เล่ารอบโลก
The podcast เล่ารอบโลก is created by Thai PBS Podcast. The podcast and the artwork on this page are embedded on this page using the public podcast feed (RSS).
เราจะสามารถวิเคราะห์นโยบายเรื่องจีน ของ Trump จากหนังสือแนวคิดในการเจรจาธุรกิจของเขาได้หรือไม่ ทำไมคนอย่าง Trump อาจจะยอมจ่ายแพง เขาบ้า ๆ บอ ๆ หรือทุกอย่างผ่านการคิดวิเคราะห์เอาไว้แล้ว
รู้จักตัวตนของอดีตประธานาธิบดีคนที่ 45 และว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา Donald J. Trump จากหนังสือเล่มแรกของเขา Trump: The Art of the Deal หนึ่งในหนังสือคู่มือการทำธุรกิจที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในโลก
พญาแถน เรียกให้เข้ายุคสมัยต้องเรียก บอสแถน บอสแถนคือใคร เครือข่ายของเขาใหญ่โตเก่าแก่แค่ไหน จริงหรือไม่ที่เครือข่ายกว้างไกลไปทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียนและจีน แล้วทำไมต้องติดต่อกับบอสแถนผ่านหมอลำ บอสแถนอยู่ที่ไหน ไปติดตามเรื่องบอสแถน บอสสูงสุดแห่งผีได้ใน ThaiPBS Podcast เล่ารอบโลกตอนนี้
สุดยอดผีมหาชน ชายเห็นชายรัก หญิงเห็นหญิงหลง ต้องแม่นางกวัก พบกับเรื่องราวของเธอจากคนทรง สู่เจ้าหญิงผี ก่อนถูกนำไปทำให้เป็นแขกอินเดีย และบวชเข้าพระพุทธศาสนา กับคำถามสำคัญว่า ทำไมต้องถวายน้ำแดง
เล่ารอบโลก ร่วมฉลองเทศกาล Halloween ด้วยตำนานผีแห่งสยามประเทศ กับข้อเท็จจริงที่คุณอาจยังไม่รู้จักเธอผู้นี้ดีพอ นางนากพระโขนง และให้ทายว่าจริง ๆ แล้วสามีของเธอชื่ออะไร
เล่ารอบโลกตอนนี้ เล่าถึง 2 อดีตแม่ทัพสวรรค์สุดรันทดที่ถูกลงโทษโดยเง๊กเซียนฮ่องเต้ เพื่อให้มารอรับการปลดปล่อยโดยคณะอัญเชิญพระไตรปิฎก ที่นำโดยพระถังซัมจั๋ง เวรกรรมอะไรทำให้พวกเขากลายเป็นปีศาจหมูและปีศาจทราย
เรามักจะจำกันได้เสมอๆ ว่า หลังจากการอาละวาดบนสรวงสวรรค์ บุคคลเพียงคนเดียวที่ปราบเห้งเจียได้คือ พระยูไล แล้วท่านก็สะกดเห้งเจียไว้ใต้ภูเขานาน 500 ปีเพื่อรอคณะอัญเชิญพระไตรปิฎกของพระถังซัมจั๋ง แต่คำถามคือ แล้วใครคือ พระยูไล? บูชาอย่างไรให้เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ สายมูต้องฟัง
เพราะเหตุใดเห้งเจีย หรือ ซุนหงอคงถึงต้องถูกขังอยู่ใต้ภูเขายาวนานถึง 500 ปี ก่อนที่จะได้ไถ่บาปโดยการต้องออกไปจาริกแสวงบุญร่วมกับพระถังซัมจั๋ง คำตอบ เพราะเขาไปอาละวาดบนสวรรค์ แต่ระดับเห้งเจียแล้วการอาละวาดต้องไม่ธรรมดาแน่นอน
ราชาลิงที่กำเนิดจากไข่หินบนยอดเขาผลไม้ เขาคือใคร ถ้าเล่าเรื่องไซอิ๋ว แล้วไม่เล่าเรื่องของ ซุน หงอคง หรือ เห้งเจีย ก็เท่ากับไม่ได้เล่าเรื่อง ไซอิ๋ว
พระภิกษุที่เสียสละ อดทน เดินทางไกล จากจีนสู่อินเดีย เมื่อ 1,300 กว่าปีที่แล้ว เขาคือใคร คุณูปการของเขาเป็นอย่างไร อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ต้องเดินทางไกลขนาดนั้น ประวัติศาสตร์จริง ๆ เป็นอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ ท่านไม่ได้เดินทางพร้อมกับ ลิง หมู และปีศาจปลา บนหลังของม้ามังกรขาวอย่างแน่นอน
จากเกมส์ online ชื่อดัง Black Myth: Wukong สู่พงศาวดารราชวงศ์ถังว่าด้วยภูมิภาคตะวันตก และ ปริศนาธรรมแห่งพุทธศาสนามหายาน ทั้ง 3 เรื่อง เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร ฟังได้ใน เล่ารอบโลก
หากจะให้ Reading List สำหรับการอ่านเพื่อให้เข้าใจว่าเพราะเหตุใด ASEAN คือ DNA ของประเทศไทย และประเทศไทยต้องเดินหน้าอย่างไรในเวทีความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ขอแนะนำหนังสือชุดนี้
ปี ค.ศ. 1970-1990 ทุกคนคาดการณ์กันว่าอาเซียนจะกลายเป็นเสือเศรษฐกิจแห่งเอเชีย ทุกอย่างในเรื่องการทำมาหากินดูเหมือนจะเดินหน้าไปได้อย่างสวยงาม อาเซียนเองก็เตรียมความร่วมมือสำหรับวันดีคืนดีเหล่านี้อย่างแข็งขัน เราไปสำรวจร่วมกันว่า อาเซียนได้ทำอะไรไปบ้างในมิติความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ก่อนที่พายุวิกฤตการเงินกำลังจะก่อตัว
เมื่อสงครามเย็นยุติในปี 1991 ระเบียบโลกเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกาภิวัตน์ การค้า การลงทุน กลไกตลาด เข้ามาแทนที่การเผชิญหน้าทางการทหาร ประเทศไทยเดินหน้านโยบาย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า และเล่นบทบาทนำในการก่อกำเนิด AFTA ได้อย่างไร ขอเชิญรับฟัง
เอกสารสำคัญจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 1 ที่จะกำหนดแนวทางการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาต่อไปอีกยาวนานมากกว่า 30 ปี มีรายละเอียดอย่างไร ไปติดตามกัน
หลังจากสหรัฐฯ พ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม สูญญากาศเชิงอำนาจและภัยคุกคามครั้งใหม่ในภูมิภาคกำลังจะเกิดขึ้น อาเซียนจึงยกระดับตนเองจากการประชุมระดับรัฐมนตรี สู่การประชุมระดับสุดยอดผู้นำ สถาปนาสำนักเลขาธิการอาเซียน วางกฎระเบียบและกำหนดให้อาเซียนเป็น Zone of Peace, Freedom, and Nutrality พร้อมทั้งกำหนดหลักนิยมดีๆ ที่ยังทันสมัยจนถึงทุกวันนี้ อาทิ Inclusive, Sustainable และ Resilience
เล่ารอบโลกขอนำคำแถลงของทั้ง 5 founding fathers ของอาเซียนมาทำความเข้าใจ เพื่อให้เราได้เห็นวิสัยทัศน์ของทั้ง 5 ประเทศ ณ เวลานั้นในทศวรรษ 1960 ท่ามกลางจุดสูงสุดของสงครามเย็น และการแทรกแซงของมหาอำนาจทั้งสองขั้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เดินทางมาพบกันอีกครั้งที่ บางแสน เพื่อจะสร้างมิตรภาพ จนในที่สุด เอกสารสำคัญที่สุดที่ทำให้ทั้ง 5 ประเทศมาสร้างความร่วมมือกันในนาม ปฏิญญากรุงเทพฯ หรือ ปฏิญญาอาเซียน ก็เกิดขึ้น ในวันที่ 8 สิงหาคม 1967 ว่าแต่ว่า เบื้องหลังและเกร็ดประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์สำคัญครั้งนั้นเป็นอย่างไร เชิญรับฟังครับ
57 ปีที่แล้วในท่ามกลางความขัดแย้งทั้งภายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และความขัดแย้งจากภายนอกของสงครามเย็น ที่มหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ กำลังจะกรีฑาทัพเข้ามาในภูมิภาค อาเซียนก่อกำเนิดขึ้นมาท่ามกลางความขัดแย้งเหล่านี้ได้อย่างไร ไปหาคำตอบร่วมกัน
จะเป็นอย่างไรหากเราใช้หลัก 6 ประการของการดำเนินโยบายต่างประเทศ (SHADGUNYA SIDDHANT หรือ six-fold policy) แห่งคัมภีร์อรรถศาสตร์ โดย จาณักยะ หรือ เกาฏิลยะ ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี มาวิเคราะห์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิเศรษฐศาสตร์ ณ ปัจจุบันในศตวรรษที่ 21
ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ หากเราจะย้อนเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ชื่อของนักยุทธศาสตร์ ที่ปรึกษาทางการทหารที่เรามักจะได้ยินเสมอ ๆ อาจจะมาจากฝั่งจีน อาทิ ขงเบ้ง ซุนวู แล้วหากเราจะนึกถึงอีกหนึ่งจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ใครล่ะที่คือ ซูเปอร์ซือแป๋ของอินเดีย ผมเชื่อว่า จาณักยะ ผู้รจนาคัมภีร์อรรถศาสตร์ คือชื่อแรก ๆ ที่เราต้องพูดถึง
แม้ในศตวรรษที่ 21 ชาว Netizen ก็ยังคงใช้เครื่องดื่มชาเป็นสัญญะแห่งการเรียกร้องและรณรงค์ทางการเมือง แต่ทราบหรือไม่ว่า พันธมิตรชานม เกิดขึ้นเพียงเพราะความเข้าใจผิดต่อตัวผู้เล่นเป็นพระเอกใน Series Y แต่ไม่ว่าความเข้าใจผิดจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และการขับเคลื่อนทางการเมืองจากรุนแรงเท่าใด ชานมก็ยังคงเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมมูลค่าแสนล้านในระบบเศรษฐกิจของโลก ตัวอย่างร้านชา Mixue ที่กำลังจะแซงหน้า Starbucks ขึ้นเป็นร้านที่มีสาขาให้บริการมากเป็นอันดับที่ 3-4 ของโลก
แม้ผู้ชายในอังกฤษจะได้เลือกตั้งกันแล้วตั้งแต่ปี 1708 และในสหรัฐฯ ผู้ชายก็ได้เลือกตั้งครั้งแรกในปี 1788 แต่กว่าที่สุภาพสตรีจะได้เลือกตั้งก็ปาเข้าไปในปี 1918 หรืออีกกว่า 200 ปีให้หลัง ขบวนการ "Suffragette" ต้องเรียกร้องอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธินี้ และการรวมตัวของพวกเธอก็เกิดขึ้นโดยมีฉากหลังสำคัญคือ ร้านน้ำชา ที่กระจายตัวกันอยู่ทั่วทั้งเกาะอังกฤษ
อะไรบ้างที่เป็นผลสืบเนื่องจาก “งานเลี้ยงน้ำชาแห่งบอสตัน” (Boston Tea Party) ในปี 1773 ซึ่งเป็นการประท้วงทางการเมืองเพื่อต่อต้านการเอารัดเอาเปรียบของอังกฤษจากภาษีใบชาที่ไม่เป็นธรรม จนกลายเป็น เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาก่อนนำไปสู่สงครามอิสรภาพ
.
อังกฤษจะเอาคืนอย่างไร ?
ชาวอาณานิคมจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ?
New England, Middle Colonies และ Southern Colonies
จะรวมตัวกันติดจนสร้างมหาอาณาจักรแห่งระบบทุนนิยมได้อย่างไร ?
.
สงคราม American Revolutionary War 1775 – 1783 "Life, Liberty, and Property ชีวิต เสรีภาพ และกรรมสิทธิ์" คือคำตอบ...
