรรดิ หลังจากการสิ้นสุดสงคราม Punic War ที่ต่อสู้กับชาวคาร์เทจจนได้ชัยชนะมาทั้ง 3 ครั้ง ก่อนเข้าสู่การก่อตัวยุคสาธารณรัฐจนได้เป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในเวลาถัดมา
หลังจากที่อาณาจักรโรมันตะวันออกกลายมาเป็นพื้นฐานสำคัญของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งกำเนิดระบบการสืบทอดตำแหน่งจักรพรรดิแห่งโรมผ่านการเลือกตั้งผู้ครองแคว้นต่างๆ เวียนกันขึ้นมารักษาอำนาจ
จนกระทั่ง Frederick Barbarossa ได้ควบคุมศาสนจักรเพื่อรักษาความยิ่งใหญ่ของตัวเอง ผ่านการใช้กำลังทหารในการบีบพระสันตะปาปาแต่งตั้งให้พระองค์เองขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งโรม และตั้งชื่อจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่หลังจากหมดยุคสมัยของพระองค์ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็เริ่มอ่อนแอลง เริ่มเข้าสู่ยุคมืด และสิ้นสุดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในเวลาถัดมา
“จักรวรรดิโรมัน ไม่มีอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีความเป็นโรมัน ไม่มีความเป็นจักรวรรดิ” เป็นวลีของ ฟร็องซัว-มารี อารูเอ หรือเป็นที่รู้จักกันในนามปากกาว่า วอลแตร์ ได้ให้คำอธิบายถึงจักรวรรดิโรมันเอาไว้ เนื่องจากผู้ปกครองอาศัยศาสนจักรเป็นเครื่องมือในการประกาศความเป็นจักรวรรดิเท่านั้น เพราะหลังจาก ‘โรมันตะวันตก’ จะล่มสลายไปแล้ว จักรพรรดิแห่งโรมและศาสนจักรโรมันคาทอลิกจึงมีบทบาทสำคัญต่อ ‘โรมันตะวันออก’ เท่านั้น
เอพิโสดนี้จึงจะพาย้อนรอยประวัติศาสตร์เพื่อศึกษาการก่อตั้งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ก่อนนำไปสู่การกำเนิดประเทศสำคัญหลายประเทศในยุโรป
ต่อเนื่องจากเอพิโสดที่แล้ว ประวัติศาสตร์ของตระกูลรอธส์ไชลด์ มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก เติบโตและสามารถขยายความมั่งคั่งสู่ทั้ง 5 ประเทศได้ เอพิโสดนี้จึงจะพาไปดูจุดพลิกผันสำคัญที่ทำให้ตระกูลรอธส์ไชลด์ต้องปรับตัวท่ามกลางความผันผวนทางการเมืองโลกที่เกิดขึ้น ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 ไล่มาจนถึงอิทธิพลของตระกูลรอธส์ไชลด์ต่อการเงินโลกในศตวรรษที่ 21
เอพิโสดนี้จะพาไปรู้จักผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเงินของโลก ความเป็นมาของตระกูลชาวยิวอย่างครอบครัวตระกูลรอธส์ไชลด์ สู่ช่วงสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ว่ามีพัฒนาการความมั่งคั่งอย่างไรบ้าง รวมถึงการที่ ‘Mayer Amschel Rothschild’ ที่ทำให้กิจการทางการเงินของตระกูลรอธส์ไชลด์เติบโตอย่างก้าวกระโดด ผ่านการขยายธุรกิจจากเยอรมนี สู่เวียนนา ปารีส ลอนดอน และเนเปิลส์เมืองที่เป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ตระกูลนี้กลายมาเป็นตระกูลมหาเศรษฐีในปัจจุบัน
เอพิโสดนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิวัฒนาการภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาสากลที่เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมโลก รวมทั้งมีส่วนผสมของภาษาที่หลากหลาย เนื่องด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานนับตั้งแต่การรุกรานของโรมันและไวกิ้ง จนนำไปสู่การปกครองดินแดนอังกฤษด้วยราชวงศ์ฝรั่งเศส และสิ้นสุดด้วยบุคคลสำคัญอย่าง วิลเลียม เชกสเปียร์ ผู้รังสรรค์ภาษาอังกฤษให้เป็น Modern English ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
เอพิโสดนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตยในยุคเริ่มต้นของประเทศเกาหลีภายใต้การบริหารประเทศด้วยระบอบเผด็จการ จนกระทั้งเกิดกระแสการเติบโตของประชาธิปไตยเพื่อเรียกร้องและต่อต้านเผด็จการในการขยายอำนาจของ ‘พัคจองฮี’ จนนำไปสู่การเลือกตั้งเพื่อแย่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และนำประชาธิปไตยคืนสู่ประเทศเกาหลีใต้ได้ในที่สุด
เอพิโสดนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์จีนหลังจากการเปลี่ยนระบบการปกครองภายใต้การนำของเจียงไคเชก พรรคก๊กมินตั๋ง หรือจีนคณะชาติที่เราคุ้นเคยกันในนาม ‘จีนขาว’ ส่วนฝ่ายคอมมิวนิสต์ในขณะนั้นถูกขนาดนามว่า ‘จีนแดง’ ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายนำไปสู่สงครามกลางเมืองนานกว่าสิบปี เจียงไคเชกมุ่งกำจัดคอมมิวนิสต์ ไม่สนใจต่อต้านญี่ปุ่นที่กำลังรุกคืบเข้าสู่จีน จนนำไปสู่เหตุการณ์ ‘อุบัติการณ์ซีอาน’ ท้ายที่สุดในช่วงปี 1949 ฝ่ายคอมมิวนิสต์สามารถเอาชนะฝ่ายจีนขาว และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนได้สำเร็จ
เอพิโสดนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์จีนในช่วงที่เรียกว่าศตวรรษวิปโยค หรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่การปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมี ดร.ซุนยัดเซ็น เป็นผู้นำคณะปฏิวัติ ในช่วงแรกของการเปลี่ยนแผ่นดิน ประเทศจีนแตกเป็นก๊กๆ หรือที่เรียกกันว่า ‘ยุคขุนศึก’ ทำให้ ดร.ซุนยัดเซ็น ต้องขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต ในการช่วยเหลือพรรคก๊กมินตั๋ง (จีนชาตินิยม) ผ่านการส่ง เจียงไคเชก เข้ามาช่วย พร้อมกับเชิญ เหมาเจ๋อตุง จากพรรคคอมมิวนิสต์จีน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการวางรากฐานของจีนให้แข็งแกร่ง และถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากวันนั้นเป็นต้นมา
หลังจากการที่พระถังซัมจั๋งได้ศึกษาพระธรรมที่นาลันทา ก่อนอัญเชิญพระไตรปิฎกกลับสู่ดินแดนจีน ได้เกิดการสนทนาธรรมเชิงโต้วาที อันเป็นผลให้พระถังซัมจั๋งเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถแก่พระสงฆ์ทุกรูปในชมพูทวีป และได้สร้างคุณงามความดีให้แก่ประเทศจีน ในภายหลังประวัติศาสตร์เส้นทางการเดินทางสู่ชมพูทวีปของพระถังซัมจั๋งได้ถูกรังสรรค์สู่ปริศนาธรรมในวรรณกรรมไซอิ๋ว หนึ่งในวรรณกรรมระดับตำนานของประเทศจีนในเวลาต่อมา
เอพิโสดนี้จะย้อนรอยวรรณกรรมไซอิ๋ว สู่เรื่องราวของพระถังซัมจั๋งในบริบทประวัติศาสตร์ ตั้งแต่แรกเริ่มการเปลี่ยนแผ่นดินจีนครั้งใหญ่ จนกระทั่งการเดินทางของพระถังซัมจั๋งไปยังเส้นทางชมพูทวีป รวมทั้งความท้าทายระหว่างการเดินทางที่พระถังซัมจั๋งเอาชนะได้ด้วยความสามารถในการแสดงธรรม เพื่อนำไปสู่การอัญเชิญพระไตรปิฎกสู่ดินแดนจีนในที่สุด
เอพิโสดนี้จะพาไปดูบทบาทของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่มีผลต่อการพิจารณาคดีนูเรมเบิร์ก ในการตัดสินจำเลยที่มีความผิดในเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีสองพี่น้องตระกูล Schulberg และ Leni Riefenstahl เป็นกำลังสำคัญในการผลิตภาพยนตร์นี้ และกลายมาเป็นหนึ่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์โลกที่สำคัญมาถึงปัจจุบัน
เนื่องในโอกาสวันตรุษจีน เอพิโสดนี้จะพาไปย้อนรอยที่มาของการปฏิรูปตัวอักษรจีน ในช่วงหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบบสาธารณรัฐ ‘เหมาเจ๋อตุง’ เลือกที่จะพัฒนาตัวอักษรของประเทศจีน เพื่อให้ประชากรอ่านออกเขียนได้ และสะท้อนวัฒนธรรมจีนผ่านระบบตัวอักษร Simplified Chinese และพัฒนาไปสู่ระบบพินอิน โดยโจวโหย่วกวง จนพลเมืองจีนมีความสามารถในการเรียนหนังสือได้มากยิ่งขึ้น ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการปฏิรูปสังคมจีน และทำให้ภาษาจีนกลายมาเป็นอีกหนึ่งภาษากลางที่นิยมกันทั่วโลกในปัจจุบัน
การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ หรือ Genocide คือสงครามที่รุนแรงและน่าหวาดกลัวที่สุดของมวลมนุษยชาติ เพราะเป็นสงครามที่เกิดจาก ‘อคติทางเชื้อชาติ’ เนื่องในวาระวันรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวสากล (International Holocaust Remembrance Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 27 มกราคม 1945 ในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง และนำไปสู่การปลดปล่อยผู้เคราะห์ร้ายชาวยิวที่ถูกกักกันอยู่ในค่ายเอาช์วิทซ์ (Auschwitz Concentration Camp) เอพิโสดนี้ จึงพาย้อนร้อยประวัติศาสตร์เหตุการณ์ The Holocaust ย้อนดูชนวนเหตุและสาเหตุของการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้แก่มนุษยชาติอยู่เสมอ
ในโอกาสครบรอบ 100 ปีของ Gucci เอพิโสดนี้จะพาไปย้อนรอยกำเนิดแบรนด์ Gucci แบรนด์หรูระดับโลกของ กุชชิโอ กุชชี (Guccio Gucci) ที่เริ่มต้นจากการเป็นพนักงานกดลิฟต์ในโรงแรมซาวอย กรุงลอนดอน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการยกระดับฐานะครอบครัว ผ่านการเริ่มต้นทำแบรนด์ของตัวเอง สินค้าชิ้นแรก และการพัฒนาการของแบรนด์จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ใน Brand Journey เอพิโสดนี้