น่าจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ใบชาถูกใช้เป็นเครื่องมือและเป็นสัญลักษณ์แห่งการเรียกร้องทางการเมือง ใครจะไปเชื่อว่า ใบชามากกว่า 46,000 กิโลกรัม หรือใบชาที่มากพอที่จะชงได้ถึง 18.5 ล้านถ้วยจะถูกเททิ้งลงอ่าวบอสตัน และจากเหตุการณ์นี้ใครจะเชื่อเช่นกันว่าจะลุกลามใหญ่โตจนกลายเป็นการเรียกร้องเอกราชให้กับอาณานิคมทั้ง 13 แห่งของ New England
ชาเริ่มเข้าสู่ประเทศอังกฤษในช่วงกลางของศตวรรษที่ 16 และพอถึงปี ค.ศ 1700 ทั่วทั้งมหานครลอนดอน ก็มีร้านชามากกว่า 500 ร้าน และความนิยมในการดื่มชายังข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปสู่ 13 อาณานิคมแห่ง New England ริมชายฝั่งทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ หากแต่ภายหลังสงคราม 7 ปี ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศษ แม้อังกฤษจะชนะ แต่ก็แทบจะไม่มีเงินเหลือในท้องพระคลัง ดังนั้นการจะเก็บภาษีขนานใหญ่ และความไม่พอใจของผู้คนในอาณานิคมก็เริ่มขึ้น
จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น จนถึงราชวงศ์หมิง ใบชากลายเป็นสินค้าส่งออกที่ควบคู่ไปกับวิวัฒนาการของเส้นทางการค้า จากเส้นทางสายไหมทางตอนใต้ สู่เส้นทางสายไหมทางทะเล จากการเดินทางของพุทธศาสนาสู่ญี่ปุ่น ไปสู่การเดินทางของหมอสอนศาสนาที่นำใบชาไปจนถึงยุโรป
หากยุคทองของประวัติศาสตร์จีน โดยชาวฮั่นเกิดขึ้นใน 3 ราชวงศ์หลัก นั่นคือ ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ถัง และราชวงศ์หมิง นวัตกรรมที่จะกลายเป็นแห่งรายได้มหาศาลจากการค้าขายบนเส้นทางสายไหมให้กับอาณาจักรของ 3 ราชวงศ์นี้ หนึ่งในนั้นก็คือ การ process ใบชาจนกลายเป็นชาเขียวในสมัยฮั่น ต่อด้วยการพัฒนาสู่ชาเหลืองและชาหมักในยุคของราชวงศ์ถัง
จากทฤษฎีอนุกรมวิธานพืช ถึงคติชนวิทยา ว่าด้วยการก่อกำเนิดใบชาที่เคียงคู่กับ ประวัติศาสตร์จีน กว่า 5,000 ปี ติดตามฟังในรายการเล่ารอบโลก
จิ้นฮ่วยกงสี โรงงานอาหารกระป๋องแห่งแรกในประเทศไทย ที่จะมีอายุครบ 100 ปี เป็นธุรกิจครอบครัว “ศรีแสงนาม” เรื่องเล่าจากเหล่ากง สู่ Generation ที่ 8 ของครอบครัว
กิจการอายุเกินกว่า 100 ปีในประเทศไทยของเรามีความหลากหลาย เล่ารอบโลกตอนนี้จะนำคุณผู้ฟังไปรู้จักกับ ธนาคารพาณิชย์แห่งแรก ที่นำนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ จำนวนมากเข้ามาในประเทศไทย แล้วไปต่อกันด้วยกิจการที่ทำให้เกิดเพลงเด็กร้องเล่น อย่างเช่น ยานัตถุ์หมอมี แก้ฝี แก้หิด ยานัดหมอชิต… และจบ 10 อันดับกิจการ 100 ปีของไทย ด้วยอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างครบวงจร และโรงน้ำปลาแห่งแรกของไทย
ร้านขายยาจีน ร้ายขายยาฝรั่ง ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่อยู่คู่วงการธุรกิจไทยมาต่อเนื่องเกิดกว่า 100 ปี วันนี้เรามาทำความรู้จัก ห้างขายยาเต็กเฮงหยู ที่พัฒนาจนกลายเป็นโอสถาสภา, ห้างขายยาอังกฤษตรางู ที่สร้างนวัตกรรมดับร้อนให้คนไทย และ ยาขมน้ำเต้าทองซังโฮ้วโล้วเลี่ยงเต้ ยาขมขายดีมากว่า 120 ปีไปพร้อมๆ กัน
ธุรกิจเอกชนในประเทศไทยที่มีการจัดตั้งในรูปแบบห้างร้านกิจการอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นครั้งแรกหลังการบังคับใช้สนธิสัญญาเบาริ่งในปี พ.ศ.2399 วันนี้เล่ารอบโลกขอเล่าถึง 3 กิจการเก่าแก่ในประเทศไทยที่มีอายุมากกว่า 140 ปีและยังคงดำเนินกิจการมาจนถึงทุกวันนี้
เชื่อหรือไม่ว่า กว่า 52,000 กิจการในประเทศญี่ปุ่นมีอายุยาวนานเกินกว่า 100 ปี ทั้งๆที่ อายุเฉลี่ยของบริษัททั่วโลกอยู่ที่เพียง 12-15 ปีเท่านั้น และจะน่าประหลาดใจมากกว่านั้นหากได้ทราบว่าในจำนวนนี้ กว่า 1,900 กิจการมีอายุเกินกว่า 500 ปี คำถามคือ อะไรคือความสำเร็จของกิจการยั่งยืนเหล่านี้
ความย้อนแย้งในมิติที่ 5 และ 6 นั่นคือ ความแตกต่างระหว่างอัตลักษณ์ตัวตนของตนเอง กับ ความคาดหวังและจิตวิญญาณของตระกูล และ การปฏิบัติตนเพื่อคงความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งที่ตนเองไม่ได้อยากทำเช่นนั้น ลองนึกภาพ Paul ที่เป็นทั้งตระกูล Atreides แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับวิถี Fremen และยังต้องรักษาความศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อเรื่อง Kwisatz Haderach (Mahdi/ Lisan al Gaib) และปมย้อนแย้งนี้เองที่จะปูทางไปสู่ Dune ภาคที่ 2 Dune: Messiah และ ภาคที่ 3 Children of Dune
โศกนาฏกรรมแห่งทรัพยากรธรรมชาติ Frank Herbert ได้เล่าเรื่องความขัดแย้งระหว่างการทำลายล้างสภาพแวดล้อม เพราะต้องการความมั่นคง และความมั่งคั่งของมนุษย์ โดยไม่สนใจถึงระบบนิเวศเอาไว้ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ก่อนหน้าที่เราจะเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในโลกกว่าครึ่งศตวรรษ ผ่านการอธิบายถึงวงชีวิตของ หนอนทะเลทราย Shai-Hulud และความโลภในระดับจักรวาลเพื่อแสวงหา Spice
ว่าด้วย Bene Gesserit เครือข่ายนักบวชหญิง แม่มด สปาย นักวิทยาศาสตร์ นักศาสนาวิทยา ที่ยิงใหญ่ อยู่เบื้องหลัง ชักใย และกำหนดชะตากรรมของจักรวาล DUNE
ว่าด้วยประเด็นการเมืองการปกครอง ความขัดแย้งแห่งพลังอำนาจ และประเด็นเศรษฐกิจการเมือง เสาหลักสำคัญของจักรวาล Dune เกิดขึ้นจากจักรพรรดิ, ตระกูลใหญ่, ตระกูลน้อย, กลุ่มธุรกิจผูกขาดที่ควบคุมการค้าข้ามจักรวาล แต่ทั้งหมดนั้นกลับถูกบงการอยู่เบื้องหลังโดย ศาสนาและความเชื่อ
จักรวาลดูนเป็นอีกหนึ่งมหากาพย์สำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ความยิ่งใหญ่ของดูนเกิดขึ้นจากนักเขียน Frank Herbert ในปี 1965 ซึ่ง plot เรื่องวางอยู่บนความขัดแย้งระหว่าง การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา สังคม สิ่งแวดล้อม อัตลักษณ์ตัวตน และความซื่อสัตย์ต่อครอบครัวและเผ่าพันธุ์ ตอนที่ 1 นี้คือ คู่มือการอ่านหนังสือเพื่อการตื่นรู้และเตรียมความพร้อมก่อนจะท่องไปในจักรวาลดูน
เทศกาลเหล่านี้คือภูมิปัญญาของมนุษย์ในเอเชียที่สอดคล้องกับวิถีการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และแสดงออกถึงคุณธรรมของพวกเราที่นึกถึงบรรพบุรุษ ด้วยความกตัญญู และยังเผื่อแผ่ไปยังวิญญาณที่ไม่มีลูกหลานมาเซ่นไหว้อีกด้วย
ยินดีต้อนรับสู่ปีมังกรไม้...
ทำไมต้องมังกรไม้ ความสัมพันธ์ระหว่างการโคจรของโลก ดวงจันทร์ ดาวพฤหัส และธาตุทั้ง 5 (ไม่ใช่ทั้ง 4) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและฤดูกาล กำหนดกิจกรรมของมนุษย์ตามความเชื่อแบบ ขงจื้อ เต๋า และพุทธศาสนา คนไทยเชื้อสายจีนทำอะไรกันบ้างกับวันสำคัญเหล่านี้
ตุนาหงัน วงศ์เทวา มะงุมมะงาหรา อินุงตุงนัง ตุหรัดตุเหร่ คำเหล่านี้มาจาก อิเหนา วันนี้มาฟังเรื่องความปั่นป่วน บรรลัยจักรที่เกิดขึ้นหลังจากการปิ๊งสาวครั้งแรกของอิเหนา ในรายการ เล่ารอบโลก
จาก Political landscape แห่งอำนาจรัฐในอาณาจักรชวาโบราณ สู่การแต่งงานไขว้กันไปมาของวงศ์เดวา และความกลัดมันของเจ้าชายอิเหนา ความปั่นป่วนจึงก่อกำเนิด ฟังใน เล่ารอบโลก
เมื่อพูดถึงประเทศอินโดนีเซีย หลายๆ คนคงนึกถึงเรื่องราวของ อิเหนา บุษบา จรกา จินตหรา ฯลฯ แต่คุณผู้ฟังทราบหรือไม่ว่า นิทานเรื่องนี้มีต้นกำเนิดอย่างไร และมีความยิ่งใหญ่แต่ไหนในฐานะเอกลักษณ์ของพวกเราชาวอาเซียน
3 ปัจจัยสุดท้ายที่ต้องเฝ้าระวังในปี 2024 ได้แก่ ปัจจัยเศรษฐกิจจีน ปัจจัยการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่ไม่มีความรับผิดชอบของสหรัฐอเมริกา และ ปัจจัยโลกร้อนที่ถูกทำให้กลายเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า
สงครามยูเครนกับภาวะกลับไม่ได้ไปไม่ถึงของ NATO, สงครามตะวันออกกลางที่อาจลุกลามไปเป็นสงครามระหว่างตะวันตกกับโลกมุสลิม และ สงครามการค้า สงครามเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และจีน 3 ปัจจัยนี้จะทำให้พวกเราทุกคนต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างแน่นอนตลอดปี 2024
ความสัมพันธ์ที่เริ่มมีรอยร้าวระหว่าง ไทย - สปป.ลาว - สิงคโปร์ ที่อาจลุกลาม, ความขัดแย้งที่เดินหน้าไปสู่ทางตันในเมียนมา และการเลือกตั้งในไต้หวันที่อาจจะกลายเป็นชนวนลุกลามไปสู่ความรุนแรงในช่องแคบไต้หวัน นี่คือ 3 ประเด็นแรกที่เราต้องจับตาในปี 2024