เอพิโสดนี้จะพาไปพบกับชีวิตของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) หลังจากการกวาดล้างชาวยิวในประเทศเยอรมนีเกิดขึ้น ทำให้ไอน์สไตน์ต้องอพยพและช่วยเหลือเหล่านักวิทยาศาสตร์ชาวยิวให้รอดพ้นจากภัยคุกคามนาซีเยอรมัน และเป็นผลให้เกิดการเขียนจดหมายบันลือโลก ‘Einstein–Szilárd Letter’ เป็นเหตุให้เกิดโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาอย่าง ‘Manhattan Project’ เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ขยายอำนาจที่จะเกิดขึ้นจากนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2
นอกจากผู้ให้กำเนิดทฤษฎีอันเป็นพื้นฐานของระเบิดปรมาณูแล้ว หนึ่งในบุคคลสำคัญของโลก ‘อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์’ ยังเป็นผู้ที่รักสันติภาพ เป็นผู้เขียนบทความวิชาการอย่าง ‘Annus Mirabilis Papers’ ที่กลายมาเป็นทฤษฎีฟิสิกส์สมัยใหม่ และผู้สร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกนำไปพัฒนาด้านการสงคราม
เอพิโสดนี้จะพาไปดูการพิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ ซึ่งเป็นผลให้การหักล้างทฤษฎีความโน้มถ่วงของ ‘เซอร์ ไอแซก นิวตัน’ ที่เปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล
หลังจากอังกฤษขยายพื้นที่ผ่านการทำสงครามในอินเดียหลายครั้ง จนกินพื้นที่ได้มากพอสมควร ฝ่ายอังกฤษโดย Warren Hastings ผู้ว่าการแห่งอินเดียคนแรก เข้ามาดูแลอินเดียทั้งประเทศ จนถึงสมัยของ Richard Wesley ในการควบคุมอินเดียทั้งหมด จนท้ายที่สุดได้มีการเปลี่ยนจากการปกครองภายใต้บริษัท East India Company สู่การเป็น The British Raj ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของการสถาปนาอำนาจของอังกฤษทั่วทั้งอินเดีย ก่อนจะสิ้นสุดอำนาจลงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
เอพิโสดนี้จะพาไปย้อนรอยประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษเหนืออินเดีย ว่าทำไมถึงบังคับให้ปลูกฝิ่น และอังกฤษขยายเส้นทางทางการค้าไปยังตะวันออกเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงบทบาทของ Robert Clive ในการขยายอิทธิพลและวางรากฐานการปกครองของอังกฤษในอินเดีย
จุดเปลี่ยนระบบการปกครองรัสเซียเกิดขึ้นเมื่อ ‘วลาดิเมียร์ ปูติน’ ขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดี และออกนโยบายกำจัดชนช้ันที่สร้างความไม่เท่าเทียม ส่งผลกระทบต่อเหล่า ‘Russian oligarch’ ผู้วางรากฐานและกุมระบบเศรษฐกิจ รวมถึงเครือข่ายการเมืองเอาไว้ จนกระทั่งต้องลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ดี ประเทศรัสเซียยังคงเดินหน้าพัฒนาระบอบการปกครอง และแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำรัสเซียสู่สังคมในอุดมคติ
เอพิโสดแรกต้อนรับปีใหม่ จะพาไปถอดบทเรียนของประเทศรัสเซีย ว่าจุดเปลี่ยนอะไรที่ทำให้รัสเซียที่เคยปกครองด้วยระบบสังคมนิยมในสหภาพโซเวียต จนไม่สามารถรักษาอิทธิพลในการเดินหน้าเศรษฐกิจได้นั้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารในการเปลี่ยนกิจการภาครัฐสู่มือเอกชน (Privatization) จนกระทั่งมีกลุ่ม Russian Oligarch เข้ามามีส่วนร่วมในการหาผลประโยชน์ ขยายอำนาจ ครอบคลุมทั้งการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศรัสเซีย จนกลายเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งในปัจจุบัน
Time Index
00:14 Introduce
02:36 การเสื่อมลงของระบบสังคมนิยม
04:56 Privatization
06:56 การเกิดขึ้นของ Russian Oligarch
14:04 การขยายอำนาจของ Russian Oligarch
เอพิโสดนี้ จะพูดถึง FW de Klerk กับการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อคนแอฟริกาใต้ ในการยกเลิกนโยบายการแบ่งแยกผิวสี Apartheid เพื่อความเท่าเทียมของทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนผิวสีใดก็ตาม และถือเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐบาลสามัคคีของคนทั้งชาติ ที่นำโดย Nelson Mandela และรองประธานาธิบดีผู้เสียสละ FW de Klerk ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าทั้งสองได้ทิ้งอดีตเอาไว้เบื้องหลังอย่างสมบูรณ์ เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของคนทั้งชาติตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้
Time Index
00:00 Introduce
00:41 การผ่อนปรนกฎหมาย
02:56 FW de Klerk
06:05 การเปลี่ยนผ่านอย่างสันติ
08:24 Nelson Mandela
เอพิโสดนี้จะพาไปย้อนรอยประวัติศาสตร์ประเทศแอฟริกาใต้ ในยุคที่เกิดความขัดแย้งระหว่างคนผิวสีและรัฐบาลคนผิวขาวในแอฟฟริกาใต้ ซึ่งมีนโยบาย Apartheid หรือกีดกันคนผิวสีผ่านการออกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ทำให้คนจำนวนมากต้องอยู่เหมือนทาส จนเกิดการเรียกร้องต่อสู้ของคนผิวสี เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมให้แก่ทุกคนในสังคม
Time Index
00.00 Introduce
03.11 การล่าอาณานิคมของชาวยุโรป
05.17 จุดเริ่มต้นของการแบ่งแยก
07.12 ระบบการเมืองในแอฟริกาใต้
08.20 Apartheid
12.09 ความรุนแรงของความขัดแย้ง
ศตวรรษที่ 15 ประเทศสเปนเป็นประเทศที่มั่งคั่ง และมีวิสัยทัศน์ในการสำรวจโลกแผ่ขยายอำนาจอย่างกว้างขวางก่อนที่อำนาจจะสิ้นสุดลงในสงครามอังกฤษ-สเปน จึงเป็นโอกาสให้เหล่าพ่อค้าชาวดัตช์จัดตั้งบริษัท ‘Dutch East India Company (VOC)’ และกลายมาเป็นบริษัททรงอิทธิพลที่วางรากฐานการค้าให้กับทวีปยุโรปมากว่า 200 ปีจวบจนปัจจุบัน
Time Index
00:00 Introduce
01:10 ชาวสเปนกับการสำรวจโลก
03.09 สิ้นสุดอาณาจักรสเปน
05.21 Dutch East India Company (VOC)
08.59 เส้นทางการเดินเรือของชาวดัตช์
13.31 East India Company (EIC)
14.48 พื้นที่ขัดแย้งทางการค้า
รูปปั้นเดวิดของมิเกลันเจโล (Michelangelo) มีความสำคัญต่อยุคเรเนสซองส์และประวัติศาสตร์โลก เพราะเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์เริ่มสนใจและให้ความสำคัญต่อกายวิภาคศาสตร์ เอพิโสดนี้จะพาไปดูนัยสำคัญที่ซ่อนอยู่ในรูปปั้นเดวิดของมิเกลันเจโล รวมถึงความแตกต่างกับรูปปั้นเดวิดเวอร์ชันแรกของโดนาเตลโล (Donatello) ว่ามีความแตกต่างไปอย่างไรบ้าง
Time Index
00:00 Start
00.33 Michelangelo
01.01 The Statue of David
09.11 Galileo Galilei
11.43 บริบทสังคม
เมดเลย์เอพิโสดนี้รวบรวมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของประวัติศาสต์ไทย เพื่อย้อนรอยอดีต และศึกษาวิวัฒนาการของสภาพสังคมไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน
Time index
00:00 ย้อนประวัติศาสตร์ไทยและทั่วโลก ผ่านปี พ.ศ และ ค.ศ
13:23 ไทยเดือด ท่ามกลางสงครามเย็น สู่จุดเริ่มต้นสันติภาพในอินโดจีน
21:29 รัชกาลที่ 5 กับการพัฒนาสยามให้ทันสมัย เมื่อจักรวรรดินิยมรุกรานสู่เอเชีย
35:00 รัชกาลที่ 5 กับกุศโลบายทางการทูต สู่การยอมรับจากนานาประเทศ
43:13 วิวัฒนาการศรัทธาความเชื่อไทย ‘พุทธกับไสย’ ทำไมสังคมไทยเชื่อเรื่องร่างทรง
นอกจากวันที่ 10 ธันวาคม จะเป็นวันรัฐธรรมนูญแล้ว วันนี้ยังเป็นวัน ‘วันสิทธิมนุษยชนสากล’ ด้วย แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนทั่วโลกเติบโตมาอย่างไร เอพิโสดนี้จะพาไปดูจุดเริ่มต้นของความเชื่อเรื่อง ‘มนุษย์มีสิทธิที่เท่าเทียมกับมนุษย์ผู้อื่นมาตั้งแต่กำเนิด’ ไปจนถึงการเติบโตในประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม. ทำหน้าที่ตรวจสอบและส่งเสริมสิทธิของทุกคนอย่างเท่าเทียมตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนทั้ง 30 ข้อ
Time Index
00:14 Introduce
01:25 แรกเริ่มแนวคิดสิทธิมนุษยชน
06:49 การพัฒนาแนวคิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลก
09:44 การเติบโตของแนวคิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
เมดเลย์เอพิโสดนี้รวบรวมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ จากจีนยุคเก่าสู่จีนยุคใหม่ โดยอธิบายผ่านภาชนะ 3 ใบ ซึ่งตัวแทนของพัฒนาการของจีนทั้ง 3 สมัย ได้แก่ สำริด ตัวแทนของจีนยุคเก่า ยุคแรกของการกำเนิดจักรวรรดิจีน, หยก ซึ่งถือเป็นยุคทองของจีน และเครื่องเคลือบดินเผา ซึ่งหมายถึงจีนยุคใหม่ อันเป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะมีการคืนเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ และเริ่มต้นยุคสาธาณรัฐนั่นเอง
Time Index
00:00 สรุปประวัติศาสตร์จีนผ่านภาชนะ 3 ใบ ทำไมจีนแพ้สงครามฝิ่น
08:14 จุดจบจีนในยุคชุนชิว เข้าสู่ยุคจั้นกั๋วหรือรณรัฐทั้งเจ็ด
21:15 ขงจื๊อแห่งยุคชุนชิว รวมจีนให้เป็นหนึ่งภายใต้ราชวงศ์ฉิน
29:53 จักรพรรดิคังซี ยุวจักรพรรดิแห่งกรุงปักกิ่ง
39:49 ศึกสายเลือด แย่งชิงบัลลังก์พระจักรพรรดิคังซี
50:31 ความยิ่งใหญ่ของรัชสมัยเฉียนหลง ยุครุ่งเรืองแห่งราชวงศ์ชิง
01:00:00 ปลายรัชสมัยเฉียนหลง จุดเปลี่ยนของจีน จากยิ่งใหญ่สู่โรยรา
01:10:00 ซูสีไทเฮา ชนวนสุดท้ายก่อนสิ้นสุดราชวงศ์ชิง
01:18:00 ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนผู้น่าสงสาร
01:27:17 สรุป จุดเริ่มต้น เหมาเจ๋อตุง ปฏิวัติวัฒนธรรมจีน ใน 8 นาที
01:35:42 เหมาเจ๋อตุง และ 10 ปีที่สูญเปล่า? จุดสิ้นสุดของการปฏิวัติวัฒนธรรม
01:43:29 จีนอังกฤษ vs. จีน ศึกทวงคืนเกาะฮ่องกงสู่ดินแดนอธิปไตยจีน
เอพิโสดนี้จะพาไปยังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ‘Renaissance’ ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการตื่นรู้ทางปัญญา รวมถึงการวางรากฐานอารยธรรมโลก และวิทยาศาสตร์ เพื่อพลิกโฉมโลกจากยุคมืดที่ใช้ความศรัทธาเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งการก้าวเข้ามาของ ‘ตระกูลเมดีชี’ ผู้สนับสนุนให้เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยา และศิลปินผู้พัฒนาศาสตร์หลากหลายแขนงซึ่งถือเป็นรากฐานของการพัฒนาโลกในปัจจุบัน
Time Index
00:00 Start
02:19 Introduce
03:48 ยุคมืด (Dark Ages)
05:52 ตระกูลเมดีชี (House of Medici)
09:37 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance)
11:14 Donatello
12:34 Filippo Brunelleschi
14:09 Leonardo da Vinci
เอพิโสดนี้จะพาไปยังสมัยชุนชิว เป็นยุคก่อเกิดบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์จีนอย่าง ‘ขงจื๊อ’ และ ‘ซุนวู’ ผู้มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของชาวจีน และเป็นบุคคลสำคัญในราชสำนัก ซึ่งในเวลาต่อมาเกิดยุครณรัฐที่แบ่งแผ่นดินจีนเป็น 7 แคว้น ก่อนจะสิ้นสุดลงโดยการปกครองของราชวงศ์ฉิน ผู้ผนึกรัฐจีนเป็นจักรวรรดิที่สมบูรณ์ในที่สุด
Time Index
00:00 Start
02:19 Introduce
02:50 ขงจื๊อ (Confucius)
05:21 ซุนวู (Sun Tzu)
07:05 ยุครณรัฐ (Warring States period)
09:11 เริ่มการปกครองราชวงศ์ฉิน
ในช่วงยุคสมัยชุนชิว แผ่นดินจีนยังไม่มีกษัตริย์ ทำให้เกิดแคว้นเล็กแตกกระจายมากมาย จนกระทั่งเกิด ‘五霸 - อู่ป้า’ 5 ผู้พิชิตแห่งยุคชุนชิวที่ควบรวมแคว้นต่างๆ ผ่านสมรภูมิความขัดแย้ง และรวมตัวเป็นรัฐใหญ่ทั้ง 7 เข้าสู่ช่วงยุครณรัฐในเวลาต่อมา
Time Index
00:00 Start
02:19 Introduce
03:36 ยุคชุนชิว และยุครณรัฐ
05:45 ลักษณะภูมิศาสตร์
07:47 แผนที่รัฐในยุคชุนชิว
09:52 5 ผู้พิชิตแห่งยุคชุนชิว
11:35 สมรภูมิความขัดแย้ง
วิวัฒนาการของเครื่องเขียนเริ่มพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากปากกาขนนก สู่ปากกาลูกลื่น และถูกพลิกโฉมวงการปากกาสู่ยุคสมัยใหม่ จนเกิดความแพร่หลายอย่างมากโดย Marcel Bich ผู้สร้างจุดขายระดับโลกด้วยปากกาด้ามพลาสติกที่มีหัวปากกาทนทาน และสามารถขยายผลิตภัณฑ์ในแบรนด์ Bic ไปได้อย่างหลากหลาย จนสร้างฐานความนิยมไปทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน
Time Index
00:00 Start
02:19 Introduce
04:06 พัฒนาการเครื่องเขียน
08:12 Marcel Bich
09:50 การสร้างจุดขายระดับโลก
11:20 การขยายผลิตภัณฑ์ใต้แบรนด์ Bic
หลังจากสิ้นสุดสงครามฝิ่น ประเทศอังกฤษได้อ้างสิทธิ์เหนือชัยชนะต่อราชวงศ์ต้าชิง จัดทำข้อตกลงในนาม ‘สนธิสัญญานานกิง’ และ ‘อนุสัญญาปักกิ่ง’ เพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อประเทศอังกฤษ ภายหลังเกิดการหาประโยชน์จากประเทศมหาอำนาจในแผ่นดินจีน จนกระทั่งประเทศจีนภายใต้การบริหารของ ‘เติ้งเสี่ยวผิง’ เริ่มแข็งแกร่งขึ้น เป็นเหตุให้เกิดการทวงคืนพื้นที่รวมถึงเกาะฮ่องกงสู่แผ่นดินจีนสำเร็จในที่สุด
Time Index
00:00 Start
02:19 Introduce
03:19 สนธิสัญญานานกิง
04:04 อนุสัญญาปักกิ่ง
05:04 การหาประโยชน์จากแผ่นดินจีน
07:21 การทวงคืนเกาะฮ่องกง
Brand Journey เอพิโสดนี้ จะคุยถึงแบรนด์แฟชั่นชื่อดังระดับโอต์กูตูร์ แต่ยังมีความป๊อปแมสอยู่ของ Giorgio Armani อดีตนักเรียนแพทย์ที่พลิกตัวมาสร้างแบรนด์เสื้อผ้าตามชื่อของเขา ธุรกิจเสื้อผ้าผู้ชายที่กลายมาเป็นแบรนด์เสื้อผ้าชั้นสูงสำหรับทุกคนดังไกลทั่วโลกในปัจจุบัน
Time Index
00:00 Start
02:06 Introduce
03:29 John A. Macready
04:15 Ray-Ban
05:44 จุดเริ่มต้นแห่งความนิยม
07:08 การเปลี่ยนมือสู่ Essilor Luxottica
Umbro แบรนด์เครื่องกีฬาสัญชาติอังกฤษที่ปรากฏตัวในเกมฟุตบอลระดับท็อป จนสามารถสร้างชื่อของแบรนด์ Umbro ให้เป็นที่รู้จักแก่วงการฟุตบอลระดับโลก ก่อนที่จะเกิดวิกฤตกลายเป็นแบรนด์ดังยอดขายไม่ดี เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนมือผู้นำกิจการสู่ Iconix Brand Group ผู้ถือได้ว่าเป็นผู้บริหารและพัฒนา Umbro ให้ยังคงเป็นแบรนด์แนวหน้าในตลาดฟุตบอลอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
Time Index
00:00 Start
02:19 Introduce
02:38 Umbro
04:01 การปรากฏตัวในเกมฟุตบอลระดับท็อป
04:49 การสร้างชื่อของแบรนด์ Umbro
06:14 การเปลี่ยนมือผู้นำกิจการ
ครั้งแรกของรายการ 8 Minute History ในการไลฟ์ยาวๆ ต่อเนื่องเกือบ 80 นาที เอพิโสดนี้จะพาไปฟังประวัติศาสตร์อเมริกาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อหาคำตอบว่าทำไมอเมริกาถึงยิ่งใหญ่มาถึงปัจจุบัน
Ray-Ban แบรนด์แว่นตาระดับโลกที่ถูกพัฒนาจากอุปกรณ์การทหารมาสู่วัฒนธรรมป๊อป โดยจุดเริ่มต้นเกิดจากนักบินกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา John A. Macready ได้ริเริ่มไอเดียการผลิตเเว่นตาสำหรับนักบินโดยเฉพาะ จนกระทั่งพัฒนาเป็นแบรนด์แว่นตาอย่าง Ray-Ban ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา จนในที่สุดบริษัทยักษ์ใหญ่ EssilorLuxottica ได้เข้าซื้อกิจการและนำ Ray-Ban ขึ้นสู่แบรนด์ไอคอนิกทั้งในโลกอะนาล็อกและโลกดิจิทัลจนถึงปัจจุบัน
Time Index
00:00 Start
02:06 Introduce
03:29 John A. Macready
04:15 Ray-Ban
05:44 จุดเริ่มต้นแห่งความนิยม
07:08 การเปลี่ยนมือสู่ EssilorLuxottica
การเปิดเผยข้อมูลเอกสารลับ ‘The Panama Papers’ เป็นหนึ่งเหตุการณ์สะเทือนโลกของ John Doe หนึ่งใน Leaktivism โดยเอกสารลับดังกล่าวได้เปิดเผยรายชื่อบริษัทขนาดใหญ่ นักการเมือง และบุคคลสาธารณะระดับโลก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปกปิดสินทรัพย์จำนวนมหาศาลเพื่อเลี่ยงภาษี รวมถึงการกระทำผิดกฎหมายอย่างการฟอกเงิน และสิ่งนี้คือการตอกย้ำความสำคัญของ Data Journalism เพื่อสร้างความโปร่งใสมากขึ้นแก่สังคมในทุกระดับ
Time Index
00:00 Start
02:19 Introduce
02:51 The Panama Papers
04:55 John Doe
05:17 Mossack Fonseca
07:27 การเปิดเผยข้อมูลเอกสารลับ
Edward Snowden หนึ่งใน Leakivist อดีตนักวิเคราะห์ข่าวกรองชาวอเมริกัน ที่ค้นพบการสอดแนมของรัฐบาลอเมริกาผ่านหน่วยงาน ‘NSA’ และเปิดเผยหลักฐานโครงการ ‘XKeyscore’ ให้ทั่วโลกได้ทราบถึงการสอดแนมพลเมืองอเมริกาและผู้นำระดับโลก ถือเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่สั่นสะเทือนไปทั่วโลก ในการท้าทายอำนาจสหรัฐอเมริกาและสร้างความโปร่งใสในฐานะประชาชน
Time Index
00:00 Start
01:30 Introduce
01:56 Edward Snowden
02:48 การสอดแนมพลเมืองอเมริกา
03:14 การเปิดโปงหน่วยงาน NSA
08:05 สหรัฐอเมริกาสอดแนมผู้นำโลก
Data Journalism ถือเป็นเครื่องมือสื่อในโลกยุคใหม่ที่สั่นสะเทือนรัฐบาลมหาอำนาจ อย่างเว็บไซต์สำนักข่าว WikiLeaks ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนในประวัติศาสตร์จากการเปิดโปงการสอดแนม การใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุของทหารของสหรัฐอเมริกา และการกระทำผิดขององค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก ด้วยกลไกของสื่อมวลชนและชุดข้อมูลชั้นความลับระดับสูงสุดที่ไม่เคยปรากฏแก่โลกสาธารณะ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่โลกแห่งความเป็นธรรม
Time Index
00:00 Introduce
03:15 WikiLeaks
06:11 การเปิดโปงสหรัฐเอมริกา
08:14 Julian Assange
ศตวรรษที่ 20 อุตสาหกรรมรองเท้าในอเมริกาเติบโตอย่างก้าวกระโดด และเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเข้ารองเท้าจากประเทศญี่ปุ่นอย่างแบรนด์ Onitsuka Tiger ซึ่งเป็นต้นกำเนิดและแรงบันดาลใจแก่บริษัท Nike ให้จัดตั้งขึ้น จนกระทั่งสามารถสร้างจุดยืนท่ามกลางตลาดกีฬาโลก รวมทั้งยังเป็นแบรนด์เครื่องกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในเวลานี้อีกด้วย
Time Index
00:00 Introduce
02:45 การนำเข้ารองเท้าจากประเทศญี่ปุ่น
05:47 กำเนิดแบรนด์ Nike
07:57 การสร้างจุดยืนท่ามกลางตลาดกีฬาโลก
หลังจากรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ และสยามประเทศถูกรุกรานจากจักรวรรดินิยม เป็นเหตุให้เกิดกุศโลบายทางการทูต นำไปสู่เส้นทางการเจริญสัมพันธไมตรียังประเทศมหาอำนาจ เพื่อสร้างจุดยืนที่มั่นคงให้แก่สยามประเทศท่ามกลางภัยคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคม
Time Index
00:31 เส้นทางการเจริญสัมพันธไมตรี