ประเทศไทยคืออันดับที่ 9 ของโลกที่สุ่มเสี่ยงสูงสุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ คำถามคือ เราเตรียมความพร้อมแค่ไหนในเรื่อง คน เงินงบประมาณ องค์ความรู้ และระยะเวลาเป้าหมาย ในการรับมือกับการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ การแพร่ระบาดของเชื้อโรค และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ หากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
ไม่ใช่แค่รัสเซียเท่านั้น หากแต่สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ก็เดินหน้าเปิดเส้นทางขนส่งผ่านขั้วโลกเหนือ จนกระทั่งสถานการณ์เปลี่ยนแปลงและยกระดับให้ขั้วโลกเหนือกลายเป็นพื้นที่ร้อนระอุที่สุดอีกแห่งหนื่งในทางภูมิรัฐศาสตร์ เมื่อประเทศจีนประกาศจะเดินทางพัฒนาโครงการ เส้นทางสายไหมขั้วโลก ในปี 2017
จากขั้วโลกเหนือที่เงียบงัน แต่ระอุไปด้วยไฟสงคราม สู่เส้นทางการเดินเรือที่คับคั่ง และการใช้ประโยชน์จากภาวะโลกร้อน นี่คือเหตุการณ์ตั้งแต่ทศวรรษ 1940 จนถึงปัจจุบันที่ขั้วโลกเหนือกำลังเผชิญ หากแต่ในอนาคตสถานการณ์นี้จะยิ่งร้อนระอุ เมื่อ จีน ประกาศตัวจะเข้าสู่สังเวียนนี้ด้วยอีกประเทศ
ทำไมน้ำแข็งขั้วโลกถึงละลายทั้ง ๆ ที่ขั้วโลกก็ปกคลุมด้วยน้ำแข็งมาตลอดประวัติศาสตร์ จริง ๆ แล้วขั้วโลกเหนือมันตั้งอยู่ตรงไหน มันใหญ่ขนาดไหน และทำไมมันถึงกำลังจะกลายเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งครั้งใหม่ทางภูมิรัฐศาสตร์ หาคำตอบได้ในเล่ารอบโลก
เพลงชาติอาเซียน The ASEAN Way เกิดขึ้นในปี 2008 โดยเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของพวกเราชาวไทย ที่เพลงที่ชนะการคัดเลือกจากทั้งหมด 99 เพลงที่ส่งมาจากทั้ง 10 ประเทศสมาชิกที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับมติเอกฉันท์ในการประกวดจนเป็นเพลงชาติอาเซียนคือเพลง "The ASEAN Way" ของประเทศไทย ซึ่งประพันธ์โดย กิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) สำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง)
แต่นอกจาก ASEAN Way แล้ว อาเซียนยังเคยมีเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการมาก่อนหน้านั้นแล้ว 1 เพลง นั่นคือ ASEAN Song of Unity หรือ ASEAN, Oh, ASEAN
ฟิลิปปินส์คือประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกตั้งชื่อประเทศตามชื่อบุคคล โดยเจ้าผู้ครองอาณานิคม การต่อสู้ที่ยาวนานของชาวฟิลิปปินส์เริ่มตั้งแต่การสังหาร เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน กัปตันที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดว่าเขาคือบุคคลแรกที่เดินทางรอบโลกได้สำเร็จ จนปลดแอกจากสเปนได้ในช่วงสั้น ๆ ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐฯ อีกครั้ง
เชื่อหรือไม่ว่าเพลงชาติเวียดนามใต้ ถูกประพันธ์ขึ้นโดยคนที่ในที่สุดแล้วเปลี่ยนอุดมการณ์ไปสนับสนุนเวียดนามเหนือ ในขณะที่เพลงชาติเวียดนามเหนือ และเพลงชาติเวียดนามที่ใช้ ณ ปัจจุบัน คือ เพลงชาติเดียวของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่เป็นเพลงประจำกองทัพ และมีเนื้อหาที่ดุเดือดอย่างยิ่ง
ตราบจนโลกสิ้นสลาย กะบามาแจ เพลงชาติที่สะท้อนความนึกคิดของสมาคมเราชาวพม่า ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1930 เพื่อเรียกร้องเอกราช และยังคงความหมายที่ลึกซึ้งมาจนถึงทุกวันนี้ ที่คนพม่าต้องการ
"ตราบโลกแหลกสลาย แผ่นดินพม่าจงคงอยู่ต่อไป
เรารักและเทิดทูนบ้านเมือง เพราะนี่คือมรดกที่แท้จริงจากบรรพชน
เราจักสละชีพ เพื่อปกป้องสหภาพของเราไว้
นี่คือชาติของเรา แผ่นดินของเรา ซึ่งพวกเราเป็นเจ้าของ
เราจะแบกรับภาระเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติและแผ่นดิน
นี่คือหน้าที่ที่เราพึงทำเพื่อแผ่นดินอันทรงคุณค่าแห่งนี้"
ว่ากันว่า ตลอดชีวิตของ ลี กวนยู เขาร้องไห้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น ผู้นำประชาชาติที่พัฒนาก้าวหน้าทันสมัยและมั่งคั่งที่สุดแห่งหนึ่ง ร้องไห้ครั้งแรกในวันที่สิงคโปร์ถูกขับไล่ออกกจากสหพันธรัฐมลายา และครั้งที่ 2 เมื่อสถาปนิกผู้ออกแบบการพัฒนาสิงคโปร์ เพื่อนรักของเขา Albert Winsemius เสียชีวิตลง และนี่คือประวัติศาสตร์การสร้างชาติ และการสร้างศูนย์รวมจิตใจของคนสิงคโปร์ภายใต้เพลงชาติ "สิงคโปร์จงเจริญ"
นอกจากจะทำความรู้จักที่มาของเพลงชาติมาเลเซียแล้ว เล่ารอบโลกตอนนี้ ขอนำเสนอประวัติชีวิตของวีรบุรุษ เจ้าชายเชื้อสายมลายู - นนทบุรี ที่เกิดในสยาม มาเรียนหนังสือที่กรุงเทพ และไปจบกฎหมายจาก Inner Temple ณ กรุงลอนดอน ก่อนที่จะกลับมามาเลเซียเพื่อร่วมก่อตั้ง UMNO และกลายเป็นบิดาแห่งอิสราภาพแห่งประเทศมาเลเซีย ตนกู อับดุล ราห์มาน
ระบอบเขมรแดงที่ปกครองกัมพูชาตั้งแต่ 1975-1979 พังทลายไป ส่วนหนึ่งเพราะการแตกกันของแกนนำกลุ่มปัญญาชนปารีสและการกดดันอย่างหนัก หลังจากที่ประชาคมโลกได้รับรู้ถึงความโหดร้ายของระบอบที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนชาติเดียวกันเอง โดย 2 แกนนำสำคัญที่แปรพรรคจากกองทัพเขมรแดงไปเข้ากับฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามที่สนับสนุนโดยโซเวียต คือ เฮง สัมริน และ ฮุน เซน ซึ่งทั้งสองภายใต้การสนับสนุนของโซเวียตและเวียดนามจะเป็นผู้เข้ามาสถาปนาอำนาจรัฐใหม่ในนาม สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา และทั้งคู่ก็ยังมีบทบาทสำคัญอย่างต่อเนื่องในการเมืองกัมพูชามาจนถึงทุกวันนี้
เหมือนชะตากรรมเล่นตลก ผลจากสงครามกลางเมืองของประเทศเพื่อนบ้านที่มีการแทรกแซง ทั้งจากสหรัฐอเมริกาและจากโซเวียต ทำให้เจ้านโรดม สีหนุ ต้องแสดงบทบาททางการเมืองอย่างมีสีสันเพื่อความดำรงอยู่ของประเทศ แต่ตัวเลือกที่ได้รับการสนับสนุนของพระองค์กลับสร้างความย่อยยับให้กับพระราชอาณาจักร ต่อด้วยสาธารณรัฐ และท้ายที่สุด และเลวร้ายที่สุด คือ การสร้างระบอบกัมพูชาประชาธิปไตย หรือ เขมรแดง ขึ้นมาในช่วงที่เกิดสูญญากาศทางอำนาจในอินโดจีนในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1970 ภายหลังจากที่สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม
วันนี้เรามาทำความรู้จักเพลงชาติ "ด็อบปรำปีเมซาโมฮาโจ็กเจ็ย" หรือเพลงชาติ "สิบเจ็ดเมษามหาโชคชัย" ของพวกเขมรแดงไปพร้อมกัน
กัมพูชาเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเมืองที่มีพลวัตรการเปลี่ยนแปลงที่มีสีสันมากที่สุดในโลก เล่ารอบโลกวันนี้จะขอนำคุณผู้ฟังไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์กัมพูชาตั้งแต่ยังเป็นดินแดนในอารักขา หรือเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส สู่ยุคพระราชอาณาจักรกัมพูชา (รอบที่ 1) ก่อนที่จะเข้าสู่การรัฐประหารกลายเป็นสาธารณรัฐกัมพูชา จวบจนถึงการพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนาม โดยเราจะมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์กัมพูชาผ่านเพลงชาติ 2 เพลงนั่นคือ เพลง นครราช และเพลงมาร์ชสาธารณรัฐเขมร
หลังการออกใช้เพลงชาติฉบับสากลในปี พ.ศ.2475 ความไม่พอใจต่อเนื้อร้องบางช่วง นำไปสู่การประกวดจัดหาเนื้อเพลงชาติใหม่ และนั่นทำให้เราได้ใช้ เพลงชาติไทย verion พ.ศ.2477 ที่มีเนื้อร้องยาวที่สุดเท่าที่ประเทศสยามเคยใช้เพลงชาติมา แต่แล้วความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อประเทศสยามเปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทยในปี พ.ศ.2482 นั่นทำให้เราได้เพลงชาติไทยฉบับที่เราใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน
แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า นอกจากฉบับที่เราใช้ในปัจจุบันแล้ว ในปี พ.ศ.2548 ประเทศไทยเคยเกือบมีเพลงชาติให้พวกเราได้ร้องทั้งร้องจริง และร้องเล่นกันอีกถึง 6 versions โดยผู้ที่รับหน้าที่ cover เพลงชาติทั้ง 6 versions คือบริษัท GMM Grammy
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ขุนนางลูกครึ่งเชื้อสายไทย - เยอรมันอเมริกัน ที่สำเร็จการดนตรีมาจากประเทศโปแลนด์ ซึ่งถูกทาบทามมาก่อนหน้านั้น แต่ปฏิเสธเรื่อยมา เพราะประเทศไทยใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่ก่อนหน้าแล้ว ไม่สามารถปฏิเสธภารกิจนี้ได้อีกต่อไป เมื่อปรากฎว่าผู้ที่มาทาบทามกลายเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อการ ที่ขณะนั้นกุมอำนาจรัฐได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว ภารกิจ 7 วันกับการสร้างทำนองเพลงชาติที่เราใช้จนถึงวันนี้จึงเกิดขึ้น