01:39 เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศรัสเซีย
03:25 เสด็จพระราชดำเนินไปยังสหราชอาณาจักร
04:14 เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศเยอรมัน
05:10 เสด็จพระราชดำเนินไปยังสาธารณรัฐฝรั่งเศส
หลังสงครามนโปเลียนสิ้นสุด การแผ่ขยายอำนาจจักรวรรดินิยมได้รุกรานผ่านทวีปยุโรปเข้าสู่ทวีปเอเชีย ก่อให้เกิดการพัฒนาสยามให้ทันสมัยผ่านวิสัยทัศน์อันก้าวไกลของรัชกาลที่ 5 และยกระดับการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจ เพื่อลดอิทธิพลข้อพิพาทปักปันเขตแดนกับจักรวรรดินิยม เพื่อรักษาซึ่งเอกราชของดินแดนสยามให้คงอยู่
Time Index
00:00 Introduce
01:00 การแผ่ขยายอำนาจจักรวรรดินิยม
03:29 พัฒนาสยามให้ทันสมัย
05:25 การกระชับความสัมพันธ์กับมหาอำนาจ
07:14 ข้อพิพาทปักปันเขตแดน
แนวคิดความเท่าเทียมในทุกชนชั้นของสังคมเป็นอิทธิพลของลัทธิมาร์กซิสต์ที่ทรงอิทธิพลผ่านกระบวนการคอมมิวนิสต์ไปยังประเทศเยอรมนีและประเทศอิตาลี และยังคงรากฐานทางสังคมในประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งแผ่ขยายไปอีกหลากหลายประเทศ กล่าวได้ว่ามาร์กซิสต์เป็นแนวคิดพื้นฐานของสังคมเพื่อให้โลกได้ตระหนักถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยปราศจากการกดขี่อย่างไม่เป็นธรรมในสังคม
Time Index
00:00 Introduce
00:27 แนวคิดความเท่าเทียมทุกชนชั้น
02:01 อิทธิพลมาร์กซิสต์ในรัสเซียและจีน
03:00 คอมมิวนิสต์ในเยอรมนีและอิตาลี
05:23 มาร์กซิสต์แนวคิดพื้นฐานของสังคม
หลังศตวรรษที่ 19 บริบทสังคมยุโรปอยู่ในช่วงพัฒนาเศรษฐกิจ ปฏิวัติอุตสาหกรรม และการล่าอาณานิคม ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาปรัชญา Karl Marx เพื่อนำไปสู่การวางรากฐานที่สำคัญทางความรู้และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาสังคมอย่างเท่าเทียมในปัจจุบัน
Time Index
01:31 บริบทสังคมยุโรป
03:28 พื้นฐานปรัชญา Karl Marx
04:01 แนวคิดจากปรัชญาเยอรมัน
06:09 แนวคิดสังคมนิยมแบบฝรั่งเศส
10:15 แนวคิดเศรษฐกิจแบบอังกฤษ
เมดเลย์เอพิโสดนี้รวบรวมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของกลุ่มมาเฟียในสังคม จนนำไปสู่การปฏิรูปองค์กรยุติธรรม เพื่อคานกับอำนาจของผู้มีอิทธิพลเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี อเมริกา ฮ่องกง ต่างก็มีกระบวนการกวาดล้างที่น่าสนใจ ส่งผลให้คนสังคมส่วนใหญ่ได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและเป็นธรรม
Time index
00:00 ต้นกำเนิดมาเฟียอิตาลี สู่การกวาดล้างในปัจจุบัน
07:40 มาเฟียอิตาลีบุกนิวยอร์ก กำเนิดอเมริกันมาเฟีย
17:22 กระบวนการยุติธรรมในอเมริกา สู่การกวาดล้างอิทธิพลมาเฟีย
24:00 ปฏิรูปตำรวจฮ่องกง เพราะทุกอย่างคือคอร์รัปชัน
ประเทศไทยมีความหลากหลายทางสังคมหรือ ‘พหุวัฒนธรรม’ จึงเกิดการผสมผสานกันระหว่างพุทธกับไสย จนกระทั่งชาวตะวันตกหลั่งไหลเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเหตุให้เกิดการยกระดับประเทศให้ทันสมัย ล้มล้างความเชื่อที่งมงาย และบิดเบือนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา แต่ความเชื่อเรื่องการทรงเจ้าเข้าผียังคงแพร่หลายอยู่ในความเชื่อของคนไทยจวบจนปัจจุบัน
ในขณะที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายเรื่องราวลี้ลับเหล่านี้ได้ ความเชื่อที่ถูกส่งต่อรุ่นสู่รุ่นจะเป็นอย่างไร สามารถติดตามได้จาก ‘ร่างทรง’ หนังสยองขวัญเรื่องล่าสุดจาก GDH เตรียมเข้าร่าง พร้อมเข้าโรง 28 ตุลาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ
#ร่างทรง #RangZong #TheMediumMovie #8minutehistory #TheStandardPodcast
Time Index
00:00 Introduce
01:00 สังคมพหุวัฒนธรรม
02:50 การอยู่ร่วมกันระหว่างพุทธกับไสย
04:05 ยกระดับประเทศให้ทันสมัย
08:12 พื้นที่วิถีความเชื่อท้องถิ่นในไทย
เมดเลย์เอพิโสดนี้รวบรวมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับอเมริกา เพื่อไขข้อสงสัยว่า ทำไมอเมริกาถึงเป็นประเทศมหาอำนาจที่ทั้งโลกต้องจับตาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
Time index
00:00 กำเนิด Space Race สงครามอวกาศสุดเดือด อเมริกา vs. โซเวียต
13:00 Space Race จากสงคราม สู่การพัฒนากิจการอวกาศของคนทั้งโลก
25:10 ที่มาสงครามกลางเมืองอเมริกา เลิกทาสสู่ความเท่าเทียมทั้งสังคม
36:07 ชนวนเหตุสงครามกลางเมือง สู่อิสรภาพของรัฐทาสในอเมริกา
45:00 ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศผู้ถูกรุกรานจากมหาอำนาจโซเวียต
54:00 มาเฟียอิตาลีบุกนิวยอร์ก กำเนิดอเมริกันมาเฟีย
01:00:00 กระบวนการยุติธรรมในอเมริกา สู่การกวาดล้างอิทธิพลมาเฟีย
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก และได้เงินสนับสนุนจาก ‘Marshall Plan’ จึงเป็นโอกาสเติบโตของเครือข่ายเศรษฐกิจใหม่ในญี่ปุ่น ต่อมาแบรนด์ Sony ได้ถือกำเนิดขึ้นและแจ้งเกิดบนเวทีโลก โดยเฉพาะการถือกำเนิดของ Sony Walkman ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนค่านิยมใหม่ในการจ้างงานในญี่ปุ่น และครองตำแหน่งผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำระดับโลกจวบจนปัจจุบัน
Time Index
00:00 Introduce
02:22 กำเนิดเครือข่ายเศรษฐกิจใหม่ในญี่ปุ่น
03:39 ก่อตั้งแบรนด์ Sony จากประเทศญี่ปุ่น
05:47 การแจ้งเกิดของ Sony ในเวทีโลก
09:04 ค่านิยมใหม่ในการจ้างงานในญี่ปุ่น
ยุคสมัยเฉียนหลงคือหนึ่งในยุคทองของประเทศจีน แต่การฉ้อโกงในราชสำนักบั่นทอนความแข็งแกร่งของต้าชิง ซึ่งในขณะนั้นการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างสหราชอาณาจักรกับจีนไม่เป็นผล จึงนำไปสู่การเข้าเฝ้าของราชทูตแม็กคาร์ตนีย์ด้วยวิถี ‘Genuflect’ ซึ่งนับเป็นช่องทางให้สหราชอาณาจักรได้ล่วงรู้ถึงจุดอ่อนของประเทศจีน และถือเป็นหนึ่งในต้นตอของฉนวนสงครามฝิ่น สงครามที่นำไปสู่ความร่วงโรยของประเทศมหาอำนาจจีนในอีก 40 ปีถัดมา
Time Index
00:00 Introduce
00:42 สาเหตุแห่งการร่วงโรยจักรวรรดิต้าชิง
01:45 การขยายอาณานิคมสหราชอาณาจักร
04:03 การเข้าเจรจาทางการทูตระหว่างจีนและอังกฤษ
07:42 การเปิดโปงจุดอ่อนจักรวรรดิต้าชิง
สงครามโลก ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก เมดเลย์เอพิโสดนี้จะพาไปย้อนรอย 10 เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในหลากหลายประเทศ ทั้งในฝั่งซีกโลกตะวันตกมาจนถึงโลกตะวันออกที่เราอาศัยอยู่
Time index
00:00 สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำไมฮิตเลอร์แพ้สงคราม?
08:08 ประวัติศาสตร์คลองสุเอซ ทำไมเรือขวางลำเดียวสะเทือนทั้งโลก
16:34 ทำไมคนเยอรมันถึงเคยเชิดชูฮิตเลอร์? นายกฯ ในร่างอสุรกาย
25:12 ใครทำอังกฤษล่มสลาย จุดจบของจักรวรรดิสู่ประเทศหมู่เกาะในปัจจุบัน
34:00 สงครามเวียดนาม ทำไมชาติเดียวถึงรบกันเอง ฝ่ายไหนชนะ?
42:42 รวมประเทศเยอรมนี พังกำแพงเบอร์ลิน สร้างความเท่าเทียมทั่วประเทศ
51:55 เส้นทางประชาธิปไตยในฝรั่งเศส การเมืองซีเรียสเกินกว่าจะอยู่ในมือนักการเมือง
1:02:13 สิ้นสุดจักรวรรดิญี่ปุ่น มหาอำนาจที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย
1:12:15 ออโตบาห์น ถนนของประชาชน สู่ทางหลวงที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก
1:24:00 ปฏิบัติการอาแจกซ์ ปฐมบทปฏิวัติอิหร่าน
พระจักรพรรดิเฉียนหลง ผู้ที่ครองราชย์ยาวนานเป็นอันดับ 2 ของประเทศจีน มีอายุยืนยาวถึง 88 ปี จึงทำให้รัชสมัยเฉียนหลงเกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงหลากหลายเหตุการณ์ในการขยายดินแดนของจักรวรรดิแมนจูไปในเอเชียกลาง จนนับว่าเป็นรัชสมัยที่มีความแข็งแกร่งและมีอาณาเขตที่ยิ่งใหญ่ใกล้เคียงกับประเทศจีนในปัจจุบัน
พาไปดูการเดินทางของแบรนด์โทรศัพท์มือถือสัญชาติฟินแลนด์อย่าง ‘Nokia’ ผู้บุกเบิกการพัฒนาเครื่องมือสื่อสารเป็นเจ้าแรกๆ ของโลก ประวัติศาสตร์การพัฒนาของโทรศัพท์มือถือรุ่นแรกไปจนยุคทองของ Nokia จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ใน 8 Minute Brand Journey เอพิโสดนี้
Time Index
00:00 Introduce
00:52 ประวัติโนเกียในยุคแรก
03:26 ยุคกิจการคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์
05:06 โทรศัพท์เครื่องแรก Mobira Cityman 900
07:35 โทรศัพท์ GSM เครื่องแรก
สงครามถือเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสังคมให้ไปข้างหน้า รวมมิตรประวัติศาสตร์เอพิโสดนี้ จะพาไปฟังประวัติศาสตร์สงครามโลกที่ไม่สิ้นสุด ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน สงครามระหว่างประเทศก็ยังดำเนินต่อไป ร้อนแรงอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะผ่านมาแล้วกี่ปี
Time index
00:00 จากปัญหาระหว่างหมู่ญาติ สู่ สงครามโลกครั้งที่ 1
08:01 สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำไมฮิตเลอร์แพ้สงคราม?