แต่นั่นคือ ทำนอง ส่วนคำร้องจะยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลาย ๆ ครั้ง วันนี้เรามาฟังคำร้อง และทำนองเพลงชาติฉบับแรกไปด้วยกัน
ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ 2475 และก่อนที่จะมีการเปลี่ยนชื่อจากประเทศสยามเป็นประเทศไทย หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของการบรรเลงเพลงสำคัญของอาณาจักรอยุธยาคือเพลงสายสมร หรือเพลงสรรเสริญพระนารายณ์ โดยมีหลักฐานปรากฏในบันทึกจดหมายเหตุของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.2230
พัฒนาการของเพลงชาติที่ในขณะนั้นใช้เพลงสรรเสริญพระบารมี ก็มีอย่างต่อเนื่อง สู่เพลงจอมราชจงเจริญ ในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 และพัฒนาสู่เพลงสรรเสริญพระบารมีที่เราร้องกันทุกวันนี้ในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 และ 6 แต่คุณผู้ฟังอาจจะยังไม่ทราบว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีที่เรารู้จักกันนี้ มีหลายเนื้อร้อง ติดตามฟังได้ในรายการ เล่ารอบโลก
นี่คือเพลงชาติในโลกเพียงเพลงเดียวที่พวกเราชาวไทยสามารถฟังเนื้อร้องแล้วเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องมีคนมาแปลให้ แต่คุณผู้ฟังเชื่อหรือไม่ว่า เพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมีของพระราชอาณาจักรลาวที่เปิดขึ้นในครั้งแรกในช่วงปี 1940-1941 เกิดขึ้น เพราะ "สยาม" ติดตามฟังได้ในรายการเล่ารอบโลก
เพลงชาติของ 10 ประเทศอาเซียน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ เล่าถึงดินแดนแห่งมาตุภูมิ, คำอวยพรของพระผู้เป็นเจ้า, สดุดีกองทัพ และเทิดไท้วีรชน ซึ่งเพลงชาติของประเทศอินโดนีเซีย Indonesia Raya คือตัวอย่างของรูปแบบที่ 1 คือเล่าถึงดินแดนแห่งมาตุภูมิ เนื้อหาเป็นอย่างไร
อินโดนีเซียในฐานะดินแดนแห่งภูเขาไฟ จากการระเบิดของภูเขาไฟกรากาเตา เมื่อกว่า 130 ปีที่แล้ว และเหตุผลของการย้ายเมืองหลวง ณ ปัจจุบัน
จากซ้ายมือสุดทางหัวเกาะสุมาตราที่กินอาหารแบบเดียวกับคนใต้ของประเทศไทย สู่ตอนกลางอย่างเกาะบาหลีที่กินเนื้อหมู หันหมูกรอบแบ่งกันกินอย่างเอร็ดอร่อย สู่สุลาเวสี หมู่เกาะเครื่องเทศชื่อดังในประวัติศาสตร์ที่เปิปพิสดาร เช่น กินเนื้อค้างคาว
จากเมืองเก่าปัตตาเวียที่มีวัฒนธรรมร่วมที่หลากหลาย สู่อาหารประจำพื้นถิ่น และจบลงด้วยการกินเนื้อหมูของคนบาหลีที่อยู่ท่ามกลางประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก
อีกหนึ่งซอสคู่บ้านคู่เมืองชาวอินโดนีเซีย นั่นคือ ซอส Bambu Kacang หรือ ซอสถั่วลิสง ซอสสารพัดประโยชน์ที่ทานคู่กับสะเต๊ะ สลัดแขก ราดข้าว คลุกน้ำยำ มีไว้คู่บ้าน อุ่นใจได้แน่นอน
หนึ่งในอาหารที่คนอินโดนีเซียกินทุกวัน กินกับอาหารทุกมื้อ คือ น้ำพริกซัมบัล ที่ประกอบขึ้นจากพริก กะปิ มะนาว น้ำตาลปึก คลุก หรือ ตำ ในครก สร้างความนัวเพิ่มเติมด้วยวัตถุดิบต่างๆ แต่ละบ้าน แต่ละตระกูล แต่ละร้าน จะมีสูตรเด็ดซัมบัลประจำของตนเอง และหากคนไทยบอกว่า ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ คนอินโดนีเซีย จะบอกว่า ดูนางให้ชิมซัมบัลของบ้านหลังนั้นแทน
วัฒนธรรมการไหว้พระแม่โพสพ ทำนา ดำนา เลี้ยงควาย หุงข้าว นึ่งข้าว กินแบบล้อมวง เปิบมือ และกินข้าวเป็นอาหารหลัก เกิดขึ้นในอินโดนีเซียมาตั้งแต่เมื่อกว่า 5,000 ปีที่แล้ว หลายสิ่งเหมือน และบางสิ่งต่าง วันนี้เล่ารอบโลก เล่าเรื่องวัฒนธรรมการกินข้าวในอินโดนีเซีย
หนึ่งในตระกูลของอาหารที่มีความหลากหลายมากที่สุดในโลก คุณผู้ฟังลองนึกถึงประเทศที่มี 17,508 เกาะ มีคนอาศัยอยู่ร่วมกันมากกว่า 1,300 ชาติพันธุ์ มีแหล่งเครื่องเทศที่ดีที่สุดในโลก และยังมีวัฒนธรรมอิสลาม จีน และตะวันตกมาผสมผสาน ดังนั้น ถ้าให้คนอินโดนีเซียเลือกอาหารที่แสดงออกถึงความเป็นชาติของเขามากที่สุด มาแค่ 5 อย่าง เขาจะเลือกอะไรบ้าง มาฟังกันในตอนนี้
ใต้ท้องทะเลลึกคือแหล่งสินแร่ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด แต่ก็อยู่ในทำเลที่ตั้งที่มนุษย์เรามีความรู้เกี่ยวกับมันน้อยที่สุดด้วยเช่นกัน เหมืองแร่ใต้ทะเลจะเริ่มดำเนินการแล้วอย่างเป็นรูปธรรมในปี ค.ศ 2025 มรดกแห่งมวลมนุษยชาติกำลังถูกแย่งชิง ระบบนิเวศที่เปราะบางกำลังจะถูกทำลาย อนาคตสมรภูมิใต้โลกอาจจะเป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก
เล่าใต้โลก ตอนที่ 2 ว่าด้วยเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีป เกาะโลซิน และความขัดแย้งครั้งใหม่ในการแย่งชิงทรัพยากรใต้โลก บนพื้นดินท้องทะเลที่อุดมสมบุรณ์ มืดมิด หนาวเย็น และกดดัน
พื้นดินท้องทะเล เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีป คำยากๆ เหล่านี้กำลังจะกลายเป็นประเด็นเปราะบางทางภูมิรัฐศาสตร์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เล่ารอบโลกตอนนี้ขอนำคุณผู้ฟังไปทำความรู้จักกับ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (United Nations Convention on the Law Of the Sea: UNCLOS) เพื่อปูพื้นในการทำความเข้าใจ ความขัดแย้งแห่งโลกบาดาลที่อาจจะกำลังก่อตัว ณ เวลานี้
จุดจบของสามก๊กแบบ Anti-Climax นั่นคือ ทั้งสามก๊ก ล้วนแล้วแต่พ่ายแพ้ด้วยกันทั้งสิ้น บุรุษผู้ที่สามารถโค่นล้มจักรพรรดิทั้ง 3 ของสามก๊กได้กลายเป็นขุนศึกมากความสามารถ นาม สุมาอี้ และลูกหลานของพวกเขา ใครคือ สุมาอี้ เล่ารอบโลกตอนนี้มีคำตอบ
เพื่อล้างแค้นให้กวนอูที่ถูกสังหาร เล่าปี่รวบรวมกองทัพขนาดใหญ่ที่มีกำลังพลกว่า 75,000 นาย หมายจะขยี้ทีมซุนกวนให้แหลกราญ หากแต่นี่คือการกระทำแบบเลือดเข้าตา หน้ามืด โดยไม่ฟังคำทัดทานของมหากุนซืออย่างขงเบ้ง ศึกครั้งนี้ คืออีกหนึ่งศึกสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์แผ่นดินจีนไปตลอดกาล
สมรภูมิที่ใช้องค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ และภูมิอากาศได้อย่างชาญฉลาด และนี่คือสมรภูมิที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ระหว่างกองทัพเรือที่มีแสนยานุภาพที่สุดในประวัติศาสตร์จีนที่นำโดยมหาขุนนางโจโฉ เข้าห้ำหั่นกับพันธมิตรซุนกวน เล่าปี่ที่แม้จะเกลียดแต่ก็ต้องจำยอมร่วมมือกัน ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นหลังสมรภูมิ คือ สถานการณ์สามก๊กอย่างสมบูรณ์ที่ต่างฝ่ายต่างถ่วงดุลอำนาจและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากันในทุกรูปแบบ
วุยก๊กที่นำโดย โจโฉ ทางตอนเหนือ กำลังเริ่มต้นสร้างฐานอำนาจหาความชอบธรรม ง้อก๊ก โดยซุนกวนทางตอนใต้ที่มั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ จ๊กก๊ก ที่นำโดยเล่าปี่ก็กำลังเริ่มต้นสร้างเนื้อสร้างตัว ผ่านการรวบรวมคนที่เก่งที่สุด จากทั้งหมด 196 ศึกที่กลายเป็นมหาสงครามสามก๊ก
วันนี้เรามาทำความรู้จัก ศึกกวนต๋อ ศึกสำคัญที่จะทำให้โจโฉสามารถสถาปนาอำนาจของเขาขึ้นมาได้
จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากความอ่อนแอของราชวงศ์ฮั่น สู่การแตกสลายของแผ่นดินจีนในช่วง ค.ศ.220 - 280 จับความจนถึงการลอบสังหารตั๋งโต๊ะโดยบุตรบุญธรรมของตนเอง เพียงเพราะหลงไหลในเสน่ห์ของหญิงงาม ติดตามในรายการ เล่ารอบโลก
อวกาศ คือ พรมแดนสุดท้าย แน่นอนว่าพรมแดน คือ พื้นที่ภูมิศาสตร์ใหม่ที่ห่างไกลที่สุด มันหมายถึงโอกาสมหาศาลทางภูมิเศรษฐศาสตร์ และในขณะเดียวกันมันก็เป็นพื้นที่ไร้ขื่อแป และเต็มไปด้วยความรุนแรงที่สุดในทางภูมิรัฐศาสตร์เช่นกัน
ความขัดแย้งนั้นเริ่มตั้งเค้าแล้วในโครงการที่จะพามนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งในนาม Artemis
คำถามสำคัญคือ ท่ามกลางผลประโยชน์ ทางกลางความขัดแย้งนี้ ไทยเรามีการวางภูมิยุทธศาสตร์ที่ต้องรู้เท่าทันมิติเหล่านี้เพียงใด?
เมื่อจีนขอเข้าร่วมโครงการ ISS แต่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีด้วยเหตุผลความมั่นคง นี่จึงกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญให้จีนพัฒนาสถานีอวกาศของตนเองในนาม "เทียนกง พระราชวังแห่งสวรรค์"
.
และเมื่อความขัดแย้งในสนามรบที่ยูเครน ลุกลามขึ้นไปจนทำให้อังกฤษต้องการขับรัสเซียออกจากสถานีอวกาศนานาชาติ รัสเซียก็ตอบกลับว่า ถ้ารัสเซียออก ISS ก็จะร่วงลงสู่พื้นโลก พันธมิตรตะวันตกจะรับมือไหวหรือ กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นและเดินหน้าออกจาก ISS ในปี 2024
.