16:17 สิ้นสุดจักรวรรดิญี่ปุ่น มหาอำนาจที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย
26:21 หนึ่งประเทศ แตกเป็นสอง เพราะสงครามเย็น กระดานหมากรุกมหาอำนาจ
34:26 สงครามเวียดนาม ทำไมชาติเดียวถึงรบกันเอง ฝ่ายไหนชนะ?
43:09 ไทยเดือด ท่ามกลางสงครามเย็น สู่จุดเริ่มต้นสันติภาพในอินโดจีน
51:03 อิสราเอลกับปาเลสไตน์ สงครามจบ แต่ความขัดแย้งไม่จบ
59:28 สงครามอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่ไม่รู้จบ
01:09:22 กำเนิด Space Race สงครามอวกาศสุดเดือด อเมริกา vs. โซเวียต
เอพิโสดนี้จะพาไปดูการเดินทางของรถยนต์ Rolls-Royce แบรนด์หรูระดับโลกที่ครั้งหนึ่งเคยถูกขายทิ้ง เนื่องจากอนาคตของแบรนด์ไม่เติบโต ก่อนจะถูกแย่งชิงโดยสองบริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่จากประเทศเยอรมนี และนำไปสู่การทวงคืนตำแหน่งยนตรกรรมที่หรูที่สุดแบรนด์หนึ่งของโลกอีกครั้งถึงปัจจุบัน
Time Index
00:00 Introduce
01:25 จุดเริ่มต้นของการผลิตรถที่หรูที่สุดในโลก
02:34 จุดตกต่ำของรถแบรนด์หรู
05:32 ศึกการแย่งชิงแบรนด์ Rolls-Royce
10:33 การเปลี่ยนมือผู้ผลิต Rolls-Royce
หลังจากมีการขยายอำนาจของมาเฟียในอเมริกา เอพิโสดนี้จะพาไปดูกระบวนการยุติธรรมของสหรัฐอเมริกาในการกวาดล้างอิทธิพลมาเฟีย จนทำให้เกิดสังคมที่มีการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น และถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคอเมริกันมาเฟีย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
Time Index
00:00 Introduce
00:48 การเริ่มต้นกวาดล้างอเมริกันมาเฟีย
02:13 ความร่วมมือระหว่างกองทัพอเมริกาและมาเฟีย
04:37 Operation Underworld
เมดเลย์ 8 Minutes History อีพีนี้ พาย้อนรอยประวัติศาสตร์ของดินแดนมังกร ประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 5,000 ปี ซึ่งมีการสั่งสมอำนาจ ไปจนถึงการล่มสลายของราชศ์วง และรอยบอบช้ำแห่งประวัติศาสตร์จะมีอะไรบ้าง ก่อนกลายมาเป็นเบ้าหลอมสำคัญที่ทำให้ประเทศจีนขึ้นแท่นมหาอำนาจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน
Time Index
00:00 สามก๊ก เริ่มและจบอย่างไร ใน 8 นาที
08:11 เจงกิสข่านทำอย่างไรให้มองโกล เผ่าพันธุ์เล็กๆ กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่
16:52 เจงกิสข่านและลูกหลาน กุบไลข่านกับภารกิจขยายมองโกล
25:02 จักรพรรดิคังซี ยุวจักรพรรดิแห่งกรุงปักกิ่ง
34:50 ศึกสายเลือด แย่งชิงบัลลังก์พระจักรพรรดิคังซี
45:10 สรุป ประวัติศาสตร์จีน ผ่านภาชนะ 3 ใบ ทำไมจีนแพ้สงครามฝิ่น
53:10 ซูสีไทเฮา ชนวนสุดท้ายก่อนสิ้นสุดราชวงศ์ชิง
01:01:42 ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนผู้น่าสงสาร
เมื่อการย้ายถิ่นฐานของชาวยุโรปที่หวังมีชีวิตที่ดีกว่าในอเมริกา กลับเป็นจุดเริ่มต้นให้เหล่ามาเฟียอิตาลีขยายอิทธิพลเถื่อนไปทั่วสหรัฐอเมริกา ก่อตัวเป็นปัญหาการกระทำผิดกฎหมายของแหล่งอิทธิพลมืด และดึงสังคมอเมริกาเข้าสู่ยุคแห่งอเมริกันมาเฟียโดยสมบูรณ์
Time Index
00:00 Introduce
00:37 การย้ายถิ่นฐานของชาวยุโรป
02:05 อเมริกันมาเฟียขยายตัว
05:07 ยุคเบ่งบานของมาเฟีย
08:07 อำนาจมาเฟียปกคลุมอเมริกา
เมื่อสังคมฮ่องกงในยุค 1970 ไม่ว่าประชาชนจะทำอะไร จำต้องมีค่าน้ำชาให้แก่เจ้าหน้าที่เสมอ มาเฟียเป็นเพื่อนกับตำรวจ ตำรวจเอื้ออำนวยผลประโยชน์ให้กับมาเฟีย ความเน่าเฟะเหล่านี้จึงนำไปสู่การปฏิวัติโครงสร้างระบบตำรวจครั้งใหญ่ในฮ่องกง โดยมีหน่วยงานของรัฐบาลอังกฤษเข้าจัดการภายใต้หน่วยงาน ‘ICAC’ ที่สามารถนำพาองค์กรตำรวจฮ่องกงไปสู่องค์กรตำรวจที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
Time Index
00:00 Introduce
01:21 สภาพสังคมคอร์รัปชันในฮ่องกง
02:23 การยกระดับองค์กรตำรวจฮ่องกง
05:38 การสั่นคลอนวงการคอร์รัปชัน
08:08 ปฏิรูปวงการตำรวจฮ่องกง
แบรนด์รองเท้าสัญชาติเช็กที่สร้างประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานทั่วโลกกว่า 125 ปี แบรนด์รองเท้าที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วยวิสัยทัศน์อันก้าวไกลของผู้บริหารตระกูล ‘Bata’ ทำให้ธุรกิจรองเท้าผ่านช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้ง รวมถึงสงครามเย็นมาได้อย่างสง่างามจวบจนปัจจุบัน
Time Index
00:00 Introduce
01:09 การก่อตั้งเเบรนด์ Bata
02:50 สงครามโลกครั้งที่ 1
04:41 สงครามโลกครั้งที่ 2
08:57 ธุรกิจ Bata ในสงครามเย็น
ต่อจากเอพิโสดที่แล้ว หลังจากสงครามเย็นได้จบลง โซเวียตถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน แต่สงครามกลางเมืองยังคงดำเนินต่อเนื่องระหว่างกลุ่มมุจญาฮิดีนที่ถูกหนุนหลังโดยสหรัฐอเมริกา และกลุ่มตาลีบันที่มีการสนับสนุนจากกลุ่มอัลกออิดะห์ ที่มีความต้องการต้านทานการขยายอำนาจของสหรัฐอเมริกา จนทำให้อัฟกานิสถานซึ่งเคยเป็นประเทศที่มีสันติภาพ กลับกลายเป็นประเทศที่ไม่เคยสิ้นเสียงปืนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
Time Index
00:00 Introduce
01:46 กลุ่มมุจญาฮิดีน VS กลุ่มตาลีบัน
03:23 กลุ่มปฎิบัติการช้ามชาติ อัลกออิดะห์
05:58 War on terror
09:31 operation Neptune Spear
10:34 กลุ่มตาลีบันยึดเมืองหลวง
เอพิโสดนี้จะพาไปย้อนประวัติศาสตร์สมัยก่อนสงครามของอัฟกานิสถาน ประเทศศูนย์กลางของเอเชีย ซึ่งเป็นทางผ่านของเส้นทางสายไหม ก่อนที่จะมีการรุกรานของประเทศมหาอำนาจโซเวียตในยุคสงครามเย็น กลายมาเป็นสงครามระหว่างอเมริกาและโซเวียต โดยใช้พื้นที่ใจกลางเมืองอัฟกานิสถานเป็นสมรภูมิรบ จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความวุ่นวายในปัจุบัน
Time Index
00:00 Introduce
00:37 เส้นทางสายไหม
03:23 การเจริญสัมพันธไมตรีช่วงสงครามเย็น
06:35 สหภาพโซเวียตรุกรานอัฟกานิสถาน
06:54 ภูมิศาสตร์อัฟกานิสถาน
09:23 Operation Cyclone
ภายหลังการตรากฎหมาย Fugitive Slave Act ศาลภายในอเมริกามีการตีความกฎหมายดังกล่าวที่ขัดแย้งกันในแต่ละรัฐ อันเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงเกิดขึ้นในกลุ่ม ‘Abolitionist’ จนนำไปสู่ความแตกหักของรัฐอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ และการก่อตั้งรัฐใหม่ สมาพันธรัฐอเมริกา (C.S.A.)
ความวุ่นวายดังกล่าวขยายตัวใหญ่ขึ้นจนเกิดสงครามกลางเมือง จนกระทั่งเกิดความสูญเสียกว่าสองแสนชีวิต ก่อนสงครามกลางเมืองได้จบลง เหล่าทาสในอเมริกาได้รับอิสรภาพกลายเป็นเสรีชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
Time Index
00:25 ความไม่ลงรอยในกฎหมาย fugitive slave act
03:39 ก่อกำเนิดสมาพันธรัฐอเมริกา(C.S.A.)