การเมืองภูมิรัฐศาสตร์อวกาศกำลังจะทำให้ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์แตกแยกอีกครั้ง
แม้โครงการอะพอลโลจะถูกยุติด้วยการเมืองภายในของสหรัฐฯ แต่ผลประโยชน์มหาศาลทางเศรษฐกิจที่ต่อยอดจากวิทยาศาสตร์อวกาศ ก็นำมวลมนุษยชาติให้กลับมาจับมือได้อีกครั้งในนาม “สถานีอวกาศนานาชาติ ISS”
แต่จนแล้วจนรอด ความขัดแย้งครั้งใหม่ในทางภูมิรัฐศาสตร์อวกาศ Astropolitik ก็เกิดขึ้น ปูพื้นทางทฤษฎีก่อนที่จะได้รับรู้ความเสี่ยงอีกครั้ง ที่จะนำไปสู่การเมืองเรื่องสถานีอวกาศนานาชาติ
เราสามารถขึ้นไปประกาศว่าดวงจันทร์เป็นอาณานิคมของเราได้หรือไม่ หากสถานีอวกาศที่ปลดประจำการแล้วตกใส่หลังคาบ้านเรา เราต้องแจ้งความดำเนินคดีกับใคร ทำอย่างไรไม่ให้การแข่งขันทางอวกาศ (Space Race) ลุกลามกลายเป็นสงครามอวกาศ (Space War หรือ Star Wars)
คำตอบคือ เราต้องการกฎหมายอวกาศ (Space Laws)
อวกาศ คือ พรมแดนสุดท้าย อวกาศ คือ ความก้าวล้ำนำหน้าที่สุดทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของมวลมนุษยชาติ แต่ในขณะเดียวกัน อวกาศคือการเมือง สงครามเย็นคือฉากหลังของการแข่งขันกันส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ส่งสุนัขขึ้นสู่วงโคจร ส่งมนุษย์ขึ้นสู่วสงโคจร ไปจนถึงส่งมนุษย์คนแรกไปดวงจันทร์ และอวกาศมีจุดเริ่มต้นจากสงคราม ที่เกิดขึ้นจากความปรารถนาในการแก้แค้น
ติดตามเรื่องทั้งหมดนี้ได้ใน รายการเล่ารอบโลก กับ รศ. ดร.ปิติ ศรีแสงนาม
ภารกิจที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดของเสด็จเตี่ย คือ การวางรากฐานให้กองทัพเรือไทยมีแสนยานุภาพเข้มแข็งที่สุดในภูมิภาค ตั้งแต่การเดินทางไปเลือกซื้อ เรือรบหลวงพระร่วง อภิมหาโครงการ Public-Private Partnership ด้านความมั่นคงครั้งแรกของสยามประเทศ ไปจนถึงการวางทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่ยังคงเข้มแข็งอยู่ในจุดศูนย์กลางของมหายุทธศาสตร์ Indo-Pacific ได้อย่างดีแม้ในศตวรรษที่ 21 และยังเล่าถึงว่าในตอนท้ายแล้วความขัดแย้งระหว่าง ร.6 และกรมหลวงชุมพรฯ ก็จบลงอย่างดี และทั้ง 2 พระองค์ คือพี่น้องที่รักใคร่กันอย่างสนิทที่สุดตราบจนวันสุดท้ายของชีวิต
ยุคหมอพร เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ต้องออกจากราชการ อะไรคือสาเหตุ ความขัดแย้งระหว่างล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 มีมูลความจริงเพียงใด หลักฐานจากบันทึกส่วนพระองค์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 จะเป็นคำตอบในเรื่องนี้
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงประสูติในช่วงเวลาเพียง 6 ปีก่อนวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 หัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง ความมั่นคงและการต่างประเทศที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์สยามยุคใหม่ สยามจะสิ้นชาติ หรือจะก่อกำเนิดรัฐชาติสมัยใหม่ได้สำเร็จ ขึ้นกับการตัดสินใจในช่วงเวลาสำคัญนี้ บุคคลสำคัญที่วางรากฐานให้ไทยมีแสนยานุภาพที่เพียงพอที่จะต้านทานมหาอำนาจได้ในเวลานั้น หนึ่งในบุคคลสำคัญท่านนั้น คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
อาณาจักรที่เกิดขึ้นพร้อมกับวงจรลูกฆ่าพ่อต่อเนื่องถึง 3 ชั่วคน แต่แล้วเมื่อล้างคำสาปได้ ความลงตัวทางอำนาจก็นำไปสู่การขยายมหาอาณาจักร จนมีนักประวัติศาสตร์บางสำนักถึงกับขนานนามอาณาจักรของสิงหส่าหรีว่าเป็น สหพันธรัฐอินโดนีเชีย ครั้งที่ 1 แต่แล้วความยิ่งใหญ่ที่คุมการค้าเครื่องเทศทางทะเลได้ทั้งหมดของอุษาคเนย์กลับกลายเป็นภัยคุกคาม เมื่อความมั่งคั่งทำให้เรดาห์ของ ข่านแห่งมองโกล หรือ ราชวงศ์หยวนของจีนต้องการให้เข้ามาสวามิภักดิ์
เส้นทางการค้าที่เปลี่ยนไป เส้นทางของแม่น้ำที่เปลี่ยนไป นำไปสู่การสร้างถิ่นฐานบ้านเมืองใหม่ หากทำเลที่ตั้งดีพร้อม จากทำมาหากินก็กลายเป็นทำมาค้าขาย และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ก็นำไปสู่การขยายอิทธิพลทางการเมือง การสู้รบระหว่างอาณาจักรนำไปสู่วังวนของการผลัดกันขึ้นและลงจากอำนาจ พบกับเรื่องราวดุจนิยายนี้ได้ ในสังเขปประวัติศาสตร์ชวา ยุค 3 อาณาจักร
หมุดหมายสำคัญของอาณาจักรชวาในราชวงศ์สัญชัย เริ่มต้นในศตวรรษที่ 5 ชวากลายเป็นหมุดหมายสำคัญของการค้า และการเดินทางจาริกแสวงบุญ ซึ่งบุคคลในตำนานที่ทำให้เรารู้จักมหาอาณาจักรแห่งนี้คือ พระถังซัมจั๋ง แต่แล้วเมื่อถึง ศตวรรษที่ 8 อาณาจักรพุทธแห่งใหม่ก็ขยายอิทธิพลขึ้นมานั่นคือ อาณาจักรไศเลนทร์ ซึ่งอาณาจักรแห่งนี้คือต้นทางสำคัญของการถ่ายทอดเทคโนโลยี สังคม สถาปัตยกรรม และความเชื่อ อันจะถ่ายทอดไปสู่ อาณาจักรเขมรโบราณ
อาณาจักรศรีวิชัยที่เริ่มต้นในศตวรรษที่ 5 และเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดในศตวรรษที่ 8 กำลังจะต้องเผชิญกับจุดเริ่มต้นของจุดจบในศตวรรษที่ 11 เมื่อตั้งตนเป็นปรปักษ์กับทั้งอินเดีย และจีน จุดศูนย์กลางการค้า และระบบการค้าที่เปลี่ยนไปยังอาณาจักรใหม่ในภาคพื้นทวีปในนาม อยุธยา ที่ยอมรับระบบการค้าแบบจิ้มก้อง (จิ้มก้อง (進貢) จิ้ม (進) แปลว่า ให้, ก้อง (貢) แปลว่า ของกำนัล, จิ้มก้อง จึงหมายถึง การเจริญทางพระราชไมตรีด้วยการถวายเครื่องราชบรรณาการ) พร้อมๆ กับที่อินเดียต้องการคุมอ่าวเบงกอล และสงครามที่ต่อเนื่องยาวนานข้ามช่องแคบกับชวา ทำให้ในที่สุดมหาอาณาจักรแห่งนี้ปิดฉากลงในปลายศตวรรษที่ 14
ตลอดศตวรรษที่ 7-11 ศรีวิชัยคือจุดศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลที่เชื่อมโยงอ่าวเบงกอลเข้ากับทะเลจีนใต้ การค้า การลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนการจาริกแสวงบุญ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากบันทึกของหลวงจีนอี้จิง ผู้เดินทางไปนำพระพุทธศาสนาจากอินเดียไปสู่จีน ภิกษุอิ้จิงใช้เวลา 6 เดือนในอาณาจักรแห่งนี้เพื่อเรียนภาษาสันสกฤต ก่อนจะไปอยู่อินเดีย 15 ปี และในขากลับ อี้อิงใช้เวลาอีกถึง 10 ปี ณ ศรีวิชัยเพื่อแปลคัมภีร์จากสันสกฤตเป็นภาษาจีน
ร่วมเรียนรู้ความรุ่มรวยแห่งอาณาจักรศรีวิชัยไปพร้อมกัน
การเกิดขึ้นและเสื่อม ของ 2 อาณาจักร บน 2 เกาะสำคัญ ศรีวิชัยแห่งสุมาตรา และ มะตะลัม แห่งชวา จากจุดแข็งทางภูมิศาสตร์ ส่งเสริมให้เกิดการค้า แต่ในที่สุดก็กลายเป็นจุดเปราะบางทางทำเลที่ตั้งที่ทำให้มหาอำนาจเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการภายใน เรียนรู้ประวัติศาสตร์ แล้วย้อนดูสถานการณ์ปัจจุบัน
เส้นทางการค้าสายไหมเชื่อมโยงเอเชีย และยุโรปเข้าด้วยกัน อาณาจักรต่างๆ ต่างก็ใช้จุดแข็งทางภูมิศาสตร์ของตนในการสร้างหมุดหมายในเส้นทางการค้าโบราณสายนี้ เช่นเดียวกับนุสันธารา และสุวรรณภูมิ ความเชื่อมโยงของอินโดนีเซีย และไทย ในเส้นทางการค้าโลกเมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้ว
อินโดนีเซีย ประเทศที่มีขนาดใหญ่พอๆ กับสหรัฐอเมริกา มีเวลาห่างกันถึง 3 TimeZone เป็นประเทศที่มีหมู่เกาะจำนวนมากที่สุดในโลกถึง 17,508 เกาะ และมีประชากรอยู่รวมกันมากกว่า 270 ล้านคน ถือเป็นดินแดนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เล่ารอบโลก ตอนนี้ขอสรุปภาพประวัติศาสตร์ย้อนหลังของดินแดนมหัศจรรย์แห่งนี้ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1.6 ล้านปีที่แล้ว จนถึง เมื่อเข้าสู่ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อให้เราได้รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียนแห่งนี้ ดียิ่งขึ้น
เชื่อหรือไม่ว่า บางบ้านไหว้ตรุษจีน 15 วัน บางวันต้องไหว้ 3 เวลา และบางทีต้องตื่นมากลางดึก เพื่อเอากระเป๋าสตางค์ออกมาไหว้เจ้า ในขณะที่วันตรุษจีน ของบางอย่างกินแล้วดี บางอย่างต้องกินเฉพาะบางวันเท่านั้น รวมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ความทรงจำของลูกไทยเชื้อสายจีน ฟังในเล่ารอบโลก
ทำไมเราต้องเฉลิมฉลองตรุษจีน… ที่มาของวันสำคัญนี้ ทำไมต้องวันนี้ ทั้งที่ตลอดทั้งปีมีตั้ง 365 วัน แล้วคนจีน เขาทำอะไรกันบ้างในวันเฉลิมฉลองเหล่านี้ ที่สำคัญคือ ฉลองกันกี่วัน วันไหนทำอะไรได้ วันไหนไม่ควรทำอะไร รวมทั้ง ภาษาจีนแต่ละสำเนียงพูดอวยพรกันว่าอย่างไร เล่ารอบโลกมีคำตอบ
เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมวันเพ็ญ แต่พระจันทร์กลับไม่เต็มดวง แล้วทำไปบนหน้าปกปฏิทินจีนต้องมีรูปค้างคาว ส่วนชื่อเดือนของไทยเริ่มเมื่อไร ที่เราเปลี่ยนจากเดือนอ้าย เป็นมกราคม เชิญรับฟังในรายการเล่ารอบโลก
หนึ่งในสิ่งที่เรามักจะมอบให้กันในเทศกาลปีใหม่ คือ ปฏิทิน ทั้งปฏิทินไทย ปฏิทินจีน ปฏิทินพราหมณ์ ปฏิทินตั้งโต๊ะ ปฏิทินแขวนผนัง บางคนนิยมดูปฏิทินบ่อยๆ จ้องทีละนานๆ ในช่วงใกล้ๆ วันที่ 1 และ วันที่ 16 ของทุกเดือน แต่ทราบหรือไม่ว่า ปฏิทิน มีกำเนิดอย่างไร
เล่ารอบโลก มีคำตอบ
ภารกิจการออกเดินทางไปปราบปีศาจยังดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของเด็กชายจากลูกพีชเริ่มต้นขึ้่นแล้ว การสอดแทรกคุณธรรม และมารยาทของญี่ปุ่นผ่านตัวละครสำคัญ อย่าง ลิง หมา และไก่ฟ้า จะเป็นอย่างไร ขอเชิญติดตามในรายการเล่ารอบโลก
เชื่อว่าหลายๆ ท่านเคยได้ยินชื่อ โมโมทาโร่ หรือ เด็กชายจากลูกพีช ซึ่งเป็นนิทานของประเทศญี่ปุ่นมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย แต่เคยฟังเรื่องราวฉบับเต็มกันหรือไม่
โมโมทาโร่ เป็นนิทานเด็กที่มีที่มาจากจังหวัด Okayama ทางตะวันตกของญี่ปุ่นที่เล่ากันมาตั้งแต่ ยุค Muromachi (ร่วมสมัยกับอยุธยา) และยังเล่ากันต่อเนื่องให้เด็กญี่ปุ่นฟังกันจนมาถึงทุกวันนี้
แต่เชื่อหรือไม่ว่า นิทานเด็กเรื่องนี้ ในช่วงสงครามได้ถูกนำไปใช้สร้าง Propaganda จนบุตรชายชาวญี่ปุ่นจำนวนมากพร้อมที่จะเดินทางออกไปสู้รบกับคนที่ถูกมองว่าเป็นศัตรูของชาติ จนนำพาญี่ปุ่นเข้าสู่ลัทธิจักรวรรดิ์นิยม และพ่ายแพ้อย่างย่อยยับในสงครามโลกครั้งที่ 2
เมื่อโลกเข้าสู่กลียุค คนเลวครองเมือง พระนารายณ์จึงอวตารลงมาเป็น อัศวินขี่ม้าขาว ที่น่าสนใจคือ ไม่เพียงพราหมณ์ฮินดูเท่านั้น ที่กล่าวถึง อัศวินขี่ม้าขาว ศาสนาในกลุ่ม Abrahamic ไม่ว่าจะเป็น ยิว คริสต์ อิสลาม ต่างก็เฝ้ารอ อัศวินขี่ม้าขาว เช่นกัน
เรื่องราวของการปฏิรูปศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ที่ต้องการกลืนศาสนิกของพระพุทธศาสนาให้กลายเป็นศาสนิกของตน ทับซ้อนกับการสร้างจักรวาลที่ในความเป็นจริง นารายณ์ ก็มิใช่มหาเทพสูงสุด หากแต่เป็นเพียงเทพชั้นรอง ที่ยังต้องเคารพบูชา เทพชั้นที่เหนือกว่า นั่นคือ พระศิวะ อุบายซ้อนอุบายในการปฏิรูปศาศนา ที่เกิดขึ้นในคัมภีร์ชั้นหลัง จะมีเรื่องราวที่เข้มข้นอย่างไร เชิญรับฟังในรายการ เล่ารอบโลก
ท่ามกลางมหาสงครามแห่งการล้างพงศ์พันธุ์ มหาภารตยุทธ กฤษณะ คือสารถีและที่ปรึกษาของอรชุน Hero ฝ่ายปาณฑพ ผู้เก่งฉกาจ แต่บางครั้งก็ยังคงไว้ซึ่งความลังเลสงสัย บทบาทของพระกฤษณะในการลบล้างความลังเลนี้จะเป็นอย่างไร และในที่สุดอุบายของกฤษณะทำให้ฝ่ายปาณฑพเอาชนะในมหาสงครามได้อย่างไร รวมทั้งจุดจบของพระกฤษณะเองจะเป็นอย่างไร ขอเชิญติดตามในรายการเล่ารอบโลก
อวตารของพระนารายณ์ปางนี้ คือ ปางที่มีสีสัน มีความเป็นมนุษย์สูงที่สุด พระราม หรือ รามาวตาร อาจจะเป็นสัญลักษณ์ของความดีงาม ความถูกต้อง เที่ยงธรรม แต่นั่นก็ดูจะห่างไกลจากธรรมชาติแท้จริงของมนุษย์ ในขณะที่พระกฤษณะ หรือ กฤษณาวตาร คือ ปางที่มีรัก โลภ โกรธ หลง แต่ก็เปี่ยมด้วยคุณธรรมอย่างครบถ้วน ชีวิตในวัยหนุ่มของพระกฤษณะจึงเป็นที่หลงไหล และตรึงใจคนอินเดียมาได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
พระกฤษณะ คือ มหาเทพที่ชาวอินเดียและผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูรักมากที่สุด ความคิดนี้ถ่ายทอดมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เพราะต้องอย่าลืมว่า ในเวลาที่เราสถาปนา "กรุงเทพทวารวดี ศรีอยุธยา" เป็นจุดศูนย์กลางอำนาจของสยามนั้น ชื่อ อยุธยา มาจากเมืองอโยธยาของพระราม ในมหากาพย์รามายณะ (นารายณ์อวตารปางที่ 7) ในขณะที่ ทวาราวดี ก็คือ เมืองของพระกฤษณะในนารายณ์อวตารปางที่ 8 นี้เอง
การอวตารของพระองค์มีที่มาที่ไปอย่างไร ติดตามได้ใน EP. นี้
เคยสงสัยหรือไม่ว่า ระหว่างวรรณะพราหมณ์ กับวรรณะกษัตริย์ ใครใหญ่กว่ากัน ใครมีอำนาจกว่ากัน แน่นอนว่าการสร้าง Narrative หรือคำบอกเล่า เพื่อให้ทั่วทั้งจักรวาลพราหมณ์ฮินดู เชื่อว่ากษัตริย์จะใหญ่แค่ไหนก็แพ้วรรณะพราหมณ์อยู่ดี ก็เกิดปฏิบัติการจิตวิทยา ปฏิบัติการข่าวสารข้อมูล เพื่อสร้างความชอบธรรมให้พราหมณ์แบบนี้ จะมีอะไรดีไปกว่า การเล่าว่า พราหมณ์ที่เป็นนารายณ์อวตารลงมา ทำหน้าที่ล้างบางวรรณะกษัตริย์ให้หมดสิ้นไป และพราหมณ์นั่นแหละ คือผู้สร้างวรรณะกษัตริย์ ขึ้นมาใหม่
ปรศุราม หรือ "ราม" พราหมณ์ผู้ชาญฉลาดและมีขวานเพชร (ปรศุ) ของพระศิวะเป็นอาวุธ ที่มาของเขาเป็นใคร ทำไมเขาถึงมีฤทธิ์ และความชาญฉลาดของเขาเป็นที่กล่าวถึงเพราะได้พิสูจน์ตัวตนอย่างไร
ในขณะตัวคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่งในอวตารปางนี้ นั่นคือ "อรชุน" เขาผู้นี้เป็นใคร ทำไปถึงมีฤทธิ์แกร่งกล้าเสียจนต้องใช้อวตารของพระนารายณ์มาปราบ
เล่ารอบโลก ตอนนี้ ขอนำเสนอกำเนิด 2 ตัวละครสำคัญในอวตารปางที่ 6 ของพระนารายณ์ ปรศุรามาวตาร
Multiverse of Madness!!! เมื่อ timeline ในจักรวาลพราหมณ์ฮินดู ทับซ้อนเรื่องราวในอวตารปางที่ 2-3-4-5 มาประสานกัน เมื่ออสูรที่มีจิตใจรักษาธรรมเกิดหลงผิด และเมื่อเทวดาถ้าจะแพ้อสูรอีกรอบ
พระนารายณ์ที่อวตารลงมาเป็นเพียงคนแคระ จะเผชิญวิกฤตนี้อย่างไร ติดตามในเล่ารอบโลก ตอน นารายณ์อวตาร วามานวตาร
หากมีอสูรร้ายที่ขอให้ ใครมาฆ่าก็ไม่ตาย ไม่ว่าจะเป็นคน เทวดา หรือไม่แต่สัตว์ป่า อาวุธใดๆ ในโลกก็ไม่สามารถฆ่าอสูรตนนี้ได้ พร้อมๆ กับที่จะไม่มีวันตายในเวลากลางวัน และก็จะไม่ยอมตายในเวลากลางคืน รวมทั้ง จะไม่ตายทั้งในบ้าน และนอกบ้าน
สำหรับอสูรที่คิดมาอย่างรอบคอบก่อนขอพรจากพระพรหมมาขนาดนี้ (ซึ่งก็ไม่เข้าใจเช่นกันว่า พระพรหม ประทานพรแบบนี้ได้อย่างไร) แล้วพระนารายณ์จะปราบอสูรร้ายตนนี้อย่างไร เชิญชวนรับฟังในเล่ารอบโลก
หลังจากกวนเกษียรสมุทรจบสิ้นในนารายณ์อวตารปางที่ 2 โลกเข้าสู่สมดุลใหม่ พระนารายณ์กลับสู่ทะเลน้ำนม เพื่อเข้าบรรทมสินธุ์อีกครั้ง หากแต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น และปมประเด็นในครั้งนี้ ที่ในความเป็นจริงก็เกิดขึ้นจากพระนารายณ์เอง กลับนำไปสู่ภารกิจสำคัญที่ทำให้พระนารายณ์ต้องเหนื่อยยากลำบากกาย อวตารลงมาอีกถึง 3 รอบ วรหาวาตาร นรสิงหาวตาร และ รามาวาตาร
เรื่องราวของพระนารายณ์ในรูปของหมูป่าวราหะ จะเป็นอย่างไร เชิญรับฟังได้ที่นี่
น้ำท่วมโลกคือความเชื่อที่เกิดขึ้นในทุกแอ่งอารยธรรมทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของโนอาห์ ในกลุ่มศาสนาอับราฮัม (ยิว คริสต์ อิสลาม), ในตำนานเทพเจ้าจีน หนี่วา, ในมหากาพย์กิลกาเมส, ตำนานเทพปกรณัมกรีก, หรือแม้แต่ตำนานน้ำเต้าปุงของลาวทางตอนเหนือ ในขณะที่จักรวาลพราหมณ์ฮินดูเล่าเรื่องนี้ไว้ในคัมภีร์ปุราณะ ว่าด้วยอวตารปางที่ 1 ขององค์พระนารายณ์ในนาม มัสยาวตาร
นอกจากพระนารายณ์ พระศิวะ และพระพิฆเนศ ที่อวตารลงมาบนโลกแล้ว มเหสีของ 3 เทพผู้ยิ่งใหญ่ อุมา (ภรรยาของศิวะ) ลักษมี (ภรรยาของวิษณุ) และ สรัสวตี (ภรรยาของพรหม) ก็ยังอวตารลงมาด้วยเช่นกัน
และไม่น่าเชื่อว่า การอวตารของพระแม่ทั้ง 3 องค์ ซึ่งหมายถึง การขจัดความชั่วร้าย การสร้างความมั่งคั่ง และการเสริมสร้างสติปัญญา ในเทศกาล นวราตรี วันขึ้น 1 ค่ำ - วันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของชาวอินเดีย จะเป็นการเชื่อมโยง และสร้างประเพณี ถือศิลกินเจ ให้กับ ชาวไทยเชื้อสายจีน
ฟังเรื่ององค์เทพอวตารกันต่อ พระพิฆเนศเองก็อวตารเช่นกัน เทพเจ้าแห่งความสำเร็จจุติมาบนโลกต่างกรรมต่างวาระ ทั้ง 8 รอบ เพื่ออะไร มาเข้าใจปริศนาธรรมแห่งพระพิฆเนศไปพร้อมกัน ในรายการเล่ารอบโลก
ไม่ได้มีแต่พระนารายณ์เท่านั้นที่อวตารลงมาปราบยุคเข็ญ พระศิวะก็อวตารลงมาเช่นกัน โดยเฉพาะอวตารลงมาปราบพระนารายณ์อีกครั้ง ปราบพระพรหม และเชื่อหรือไม่ว่า อวตารของพระศิวะยังคงทำหน้าที่ดูแลมนุษย์อยู่จนถึงทุกวันนี้ ในรูปของขุนศึกชาญสมรที่คนไทยรู้จักดีที่สุด นั่นคือพระหนุมาน
พบกับเรื่องราวของการอวตารทั้ง 6 ปาง ของพระศิวะ ตามความเชื่อของไศวนิกาย ในรายการเล่ารอบโลก
Laal Singh Chaddha คือหนึ่งในภาพยนตร์ที่ผมอยากดูมากที่สุดในรอบหลายๆ ปี หนังเรื่องนี้ใช้เวลามากกว่า 10 ปีในการพัฒนาบทเพื่อสร้าง Forrest Gump ใน Bollywood version ปรับบริบทประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของสหรัฐฯ ให้กลายเป็นเรื่องราวที่คู่ขนานไปกับประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของอินเดีย หนังเรื่องนี้ใช้เวลาอีก 10 ปีในการซื้อสิทธิในการสร้างจาก Hollywood และยังใช้เวลาอีกมากกว่า 2 ปีที่ต้องล่าช้าในการผลิตเนื่องจากโควิด และที่อยากจะเชิญชวนให้คุณผู้ฟังสนใจภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยเฉพาะคุณฟังที่จะทำการค้า การลงทุน หรือมีโอกาสทำงานร่วมกับคนอินเดีย หรือไปประเทศอินเดีย นั่นก็เป็นเพราะหลักคิดสำคัญที่ทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอินเดียมาโดยตลอด นั่นคือ
อินเดียคือมหาอำนาจของโลก เข้าใจอินเดียจึงมองเห็นโอกาส จะเข้าใจอินเดียต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม วิธีการที่จะเข้าใจสิ่งนี้ด้วยเวลาที่สั้นที่สุด และง่ายที่สุด คือการชมภาพยนตร์
น้ำอมฤต บังเกิดขึ้นแล้ว แต่เราจะปล่อยให้อสูรเป็นอมตะ แล้วมหาสงครามระหว่างเทวะ-อสูร จะไม่มีวันสิ้นสุดได้อย่างไร?
Endgame ของพระนารายณ์จะมาในรูปแบบไหน?
ทำไมงูจึงมีลิ้น 2 แฉก?
เพราะเหตุใด อสูร ถึงปฏิญาณตนว่าจะไม่กินเหล้าอีกต่อไป?
แค้นฝังหุ่นระหว่าง ราหู vs ทีมพระจันทร์-พระอาทิตย์ มันเริ่มขึ้นที่ตรงไหน?
เล่ารอบโลก ตอนนี้มีคำตอบ
ทำไมพระศิวะถึงมีคอเป็นสีดำ?
พระศิวะได้พระจันทร์เป็นปิ่นปักมวยผมได้อย่างไร?
ทำไมความรักของชาวฮินดูถึงเป็นสีดำ?
เพชรเม็ดใหญ่ที่กลางอกของพระนารายณ์ ท่านเอามาจากไหน?
ช้างของพระอินทร์ที่มี 3 เศียร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เช่นเดียวกับม้าทรงของพระอาทิตย์ที่มีตั้ง 7 เศียร ของประหลาดแบบนี้มีที่มาจากไหน?