05:09 การยกเลิกทาสในรัฐใหม่
05:53 สงครามกลางเมือง
07:27 ยกเลิกทาสสู่การเป็นเสรีชน
เมดเลย์ 8 Minutes History อีพีนี้ พาย้อนรอยประวัติศาสตร์ของหลายประเทศที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ท่ามกลางความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ความแตกต่างทางความคิด และความเชื่อทางศาสนา สู่การปฏิวัติและปฏิรูปโครงสร้างทางสังคม ระบอบการปกครองใหม่ ของประเทศสำคัญทั่วโลก
Time Index
00:00 จักรวรรดิรัสเซีย ประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่กว่าพื้นที่ประเทศ
09:10 เมื่อรัสเซียต้องปฏิรูป ราชวงศ์โรมานอฟก็จบสิ้น
21:12 ซูสีไทเฮา ชนวนสุดท้ายก่อนสิ้นสุดราชวงศ์ชิง
30:11 ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนผู้น่าสงสาร
39:04 ทำไมจักรวรรดิอังกฤษ ถึงเคยยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
47:20 ใครทำอังกฤษล่มสลาย จุดจบของจักรวรรดิสู่ประเทศหมู่เกาะในปัจจุบัน
56:34 ปฏิรูปเมจิ ปฏิวัติโครงสร้างทางสังคม สู่ญี่ปุ่นสมัยใหม่
01:05:17 สิ้นสุดจักรวรรดิญี่ปุ่น มหาอำนาจที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย
01:15:49 อาณาจักรออตโตมัน จากมหาอำนาจสู่คนป่วยแห่งยุโรป
01:29:10 มุสตาฟา เคมาล ผู้นำปฏิรูปออตโตมันสู่สาธารณรัฐตุรกี
01:45:23 ปฏิบัติการอาแจกซ์ ปฐมบทปฏิวัติอิหร่าน
01:55:54 ชาห์และอยาโตเลาะห์ จุดแตกหัก ปฏิวัติอิหร่านสู่ระบอบสาธารณรัฐ
หลังจากอเมริกาได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษไม่นาน ได้เกิดสงครามกลางเมืองในอเมริกา จนกระทั่งมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้
เนื่องจากรัฐทางตอนเหนือหรือกลุ่ม ‘Abolitionist’ ต้องการยกเลิกแรงงานทาสเพื่อสิทธิมนุษยชน ส่วนรัฐทางตอนใต้ต้องการให้มีทาสเพื่ออุตสาหกรรมฝ้าย ความขัดแย้งนี้พัฒนาเป็นสงครามยืดยาวกว่า 4 ปี ก่อนจะได้มาซึ่งอิสรภาพของแรงงานในอเมริกาและความเท่าเทียมของคนทั้งประเทศ
Time Index
00:00 Introduce
01:55 การขยายอาณาเขตอเมริกา
04:06 จุดเริ่มต้นชนวนสงครามทาส
07:01 เริ่มความขัดแย้งล้มล้างระบอบทาส
08:49 การหนีทาสของแรงงานอเมริกาใต้
ความขัดแย้งของขั้วอำนาจในประเทศอิหร่านระหว่างพระเจ้าชาร์และอยาโตเลาะห์ที่นำประเทศสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากประเทศที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์สู่การกุมอำนาจเบ็จเสร็จของพระเจ้าชาร์ นำความไม่พอใจแก่ประชาชนหลายกลุ่ม จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบการปกครองสาธารณรัฐอิสลามสืบมาจนถึงปัจจุบัน
Time Index
00:00 Introduce
00:53 ปฏิวัติสีขาว
04:07 การเนรเทศอยาโตเลาะห์
06:51 การเสื่อมความนิยมของพระเจ้าชาร์
10:47 การขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอยาโตเลาะห์
เอพิโสดนี้จะพาไปดูความขัดแย้งของขั้วอำนาจภายในประเทศอิหร่าน ระหว่างพระเจ้าชาห์ และกลุ่มอยาโตเลาะห์ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากที่เคยเป็นพันธมิตรกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก สู่การเป็นเหยื่อทางผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ สองประเทศยักษ์ใหญ่ที่พยายามแทรกแซงอำนาจเหนืออิหร่าน และสูบทรัพยากรธรรมชาติของอิหร่านให้ได้มากที่สุด
Time Index
00:00 Introduce
01:22 เริ่มต้นกิจการน้ำมันระหว่างประเทศ (APOC)
02:21 เครื่องมือในสงครามโลกครั้งที่ 2
04:31 ทวงคืนผลประโยชน์ประเทศอิหร่าน
06:29 เริ่มต้นศึกแย่งน้ำมัน (operation Ajax & Boot)
ประเทศเยอรมนีมีถนนออโตบาห์น ถนนหลวงที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก แข็งแกร่งกว่ามอเตอร์เวย์สหรัฐอเมริกาถึง 4 เท่า ยาวกว่า 3,800 กิโลเมตร
ถนนเส้นนี้เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์อันสำคัญ เพราะเป็นเครื่องมือของเยอรมันในการเคลื่อนพลทหารสู่สงครามโลกครั้งที่สอง สู่การเป็นผู้นำยานยนต์ระดับโลกในปัจจุบัน
Time Index
00:00 Introduce
02:09 ทำไมต้องสร้างออโตบาห์น
04:36 การผับเก็บโครงการออโตบาห์น
05:46 ความสัมพันธ์ระหว่างฮิตเลอร์และออโตบาห์น
08:48 ความสำคัญของออโตบาห์นในปัจจุบัน
เอพิโสดนี้จะพาทุกคนย้อนอดีตประวัติศาสตร์ไทย ผ่านการเปรียบเทียบช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ซึ่งนับโดย ‘พุทธศักราช’ และ ‘คริสต์ศักราช’ ว่าเกิดเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์โลกอย่างไรบ้าง
การศึกษาประวัติศาสตร์ย่อมต้องเกี่ยวเนื่องกับช่วงเวลาของแต่ละยุคสมัย แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า ก่อนยุคสมัยจะเริ่มขึ้นและดำเนินไปไม่สิ้นสุด ก่อนที่จะมีการบันทึกเรื่องราวลงในประวัติศสาตร์ ย่อมต้องมีฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนวันเวลาให้วิ่งไปนั้นก็คือ ‘ปฏิทิน’ ที่มีประวัติยาวนานมาเป็นพันปี
เราจะพาทุกท่านย้อนกลับไปยังยุคจักรวรรดิโรมันอันยิ่งใหญ่ ที่เป็นต้นตอของฟันเฟืองสำคัญอย่าง ‘ปฏิทินจูเลียน’ และ ‘ปฏิทินเกรกอเรียน’ เฟืองแรกเริ่มแห่งการนับวันเวลาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ที่เป็นรากฐานอันสำคัญของการเดินทางประวัติศาสตร์โลกจากอดีตสู่ปัจจุบัน
หลังจากตุรกีพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 วีรบุรุษสงครามผู้มีส่วนสำคัญในการเชื่อมอาณาจักรออตโตมันมาสู่สาธารณรัฐ คือ มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก ประธานาธิบดีคนแรก ปฏิรูปประเทศ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้าน เช่น ให้สิทธิการเลือกตั้งแก่สตรี ปฏิรูปการศึกษา ภาษา การแต่งกาย รวมไปถึงด้านศาสนา การปรับโครงสร้างสังคมทั้งหมดด้วยการล้มล้างสถาบันสุรต่านมาสู่การปกครองแบบสาธารณรัฐ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบโลกตะวันตกให้มากที่สุด และทำให้ตุรกีกลายเป็นประเทศที่มีความสำคัญในหลายมิติในปัจจุบัน
อาณาจักรออตโตมันเคยเป็นพื้นที่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เพราะเป็นชุมทางแห่งวัฒนธรรม มีพื้นที่ที่คาบเกี่ยวถึง 3 ทวีป ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา มีการขยายอำนาจ แย่งชิงพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางทางอารยธรรมอย่างกรุงคอนแสตนติโนเปิล และแข็งแกร่งที่สุดในสมัยจักรพรรดิสุลัยมาน
แต่หลังจากแพ้สงครามอาซอฟ อาณาจักรออตโตมันก็เริ่มอ่อนแอลง จนได้รับสมญานามว่า ‘คนป่วยแห่งยุโรป’ ท้ายที่สุดเกิดการปฏิรูปโดยกลุ่มยังเติร์ก และเข้าสู่จุดจบของจักรวรรดิในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อนจะกลายมาเป็นตุรกีที่เรารู้จักในปัจจุบัน
8 Minutes History เมดเลย์อีพีนี้เราจะพาไปดูเส้นทางการต่อสู้ในหลักการประชาธิปไตย ในแต่ละประเทศก่อนจะได้รับชัยชนะ ต้องผ่านการเปลี่ยนแปลง วิกฤต และอุปสรรคอะไรบ้างก่อนที่ประเทศนั้นจะได้รับ ‘ประชาธิปไตย’ ที่พวกเขาต้องการ
Time Index
00:00 ประชาธิปไตย สไตล์ฝรั่งเศส Part I
07:58 ประชาธิปไตย สไตล์ฝรั่งเศส Part II
18:44 ประชาธิปไตยแบบนาซี สาธารณรัฐไวมาร์
33:10 นาซีกระชับอำนาจกองทัพ เหนือประชาธิปไตย
44:02 เวียดนามเหนือ vs. เวียดนามใต้ ฝ่ายไหนชนะ?
53:13 ‘ทุ่งสังหาร’ สู่เขมร 4 ฝ่าย
01:02:09 ไทยเดือดท่ามกลางสงครามเย็น
หลังจากเกิดการแข่งขันด้านกิจการอวกาศระหว่างอเมริกาและโซเวียต จนกระทั่งโซเวียตส่งมนุษย์คนแรกให้ไปก้าวย่างอยู่ในอวกาศ (Space Walk) ส่วนอเมริกาพยายามทวงคืนความยิ่งใหญ่ผ่านภารกิจ Mission to the moon ทำให้ธงชาติอเมริกาถูกปักลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จ
จากการแข่งขันของคนทั้งสองชาติ กลายเป็นความร่วมมือในการพัฒนาโลก จนนำไปสู่การกำเนิดผู้ท้าชิงหน้าใหม่อย่างประเทศจีน ที่ส่งยานจู้หรงไปดาวอังคาร ซึ่งถือเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนให้กิจการอวกาศกลายเป็นสงครามระดับโลก
เคยสงสัยกันไหมว่า ก่อนที่เราจะมีสัญญาณดาวเทียมหรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ได้ใช้อย่างทุกวันนี้มันเกิดอะไรขึ้น วันนี้เราจะพาย้อนเวลาประวัติศาสตร์กิจการอวกาศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างสองชาติมหาอำนาจ อเมริกาและโซเวียต ที่เกิดการแข่งขันอันดุเดือด หรือ Space Race สงครามที่ขับเคลื่อนโลกมายังปัจจุบันนี้ ด้วยพลังอำนาจของอวกาศที่สามารถสร้างทรัพยากรและการเติบโตของเศรษฐกิจได้อย่างมากมายมหาศาลในปัจจุบัน
เอพิโสดนี้จะพาไปดูเรื่องราวของราชวงศ์โรมานอฟ ตั้งแต่การขยายอำนาจจากยุคของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช จักรพรรดินีแคทเธอรีน การพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมากมาย เกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่ายเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม จนไปถึงยุคของพระเจ้านิโคลัสที่ 2 ซาร์ที่ไม่พร้อมรับพระราชภารกิจอันยิ่งใหญ่ ทำให้ประชาชนหมดความศรัทธา เพราะปัญหาเศรษฐกิจ ไปจนถึงปัญหาการพ่ายแพ้สงครามให้กับญี่ปุ่น ก่อนเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นสหภาพโซเวียตในปัจจุบัน
เอพิโสดนี้จะพาเราไปยังจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในโลกอย่างรัสเซีย หรือสาธารณรัฐโซเวียตในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มต้นสมัยราชวงศ์รูริคที่สามารถรวมชาวรุสในบริเวณนั้นและก่อตั้งอาณาจักรรุส ก่อนจะเปลี่ยนถ่ายมาสู่ยุคของราชวงศ์โรมานอฟโดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ซึ่งถือเป็นยุครุ่งเรืองของรัสเซียและเริ่มต้นเป็นมหาอำนาจทั้งยุโรปและเอเชีย ณ ขณะนั้น