และที่สำคัญคือ ตกลง กวนเกษียณสมุทร แล้วได้ น้ำอมฤต จริงหรือไม่
เล่ารอบโลก ตอนนี้ มีคำตอบ
หลังจากเดินผ่านยักษ์เฝ้าสนามบินทั้ง 12 ตนที่เคาน์เตอร์เช็คอิน สนามบินสุวรรณภูมิ เราก็จะเโอนเข้าสู่ห้องโถงผู้โดยสารขาออก และที่นั้นเอง เราก็จะพบกับประติมากรรมที่สวยที่สุดอีกชิ้นหนึ่ง นั่นคือ เทวตำนานการกวนเกษียรสมุทร
หลายๆ ท่านคงจะสงสัยว่า ทำไมต้องมีทั้งพระนารายณ์ เทวดา อสูร พญานาค และที่สำคัญคือ เต่ายักษ์... พวกเขามารวมตัวกันทำไม เกษียณสมุทรต้องกวนด้วยหรือ แล้วกวนกันอย่างไร นอกจากน้ำอมฤตแล้ว ยังมีของวิเศษอื่นๆ อีกหรือไม่
เล่ารอบโลกตอนนี้ มีคำตอบ
ใครๆ ที่เคยเดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ คงจะสังเกตนะครับว่า มีประติมากรรมรูปยักษ์ 12 ตน ยืนอยู่ในห้องโถงผู้โดยสารขาออก ที่ชั้น 4
วันนี้จะมาเล่าให้ฟังครับ ว่าเขาเป็นใครบ้าง ทำไมต้องมายืนตรงนี้ แล้วเขาเป็นชุดเดียวกันกับยักษ์ที่วัดพระแก้วหรือไม่
เล่าให้ครบทั้งในมิติภูมิปัญญา ความเชื่อ ตำนาน และ ศาสนาพุทธ พราหมณ์ ผี แบบไทยๆ
หลายๆ คนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ เป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระยะยาว คงยังไม่กระทบต่อชีวิตของพวกเรา ณ ปัจจุบัน
แต่ในความเป็นจริงการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศไม่ใช่ประเด็นท้าทายทางสิ่งแวดล้อม หากแต่เป็นประเด็นทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากกว่าที่คิด เชิญรับฟังและวางแนวทางเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน ในรายการเล่ารอบโลก
ภาพ VDO clip การช่วยเหลือช้างแม่ลูกที่แสดงความผูกพันระหว่าง ช้าง แม่ ลูก และมนุษย์ กลายเป็นความประทับใจ และ viral ทั่วทั้งโลก online
วันนี้เรามาทำความรู้จัก ช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมือง ในหลากหลายมิติ ตั้งแต่ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ การกู้บ้านกู้เมือง จนถึง การบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ อย่างยั่งยืน เพื่อให้ช้างอยู่คู่กับประเทศไทยตลอดไป
ทันทีที่สิ้นเสียงปืน 2 นัด ประเทศญี่ปุ่นจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล ขอร่วมรำลึกการจากไปของอดีตนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ด้วยการย้อนรำลึกถึงยุทธศาสตร์ สังคม 5.0 ที่เกิดขึ้นในปี 2016 ยุทธศาสตร์ที่หากนำมาปรับใช้ และทำให้ได้ประสิทธิผล เรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นนี้ อาจหลีกเลี่ยงได้
2 กรกฎาคม 1997 คือ วันที่เป็นหมุดหมายของการเริ่มต้นเข้าสู่ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ 1997 Asian Financial Crisis อย่างเป็นทางการ จากการตัดสินใจประกาศเปลี่ยนแปลงระบบปริวรรคเงินตราของธนาคารแห่งประเทศไทย จากระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่แบบตะกร้าเงิน สู่การปล่อยให้ค่าเงินบาทสามารถปรับตัวได้ตามกลไกตลาด ฝีหนอง มะเร็งร้ายที่กัดกร่อนระบบเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจอาเซียนที่พุพองมาเป็นเวลานาน ได้เวลาแตกออก ฝันร้ายของวิกฤตการณ์ทางการเงิน ที่ลุกลามจนกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ต้นตอของวิกฤตที่แฝงตัวซ่อนเร้นอยู่ท่ามกลางการเจริญเติบโต เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอย่างน้อยเกินกว่าครึ่งทศวรรษ เล่ารอบโลกจะมาขยายให้ฟังถึงสถานการณ์อันเป็นปฐมบทของวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย
หลังจากผ่านมาแล้ว 240 ปี กรุงเทพฯ กรุงสยาม ประเทศไทย คือมหาอำนาจกลาง ที่ทั่วโลกจับตามองด้วยความสนใจยิ่ง
ติดตามฟัง เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
อาหารญวน วัดญวน อานามสยามยุทธ การหนีร้อนมาพึ่งเย็น ทั้งจากการเมืองภายใน จนถึงความขัดแย้งทางศาสนา จนถึงการก่อเกิดของกองทัพเวียดมินห์ และการขับไล่ฝรั่งเศส
ฟังเรื่องราวของชาวญวน หรือชาวเวียด ที่เข้ามาในสยามจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสยาม
ในรายการ เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
เมื่อกล่าวถึง ชาวลาว นี่คือกลุ่มคนที่มีประชากรมากที่สุดในราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ลาว-ไทย ร่วมกันสร้างสยามมาตั้งแต่โบราณนานมา สำหรับชาวไทย เราเรียกคนจาก 2 พื้นที่ว่าเป็นคนลาว นั่นคือ ชาวเหนือจากอาณาจักรล้านนา และชาวอีสานจากอาณาจักรล้านช้าง แต่ในความเป็นจริงยังมีคนลาวอีกหลากหลายกลุ่มที่ร่วมกันสร้าง กรุงเทพฯ และประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ลาวเวียง ลาวพวน ลาวแง้ว ลาวโซ่ง ไททรงดำ ลาวพุงดำ ลาวภูครัง และ ลาวยวน
ติดตามฟังในรายการ เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
ปี 1804 ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ประสูติ ณ พระบรมมหาราชวัง ในใจกลางของเมืองบางกอก ในขณะที่อีกซีกโลกหนึ่ง เด็กชาย Dan Beach Bradley ถือกำเนิดในรัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา และในอีก 1 ปีต่อมา 1805 เด็กชาย Jean-Baptiste Pallegoix ก็ถือกำเนิดในอีกมุมของโลกที่ประเทศฝรั่งเศส
.
21 ปี ผ่านไป ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ ออกผนวชในรับพระนามฉายา "วชิรญาณภิกขุ" และไปจำพรรษาที่วัดราชาธิวาสฯ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ โบสถ์คอนเซปชั่น ในปี 1829 Jean-Baptiste Pallegoix ได้เดินทางมาในฐานะบาทหลวงเด็ก จนเติบใหญ่เป็นพระอธิการ ก่อนที่พวกเราจะรู้จักท่านในนาม พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ผู้แต่งพจนานุกรม 4 ภาษา ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศษ ละติน
.
ในขณะที่ในปี 1835 Bradley ที่เพิ่งเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ก็เดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนาโปรแตสแตนท์ในบางกอก จนเปิดโอสถศาลา รักษาโรค พร้อมสอนศาสนา จนทำให้คนสยามเรียกเขาว่า หมอบรัดเลย์ และคุณหมอเองก็นิยมที่จะเดินทางเข้าไปสนทนาเรื่องราวของวิทยาศาสตร์จากโลกใหม่ให้กับพระวชิรญาณภิกขุ ณ วัดราชาธิวาส
.
และที่นี่เองที่ทำให้ เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ที่ต่อไปจะกลายเป็นล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ได้เรียนรู้ศิลปวิทยาการของโลกตะวันตก จนพร้อมที่จะยืนขึ้นต่อรองกับมหาอำนาจของโลก และทำให้ไทยรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น
มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่น ไว้นี้ ฉันจะตีก้นเธอ... เชื่อหรือไม่ว่า มอญซ่อนผ้าไม่ใช่การละเล่นของชาวมอญ แต่เกิดจากที่คนไทยใกล้ชิดจนรู้ลึกไปถึงห้องนอนของชาวมอญว่ามีอะไรซ่อนอยู่...
เชิญรับฟังที่มาของเพลงนี้และเรื่องราวของชาวมอญในประเทศไทยได้จาก Podcast เล่ารอบโลก ตอนนี้
แม้มอญจะไม่ได้มีรัฐชาติเป็นประเทศแล้วในปัจจุบัน แต่วิถีชีวิต เอกลักษณ์ความเป็นชนชาติมอญที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ได้หล่อหลอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทย
ปัจจุบันมีชุมชนมอญจำนวนมากในประเทศไทยทั้งใน กรุงเทพฯ, พระประแดง สมุทรปราการ, เกาะเกร็ด นนทบุรี, สามโคม ปทุมธานี, สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ สังขละบุรี กาญจนบุรี ที่ยังคงสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของมอญเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ
กับกระแสภาพยนตร์ คังคุไบ ชาวไทยจำนวนมากเดินทางไปหาซื้อส่าหรี และเครื่องประดับแบบชาวภารตะมา Cosplay ย่านไหนที่พวกเราจะนึกถึงเมื่อไปซื้อสินค้าเหล่านี้ แน่นอนว่า พาหุรัด คือจุดหมาย และชื่อ พาหุรัด นี่เองก็มาจากคำว่า ภารตะ
ชาวภารตะคืออีกหนึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ทำมาค้าขาย อยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ และกลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ที่รุ่งเรืองพัฒนามาด้วยกัน
ชาวเอเชียใต้ในไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ พราหมณ์ มุสลิม และซิกข์ แต่กลุ่มที่เราอาจจะนึกไม่ถึงเช่น ฟาร์ซี อูรดู เปอร์เซีย เองก็มีรากร่วมกันและสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในภาษาที่คนไทยใช้สื่อสารกันในทุกวันนี้ด้วย
ติดตามเรื่องราวเหล่านี้ได้ ใน เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
จากเพลงกล่อมเด็กเขมรที่ได้ยินดังเป็น background อยู่ในชุมชนเขมรที่ตั้งรกรากอยู่ในหลายพื้นที่ของบางกอก ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สู่เพลงไทยเดิม "เขมรกล่อมลูก" และพัฒนาต่อจนกลายเป็นท้วงทำนองเพลงไทยที่คนไทยคุ้นหู ฮัมเพลงคลอตามได้โดยไม่ขัดเขิน ในนาม "เขมรไทรโยค"
นี่คือหลักฐานเชิงประจักษ์ของความใกล้ชิดสนิทสนมกันระหว่างคนไทยและคนเขมร ที่เป็น 2 กลุ่มชาติพันธุ์สำคัญในหลายๆ ชาติพันธุ์ที่ร่วมแรงร่วมใจสร้างเมืองหลวงแห่งราชอาณาจักรไทย ความภาคภูมิใจของไทยเกิดขึ้นจากการยอมรับความแตกต่างหลากหลาย หลอมรวมทุกชาติพันธุ์เข้าด้วยกัน
ติดตามฟังใน เล่ารอบโลก
"อ่อง อ๋องเอ อ๋อง อ่องกิมก๋อง กิมก๋องจอเหล่าเตีย" หลายคนคงเคยได้ยินเพลงกล่อมเด็กของชาวไทยเชื้อสายจีน เชื่อหรือไม่ว่าเพลงนี้น่าจะมีอายุยาวนาน มากกว่า 500 ปี และยาวนานพอๆ กับชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทยด้วย คนไทยเชื้อสายจีนมีประวัติความเป็นมาจากที่ไหน พวกเขาเข้ามาในไทยในช่วงเวลาใด พวกเขามาทำอะไร และพวกเขามาตั้งบ้านเรือนชุมชนอยู่ที่ไหน
เล่ารอบโลกตอนนี้ จะมาเล่าถึงชุมชนชาวจีน แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน ไหหลำ กวางตุ้ง และฮากกา ในประเทศไทย
240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ในฐานะจุดศูนย์กลางของราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์ที่มาของการตั้งเมืองหลวงแห่งนี้เป็นมาอย่างไร? กรุงเทพมหานคร คือ ชื่อสถานที่ที่ยาวที่สุดในโลก แต่พวกเรารู้ความหมายของชื่อของกรุงเทพฯ หรือไม่? และทำไมนานาชาติถึงเรียกเมืองหลวงแห่งนี้ว่า บางกอก?