เอพิโสดนี้จะพาไปย้อนรอยประวัติศาสตร์การก้าวขึ้นสู่อำนาจสูงสุดของฮิตเลอร์เหนือประชาธิปไตยไวร์มา ผ่านการขยายอำนาจของหน่วยทหาร SS หรือ ชุทซ์ชตัฟเฟิล ที่ต้องจบลงที่จบลงด้วยระบบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
เอพิโสดนี้จะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยในประเทศเยอรมนี ระบบโครงสร้างของรัฐขณะที่ยังเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ ก่อนเปลี่ยนมาเป็นเยอรมนี ณ ปัจจุบัน และจุดเริ่มต้นความยิ่งใหญ่และก้าวสำคัญในการเลือกตั้งของพรรคนาซีเยอรมนี ที่มีผู้นำ ณ ขณะนั้นอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก่อนจะพบจุดจบของประชาธิปไตยไวมาร์
เอพิโสดนี้จะพาไปดูจุดจบของราชวงศ์ชิง ซึ่งถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ก่อนเปลี่ยนระบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ
เรื่องราวของการสืบทอดรัชกาลที่รุ่งเรืองที่สุดอย่างราชวงศ์ชิงจะเป็นอย่างไร ก่อนนำไปสู่จุดเริ่มต้นของการรับวิทยาการจากชาวตะวันตก เริ่มต้นทำสงครามกับอังกฤษและจบสิ้นที่จักรพรรดิปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์
จักพรรดิคังซี หรือพระนามเต็ม อ้ายซินเจฺว๋หลัวเสฺวียนเย่ คือจักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง (แมนจู) แห่งกรุงปักกิ่ง ผู้ถือครองราชเป็นเวลายาวนานกว่า 61 ปี ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิผู้ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน
เอพิโสดนี้จะพาไปเรียนรู้ความเป็นมาและจุดเริ่มต้นของหนึ่งในจักพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน การถือครองอำนาจ ความเฉลี่ยวฉลาด การวางหมากเกมการเมือง วิธีใดที่ทำให้จักรพรรดิองค์นี้สามารถรักษาและปกครองอำนาจได้ยาวนานที่สุด
กิมย้ง หรือ จาเหลียงยง ชาวไต้หวันผู้ประพันธ์วรรณกรรมประวัติศาสตร์ ที่มีท้องเรื่องเป็นเรื่องจริงแล้วเติมตัวละครลงไป จนได้รับสมญานามว่า ‘ภูษาไร้ตะเข็บ’ วรรณกรรมของกิมย้งทั้ง 15 เรื่อง ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแล้วครั้งเล่า เช่น มังกรหยก, แปดเทพอสูรมังกรฟ้า และอุ้ยเสี่ยวป้อ
วรรณกรรมของกิมย้งนอกจากจะมอบความสนุกของท้องเรื่องที่น่าสนใจแล้ว ยังทำให้เราสามารถเข้าใจประวัติศาสตร์จีนได้อย่างลึกซึ้ง จนทำให้ได้รับการยอมรับทั้งจากจีนแผ่นดินใหญ่เอง และรวมไปโลกตะวันตกอีกด้วย
จากจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิญี่ปุ่น สู่ยุคไทโชและยุคโชวะ นั้นแสดงถึงแสนยานุภาพ ทางการทหารและการเมืองของนายกรัฐมนตรี ฟูมิมาโระ โคโนเอะ และ ฮิเดกิ โทโจ ที่ทำให้ญี่ปุ่นทะยานขึ้นไปสู่ความเป็นมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย
จนสามารถก้าวข้ามไปต่อกรกับประเทศยักษ์ใหญ่ของโลก ณ เวลานั้นอย่างสหรัฐอเมริกา แต่ท้ายที่สุดด้วยความทะเยอทะยานที่มากเกินไปของกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ญี่ปุ่นพบกับเหตุโศกนาฏกรรมทางนิวเคลียร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก อย่าง ‘นางาซากิ และฮิโรชิมา’ ซึ่งนั่นถือเป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และยุคเรืองอำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเวทีโลก
เอพิโสดนี้จะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิรูปและปฏิวัติโครงสร้างทางสังคมของญี่ปุ่นสมัยช่วงการเปลี่ยนแปลงจากระบบการปกครองแบบ โชกุนโทกุงาวะ อิเอยาซุ สู่ยุคสมัยใหม่หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อยุคเมจิ และการรับมือกับการล่าอาณานิคมเพื่อแย่งชิงพื้นที่ทางการค้าจากเหล่ามหาอำนาจชาติตะวันตกต่อญี่ปุ่น ซึ่งต่อยอดสู่ความเป็นมหาอำนาจของญี่ปุ่นช่วงจักรวรรดิเมจิ
เอพิโสดนี้จะพาไปดูการเดินทางของ ‘ประชาธิปไตยสไตล์ฝรั่งเศส’ จากสมัยของนโปเลียนที่ 3 ที่พ่ายแพ้สงครามกับเยอรมนี จนนำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐที่ 3 ซึ่งเป็นยุคที่ยืนยาวที่สุดถึง 70 ปี ตามมาด้วยยุคสมัยของ จอมพล ชาร์ล เดอโกล เจ้าของวลีที่ว่า “การเมืองนั้นซีเรียสเกินกว่าที่จะให้อยู่ในมือของนักการเมือง” รัฐบุรุษผู้นำฝรั่งเศสในการต่อสู้กับนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 2 และถือเป็นหนึ่งในผู้ที่วางรากฐานประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพให้ประเทศฝรั่งเศสจนถึงปัจจุบัน
หากพูดถึงต้นแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย คนส่วนใหญ่จะนึกถึงอังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส แต่หนึ่งในประเทศที่มีการเดินทางของประชาธิปไตยที่ล้มลุกคลุกคลานมาอย่างยาวนาน ก็คือประเทศฝรั่งเศส ที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายยุคหลายสมัยจนกว่าจะได้ระบบที่มีเสถียรภาพทางการเมือง
เรื่องราวของจุดเริ่มต้น ‘ประชาธิปไตยสไตล์ฝรั่งเศส’ จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ใน 8 นาทีต่อไปนี้
แก๊งมาเฟีย เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยหลังสงครามนโปเลียน และถูกสืบทอดวัฒนธรรมมาเฟียมาถึงปัจจุบัน จะมีที่มาที่ไปอย่างไร และประเทศอิตาลีใช้วิธีอะไรในการควบคุมแก๊งมาเฟีย สามารถติดตามต่อได้ใน 8 นาทีต่อไปนี้
เอพิโสดนี้จะพาย้อนอดีตไปดูจุดเริ่มต้นที่มนุษย์เริ่มใช้แนวคิดแบบมนุษยนิยมในการวิเคราะห์เหตุและผล รู้จักตั้งคำถามต่อสิ่งที่เคยมีในอดีตว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องจริงหรือไม่? จนนำไปสู่ยุคของการตื่นรู้ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ และเป็นการปฏิรูปศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่ถูกสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
หลังจากที่ เจงกิสข่าน รวบรวมมองโกลและก่อตั้งอาณาจักร ผ่านไป 21 ปี ลูกชายทั้งสี่คนของเจงกิสข่านจึงเข้ามามีบทบาทในการขยายอาณาจักรมองโกล จนในที่สุด กุบไล่ข่าน หลานของเจงกิสข่าน สามารถครอบครองประเทศจีนได้ทั้งแผ่นดิน และสถาปนาตัวตนขึ้นมาปกครองราชวงศ์หยวน ประกาศความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิจีนให้โลกฝั่งตะวันตกรับรู้ผ่านบันทึกของ มาร์โค โปโล
ถึงมองโกเลียเป็นจะเผ่าพันธุ์เล็กๆ แต่เป็นจักรวรรดิที่มีความยิ่งใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกรองจากจักรวรรดิอังกฤษ จากหลายๆ เผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแถบภาคเหนือของประเทศจีน เกิดการรวมตัวกันได้อย่างไร และเจงกิสข่านมีบทบาทอะไร ที่ทำให้มองโกลกลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่จนมีอารยธรรมที่แข็งแกร่งยาวนานถึงปัจจุบัน
บริษัทยา Pfizer และ BioNTech ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมมือกันผลิตวัคซีนโควิด-19 ซึ่งประวัติความเป็นมาของ CEO ทั้งสองบริษัท จะมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไร
เอพิโสดนี้จะพาไปรู้จักชาติกำเนิด และที่มาที่ไปของบุคคลสำคัญในยุคโควิด-19 นี้ ว่า พวกเขาเติบโตและเกี่ยวข้องกับเยอรมนี ประเทศที่เคยมีประวัติศาสตร์สงครามยิ่งใหญ่ในอดีตอย่างไรบ้าง
จากเอพิโสดก่อนหน้านี้ เคยกล่าวถึงสงครามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ที่จบด้วยการพยายามสร้างสันติภาพที่แคมป์เดวิด จนสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพ ต่อมา อันวาร์ เอลซาดัต ถูกลอบสังหารจนเสียชีวิต อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามที่ไม่จบสิ้น
เพราะหลังจากเหตุการณ์นั้น ทำให้เกิดการทำสงครามเพื่อแย่งชิงพื้นที่ของสองฝ่าย มีการทำข้อตกลงเพื่อสร้างสันติภาพ และตามมาด้วยการลอบสังหารผู้นำของอีกฝ่ายอย่างไม่รู้จบ ปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะไม่มีจุดจบของสงครามในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน
หลังเวียดนามขยายอำนาจแนวคิดสังคมนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ สู่ประเทศกัมพูชา ซึ่งตรงกับประเทศไทยสมัยเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ตามลำดับ
ในช่วงภาวะสงครามเย็นนั้น กองทัพเวียดนามพยายามจะรวบรวม สปป.ลาว กัมพูชา และไทย ให้อยู่ภายใต้ระบอบการปกครองสังคมนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยมีบทบาทในการยุติภาวะสงครามเย็นอย่างไร และใช้วิธีการใดในการสร้างสันติภาพในอินโดจีน ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
กัมพูชาถูกแบ่งเป็นหลายฝ่ายในช่วงสงครามเย็น เอพิโสดนี้จะพาไปดูว่าแต่ละฝ่ายมีอะไรบ้าง และแต่ละฝ่ายมีที่ไปที่มาอย่างไรบ้าง
ความขัดแข้งที่เกิดขึ้นของคนในประเทศเป็นอย่างไร จนนำไปสู่การฆ่ากันเองหรือที่เรียกว่า ‘ทุ่งสังหาร’ โดยหวังที่จะปรับโครงสร้างทางสังคม และเปลี่ยนระบบการปกครองจากประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสู่ระบบสาธารณรัฐของแนวคิดสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในเวลาถัดมา
ประเทศเยอรมนีหลังจากถูกแบ่งออกเป็นตะวันออกและตะวันตกในช่วงสงครามเย็น โดยมีกำแพงเบอร์ลินเป็นเส้นแบ่งระหว่างเยอรมนีตะวันออกและตะวันตก หลังจากสงครามเย็นพวกเขาทำไมถึงพร้อมใจกันที่จะรวมชาติเป็นผืนแผ่นเดียวกันและอุปสรรค์ในการรวมชาตินั้นคืออะไร ในเมื่อประเทศเยอรมันมีการปกครองที่แตกต่างกันมาตลอด
ประเทศเยอรมนีเขารวมชาติได้อย่างไร สามารถติดตามต่อได้ใน 8 นาทีต่อไปนี้
เวียดนาม ประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีกองทัพอากาศ แต่สามารถเอาชนะกองทัพฝรั่งเศสที่มีเครื่องบินความยิ่งใหญ่ จนประชาคมโลกยอมรับว่าให้เวียดนามได้รับเอกราช แต่ต้องแบ่งเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้
‘คนในชาติเดียวกัน หันมารบกันเอง’ เพราะอิทธิพลของสงครามเย็น ระหว่างลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ของฝั่งสหภาพโซเวียตและจีน กับเสรีนิยมประชาธิปไตยของทางฝั่งสหรัฐอเมริกา จนทำให้สงครามเวียดนามกินเวลายาวนานถึง 19 ปี
ท้ายที่สุดเวียดนามเหนือเอาชนะเวียดนามใต้ได้อย่างไร เอพิโสดนี้มีคำตอบ
สงครามเย็นเป็นสงครามที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากสองขั้วอำนาจใหม่ ซึ่งก็คือสหรัฐอเมริกากับโซเวียต โดยใช้พื้นที่ของประเทศเยอรมนีเป็นพื้นที่สงครามในการขยายอิทธิพลของตัวเอง โดยประเทศเยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยทั้ง 2 ส่วนใช้คนละระบอบการปกครอง นอกจากนี้สงครามเย็นยังทำให้เกาหลีหรือเวียดนามได้รับผลกระทบและเกิดสงครามภายในประเทศเช่นเดียวกัน
สงครามเย็นเริ่มต้นมาจากไหนและจะจบลงอย่างไร ติดตามได้ใน 8 นาทีดังต่อไปนี้
สงครามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ซึ่งเกิดจากการที่รัฐปาเลสไตน์ที่ตั้งอยู่ตะวันออกกลางมานานร้อยปี ภายใต้การปกครองของจอร์แดน อังกฤษ และเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมัน จนหลังสงครามปี 1967 พลเรือนชาวอิสราเอลเริ่มเข้าไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ จนเกิดเป็นฉนวนสงครามของทั้งสองประเทศนี้
ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศเกิดขึ้นได้อย่างไร ปัจจุบันสงครามจบแล้วจริงหรือไม่? ติดตามได้ใน 8 นาทีดังต่อไปนี้
จากเอพิโสดที่แล้ว British Empire ถือเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่มากในสมัยก่อน เหตุผลอะไรที่ทำให้จักรวรรดิที่มีความแข็งแกร่งมากต้องล่มสลายเหลือเพียงประเทศเล็กๆ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม ‘เกาะอังกฤษในปัจจุบัน’ ติดตามได้ใน 8 นาทีดังต่อไปนี้
ถ้าพูดถึงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิก็ต้องเป็นประเทศอังกฤษที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน เหตุผลอะไรที่ทำให้ทั่วโลกขนานนามว่า ‘British Empire’ ประเทศที่มีอิทธิพลมากในอดีต และยังวางรากฐานทางวัฒนธรรมของหลายๆ ประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน
เรื่องราวประวัติศาสตร์ของอังกฤษจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ใน 8 นาทีต่อไปนี้
ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ต้าชิง หรือจักรพรรดิหุ่นเชิดของพระนางซูสีไทเฮา เริ่มครองราชย์ตอนพระชนมายุ 3 พรรษา ก่อนเข้าสู่ยุคเปลี่ยนแผ่นดินจีนไปสู่การปกครองระบอบสาธารณรัฐ ชีวิตสามัญชนของอดีตฮ่องเต้จะเป็นอย่างไร หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้
70 ปี ซูสีไทเฮากับการครองอำนาจ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการปฏิรูปประเทศ เพราะพระนางต้องการคานอำนาจกับฝั่งตะวันตกในสมัยนั้น เอพิโสดนี้จะพาไปรู้จักประวัติฉบับย่อ จากพระสนมสู่การเป็นผู้อยู่เบื้องหลังกษัตริย์ในการปกครองประเทศได้อย่างไร ติดตามได้ใน 8 นาทีต่อจากนี้
หลังจากเยอรมนีพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีแตกเป็นหลายพรรค ฮิตเลอร์จึงตั้งพรรคนาซีขึ้น จนชนะการลือกตั้ง เข้าสู่จุดสูงที่สุดด้วยการรวบรวมอำนาจ ทั้งนายกรัฐมนตรีและประมุขแห่งรัฐไว้ที่ตัวเอง ก่อนเริ่มทำสงครามที่ไม่เป็นธรรม สร้างความหวาดกลัวจนถือเป็นอสูรกายที่โหดร้ายที่สุดตนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก
แต่ ณ เวลานั้นชาวเยอรมันกลับไม่รู้สึกถึงความโหดร้าย เอพิโสดนี้จะพาไปดูว่า ‘ทำไมคนเยอรมันถึงเคยเชิดชูฮิตเลอร์?’
เอพิโสดนี้จะพาไปฟังจุดเริ่มต้นของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ประวัติศาสตร์ที่มาของวันอีสเตอร์ (Easter Day) และความเชื่อมโยงกับอาณาจักรโรมัน รวมถึงอธิบายว่าทำไมกรุงโรม ศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันในอดีต หรือเมืองหลวงของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ถึงส่งอิทธิพลไปทั่วโลก
สหรัฐอเมริกาคว่ำบาตรจีน สงครามระหว่างประเทศของจีนกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจาก สิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์
ในเอพิโสดนี้เราจะมาตีแผ่ว่าชาวอุยกูร์คือใคร เชื้อชาติ หรือถิ่นกำเนิดของชาวอุยกูร์มาจากไหน เกี่ยวเนื่องอะไรกับประเทศจีนและ ทำไมสหรัฐฯ ถึงให้ความสนใจกับชนชาตินี้
จุดเริ่มต้นของชาวอุยกูร์มาจากไหน เขาเป็นใครกันแน่ติดตามได้ใน 8 นาทีต่อไปนี้
คลองสุเอซที่เชื่อมทะเลตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกันเป็นคลองที่สร้างผลประโยชน์มากมาย มีประวัติมาอย่างยาวนานถึง 152 ปี มีหลายจักรวรรดิต่อสู้เพื่อแย่งชิงน่านน้ำตรงนั้น เพื่อที่เป็นพื้นที่คมนาคมทางน้ำที่เชื่อมทะเลตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน
เรื่องราวของคลองสุเอซจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ใน 8 นาทีต่อไปนี้
จากความพ่ายแพ้ของฝ่ายเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จึงขึ้นมามีบทบาทสำคัญในการกอบกู้ความยิ่งใหญ่ของชนชาติเยอรมัน จนเมื่อปี 1939 เยอรมนีได้รับความร่วมมือจากฝ่ายอักษะเพื่อต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตร
เอพิโสดนี้จะพาไปดูว่า อะไรทำให้ฮิตเลอร์ ผู้เป็นคนจุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 2 เองต้องยอมประกาศแพ้สงคราม และโลกหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงเปลี่ยนไปอย่างไร
เอพิโสดนี้จะพาไปฟังชนวนเกิดเหตุที่ทำให้เกิดสงครามโลก อะไรทำให้เยอรมนีเริ่มต้นทำสงครามกับฝั่งจักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งทั้ง 3 ประเทศนี้ต่างมีความสัมพันธ์เครือญาติมาก่อน ต่างฝ่ายต่างแย่งชิงความยิ่งใหญ่ระหว่างกันจนเกิดเป็นสงคราม
สงครามโลกครั้งที่ 1 รบกันอย่างไร มีฝ่ายไหนบ้าง และท้ายที่สุดมีจุดจบอย่างไร ติดตามได้ใน 8 นาทีต่อไปนี้
หลังจากที่เหมาเจ๋อตุงเริ่มต้นปฏิวัติวัฒนธรรมจีน แต่ดูเหมือนว่าการจะพัฒนาสังคมในอุดมคติให้เกิดความเท่าเทียมแก่ทุกฝ่าย เป็นไปได้ยาก จึงสั่งการให้กองทัพปลดแอกประชาชน (People's Liberation Army: PLA) เข้าไปดูแลความสงบในช่วงเวลาของการปฏิวัติ และส่งนักศึกษาไปสู่หัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศจีน
เอพิโสดนี้จะพาไปดูว่านักศึกษาได้ค้นพบข้อเท็จจริงอะไรบ้างเกี่ยวกับความโหดร้ายของการปกครองระบบคอมมิวนิสต์ อุดมการณ์ที่ทำให้จีนต้องอยู่ใต้ความบอบช้ำยาวนานถึง 10 ปี (1966-1976) และเกิดอะไรขึ้นในปี 1976 ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของการปฏิวัติวัฒนธรรมจีน
ในโลกนี้มีไม่กี่อุดมการณ์ที่ถูกนำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงสังคม หนึ่งในนั้นคืออุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่นำโดย เหมาเจ๋อตุง ซึ่งเชื่อว่า ‘ความเท่าเทียมจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศได้อย่างก้าวกระโดด’ จึงถูกนำมาทดลองใช้กับประเทศจีนในปี 1911 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการปกครองระบบฮ่องเต้ในสมัยราชวงศ์ชิง ก่อนเข้าสู่การปกครองแบบสาธารณรัฐ
จนเมื่อปี 1949 พรรคคอมมิวนิสต์ที่นำโดยเหมาเจ๋อตุงใช้นโยบายก้าวกระโดดมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งๆ ที่คนในประเทศไม่มีพื้นฐานเทคโนโลยีเท่าไรนัก จนทั่วโลกมองว่าเป็นการทำให้ประเทศจีนยิ่งถอยหลัง
จนกระทั่งปี 1966 เหมาเจ๋อตุงต้องการเปลี่ยนระบบจากวัฒนธรรมดั้งเดิมสู่ความเท่าเทียม จึงทำการปฏิวัติวัฒนธรรม (Great Cultural Revolution) ด้วยการปลุกระดมนักศึกษา (Red Guard) เพื่อให้ปัญญาชนเป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยในสมัยนั้นนักศึกษาบุกจับข้าราชการมาลงโทษโดยมีเหมาเจ๋อตุงหนุนหลัง เกิดการต่อสู้ระหว่างกลุ่มอนุรักษนิยมและสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ จนทำให้ประเทศบอบช้ำยาวนานเป็นเวลา 10 ปี ก่อนจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
สามก๊ก หนึ่งในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ที่หลายคนอยากเข้าใจว่าสามก๊กเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร ใครรบกับใครกันแน่
ข้อสงสัยในวรรณกรรมสามก๊กมีก๊กอะไรบ้าง แล้วจุดเริ่มต้นของสามก๊กในสมัยราชวงศ์ฮั่น และท้ายที่สุดจีนมีวิธีรวมอาณาจักรทั้งสามอย่างไร ก่อนเกิดกำเนิดจักรวรรดิจีนในยุคราชวงศ์จิ้น
เข้าใจพื้นเพประวัติศาสตร์จีนแบบง่ายๆ จากภาพยนตร์จีนเรื่อง สงครามฝิ่น (Opium Wars) เอพิโสดนี้จะอธิบายความยิ่งใหญ่ของประเทศจีนผ่านภาชนะ 3 ใบ ได้แก่
เครื่องสำริด สื่อถึงราชวงศ์ฮั่น จุดเริ่มต้นของราชวงศ์แรกๆ ที่รวมประเทศจีนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งมีความแข็งแกร่ง หนักแน่น และทรงพลัง
หยก สื่อถึงราชวงศ์ถัง ตัวแทนแห่งยุคทองของจีน เพราะเป็นศูนย์กลางของโลกที่มีวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นเอกลักษณ์และสวยงาม
แจกันแก้ว มีความสวยงามแต่เปราะบาง สื่อถึงประเทศจีนก่อนเข้าร่วมสงครามฝิ่น และพ่ายแพ้ให้กับชาติตะวันตกในเวลาต่อมา
พอดแคสต์ประวัติศาสตร์ ที่จะนำเรื่องราวในอดีตจากทุกมุมโลกมาเล่าให้ง่ายภายใน 8 นาที ชื่อบางชื่อ เหตุการณ์บางเหตุการณ์ รายการนี้จะอธิบายให้กระจ่าง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้อดีตที่ผ่านมา และนำบางข้อคิดมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน
เจอกันทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 08.00 น. เริ่มเอพิโสดแรกวันที่ 9 มีนาคม 2564 EP.1 เข้าใจประวัติศาสตร์จีนผ่านภาชนะ 3 ใบ
En liten tjänst av I'm With Friends. Finns även på engelska.