พบกับเรื่องน่ารู้ของมหานครนานาชาติแห่งนี้
จากเศรษฐกิจดาวรุ่งที่ทั่วทั้งโลกจับตามองในช่วงทศวรรษ 2010 สู่ความวิบัติทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 1948
นโยบายประชานิยม ที่มาพร้อมกับการบริหารจัดการประเทศที่ผิดพลาด และการคอร์รัปชันจากเครือข่ายตระกูลการเมือง "ราชปักษา"
จะสร้างความเสียหายได้ขนาดไหน เชิญพบกับบทสรุปใน เล่ารอบโลก
จากการกดทับทางชาติพันธุ์ในศรีลังกา ระหว่างชาวสิงหล ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ 75% และชาวทมิฬ ซึ่งเป็นกลุ่มที่น้อยกว่ามีเพียง 11.2% นอกนั้นเป็นชาวมัวร์ ซึ่งสาเหตุที่เกิดความขัดแย้งเพราะมีอังกฤษเจ้าอาณานิคมเข้ามาเกี่ยวข้องในช่วงที่อังกฤษเข้ามาปกครองในศรีลังกาได้ให้สิทธิประโยชน์และใช้ชาวทมิฬในการควบคุมชาวสิงหล แต่เมื่อศรีลังกาได้รับเอกราช ปี1956 รัฐบาลชาตินิยมในขณะนั้น จึงมีแนวคิดที่จะทำให้ชาวสิงหลที่ถูกกดทับสามารถกลับมาเป็นชนชั้นหนึ่ง มีการออกกฎหมายที่เอื้อต่อการชาวสิงหลมาก และกดทับชาวทมิฬ ความไม่พอใจจึงถูกเก็บสะสม
จนก่อกำเนิด กองทัพปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม Liberation Tigers of Tamil Eelam และสงครามกลางเมืองยาวนาน 26 ปี ที่จบลงด้วยการขึ้นเถลิงอำนาจของ ครอบครัวราชปักษา ครอบครัวการเมืองที่ใช้แนวคิดชาตินิยม และพุทธหัวรุนแรงในการขึ้นครองครองเวทีการเมืองของประเทศศรีลังกา
ติดตามในเล่ารอบโลก กับ ปิติ ศรีแสงนาม
วิกฤตในศรีลังกา ณ ปัจจุบัน มิใช่จะเกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน หากแต่รากของปัญหาเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทั้งในมิติ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม-วัฒนธรรม...
เล่ารอบโลก ขอนำเอาประวัติศาสตร์ และเรื่องราวที่น่ารู้ของศรีลังกา ประเทศที่ใกล้ชิดกับคนไทยในทางศาสนา แต่กลับห่างไกลในความรับรู้ของคนไทยในมิติอื่นๆ มาเล่าให้ฟัง โดยตอนที่ 1 นี้ จะเล่าถึง ประวัติศาสตร์การเผยแผ่ศาสนา ลังกาวงศ์ ไทยรับพุทธศาสนามาจากศรีลังกา จนถึง "การก่อกำเนิดของพยัคฆ์ทมิฬ ELAM" ช่วงที่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์บนเกาะแห่งความอุดมสมบูรณ์นี้เกิดขึ้น เพราะนโยบายแบ่งแยกและปกครอง โดยเจ้าอาณานิคม
เล่ารอบโลก ตอนนี้ มาถึงภาคจบบริบูรณ์ของมหากาพย์รามายณะ ซึ่งจะมีเรื่องแทรก เรื่องเสริม เพื่อตอบคำถามสำคัญที่ผู้ฟังเกิดขึ้นตลอดทั้งการดำเนินเรื่องของ 6 กัณฑ์แรก ไม่ว่าจะเป็น กำเนิดทศกัณฐ์ และการสร้างเรื่องราวความเก่งกล้าสามารถของพญารากษตตนนี้ ที่แม้แต่เทวดาก็ไม่กล้าต่อกร ทั้งนี้เพื่อสร้างความเก่งกล้าสามารถให้พระรามที่สามารถเอาชนะพญามารตนนี้ได้
และกับคำถามสำคัญที่ว่า ทำไมทศกัณฐ์ จับสีดาไปอยู่นครลงกาได้ตั้งหลายปี แต่ทำไปไม่สามารถรวบหัวรวบหางเอานางมาเป็นภรรยาได้ และอธิบายความจำเป็นที่ทำให้พระรามจำเป็นต้องเนรเทศสีดา ภรรยาที่ตนรักยิ่ง ถึงขนาดสร้างกองทัพที่เกรียงไกรไปทำมหาสงคราม ที่เมื่อชนะ แต่ท้าวเธอกลับลงโทษหญิงอันเป็นที่รักด้วยการเนรเทศ
ติดตามในเล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
ปัจฉิมบท แห่งมหาสงครามนครลงกา...
อินทรชิตจะบูชายัญเพื่อให้ตนเองมีฤทธิ์ที่ไม่มีใครสามารถเอาชนะได้ แม้แต่เทวดา
ในขณะที่ทศกัณฐ์ ก็ยังมีความลับที่พระรามตีไม่แตก นั่นคือ จะสังหารพญารากษตตนนี้ได้อย่างไร
ท้ายที่สุด ทีมพระรามจะสามารถผลาญ ทีมยักษ์แห่งนครลงกา ได้หรือไม่
และคติความเชื่อที่แฝงในกัณฑ์นี้คืออะไร ติดตามใน ยุทธกัณฑ์ ในส่วนปัจฉิมบท
มหาสงครามเริ่มต้นขึ้นแล้ว….
กองทัพของพระราม และกองทัพของทศกัณฐ์ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะในศึกต่างๆ ที่ได้เห็นไหวพริบต่างๆ ท่าทางของหนุมานและสุครีพ ความสามารถของพระราม พระลักษณ์ พร้อมๆ กับการได้เห็นนายทัพยักษ์อย่างกุมภกรรณ และอินทรชิตที่สู้ไม่ถอย รวมทั้งปริศนาที่ฝ่ายพระรามยังคงตีไม่แตก นั่นคือ ทำไมไม่สามารถแผลงศรฆ่าทศกัณฐ์ให้ตายลงได้ ในขณะที่อินทรชิตเอง ก็กำลังจะตั้งพิธีบูชายัญด้วยเลือดเพื่อเสริมฤทธิ์ให้ตนเองแข็งแกร่งขึ้นไปอีก พระรามกำลังอยู่ในวิกฤต!!!
ติดตามฟังใน เล่ารอบโลก
ยุทธกัณฑ์ กัณฑ์ที่สำคัญที่สุดของมหากาพย์รามายณะ เพราะมหาสงครามระหว่างมวลมนุษย์และเหล่ารากษต กำลังจะเริ่มขึ้น เนื่องจากเป็นกัณฑ์สำคัญที่สุดของรามยณะ จึงขออ้างอิงจากหนังสือ บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ของในหลวง ร.6 โดยจะอธิบายเหตุการณ์หลังจากหนุมานเผาเมืองลงกา ทศกัณฑ์และพิเภกแตกคอกัน พิเภกในรามเกียรติ์ของไทยกับพิเภกในรามายณะของอินเดียแตกต่างกันอย่างไร
และกระบวนการในการ จองถนน ของพลพรรคลิงเพื่อให้กองทัพของพระรามข้ามมหามุทรสู่นครลงกา
ต่อด้วยตำนานการเกิดขึ้นของ "สาคร" สายน้ำสำคัญ การอัญเชิญพระแม่คงคา รวมทั้งกำเนิดแม่น้ำสายหลักและมหาสมุทรอินเดีย ตามความเชื่อของชาวภารตะ
หลังจากฟังเรื่องรามายณะ ตอน สุนทรกัณฑ์ แล้ว ตอนนี้เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม จะชวนฟัง เพื่อเปรียบเทียบ ความเหมือนในความต่าง กับรามเกียรติ์ ตอน สืบมรรคา ซึ่งเนื้อเรื่องเป็นเหตุการณ์เผากรุงลงกาเหมือนกัน แต่วิธีการดับไฟที่ปลายหางของหนุมานนั้น ช่างแตกต่างกัน และนางผีเสื้อสุรนาที่หายไปจากรามายณะ กลายเป็น พระนารทฤาษี ได้อย่างไร
เล่ารอบโลกชวนฟังมหากาพย์รามายณะกันต่อ ในกัณฑ์ที่ 5 สุนทรกัณฑ์
หนุมานเดินทางข้ามช่องแคบ Rama Setu ที่เชื่อมระหว่างอนุทวีป อินเดียและลังกาปุระ หรือศรีลังกาในปัจจุบัน การเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางแห่งอำนาจของพญารากษส ราวณา เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอดแนม ว่า นางสีดา ยังคงมีชีวิตอยู่หรือเป็นตายรายดีอย่างไร ก่อนที่จะลงมือเผากรุงลงกา
มาฟังซิว่า ตอนนี้ของรามายณะ มีความเหมือนหรือต่างกันกับรามเกียรติ์ อย่างไร
เล่ารอบโลก ชวนฟังกันต่อกับมหากาพย์รามายณะ กีษกินธกัณฑ์
กัณฑ์นี้เป็นเรื่องความขัดแย้งของพญาลิง สุครีพ กับ พาลี และอสูร ทุนทุพี หรือพญาควายทรพี ในภาครามเกียรติ์ของไทย จนถึงการสร้างพันธมิตรของพระรามกับสุครีพ เพื่อปราบพาลี การถวายตนของหนุมาน ก่อนที่จะออกเดินทางตามหานางสีดา พร้อมกับการขยายความว่า ใครเป็นใครในทีมลิง 18 มงกุฎ
เล่ารอบโลก ชวนคุณฟังมหากาพย์ “รามายณะ” ที่เราคนไทยส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ “รามเกียรติ์” มาฟังกันซิว่าแต่ละกัณฑ์ เหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร
ในกัณฑ์ที่ 2 อโยธยากัณฑ์ จากความขัดแย้งของบทบาทหน้าที่ตามที่ถูกลิขิต ซึ่งเป็นผลกรรมของพระรามที่สมัยเด็กเคยไป bully นางทาสีหลังค่อม ทำให้พระรามต้องออกจากเมืองอโยธยา 14 ปี พร้อมกับพระลักษมณ์ และนางสีดา
ตามมาด้วยกัณฑ์ที่ 3 อรัญกัณฑ์ ทั้ง 3 ออกเดินดงระหกระเหิน จากอุตตรประเทศ สู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ถูกล่อลวงโดยกวางทอง สีดาถูกลักพาตัว และการเดินหน้าสู่ที่ราบสูง Deccan
เล่ารอบโลกตอนนี้ พาคุณไปฟังมหากาพย์สำคัญ ที่ก่อกำเนิดจากเอเชียใต้ แผ่ขยายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากมหาสงครามระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ในภูมิภาคเอเชียใต้ ที่เป็นต้นเรื่องของมหากาพย์ รามายณะ ที่ผนวกแนวคิด ความเชื่อ ศาสนา เช่นศาสนาพราหมณ์
การเผยแพร่รามายณะจากชมพูทวีปสู่อุษาคเนย์ ทำให้มีศิลปที่ได้รับวัฒนธรรมจากรามายณะ
รามายณะมีกี่ version แบบไหนที่พัฒนาต่อยอดเป็นรามเกียรติ์
และบทเริ่มต้นของ รามายณะ กัณฑ์ที่ 1 ภารกัณฑ์ ซึ่งกล่าวถึงกำเนิดพระรามและนางสีดา สู่การเป็นพันธมิตรของ 2 มหาอำนาจ อโยธยา-มิถิลา
ทั้งหมดนี้ ใน เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
ภูมิภาคเอเชียใต้ ที่ประกอบไปด้วยประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ ทำไมถึงเรียกว่า ชมพูทวีป
สู่การเกิดอารยธรรม และศาสนา ความเชื่อ วิถีชีวิต และมหากาพย์มหาภารตะ & รามายณะ
การก่อกำเนิดวรรณะต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร การแต่งงานข้ามวรรณะ ส่งผลต่อคนนอกวรรณะอย่างไร และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ จันฑาล
แล้วในปัจจุบัน ยังมีเรื่องของการแบ่งแยกวรรณะในภูมิภาคเอเชียใต้หรือไม่
ติดตามฟัง เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
รายการเล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม จะพาคุณผู้ฟัง ไปทำความรู้จักภูมิศาสตร์เอเชียใต้ ทำไมถึงถูกเรียกว่าเป็น อนุทวีป ย้อนหลังไปตั้งแต่ยุคก่อนไดโนเสาร์ การเกิดขึ้นของเทือกเขาหิมาลัย ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดคือ เอเวอเรสต์ หิมะที่ปกคลุม อากาศหนาวเย็น เมื่อหิมะละลายก็กลายเป็นสายน้ำหลายสายที่หล่อเลี้ยงประเทศในแถบเอเชียใต้ ที่ถือเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์เช่น แม่น้ำคงคา ทำให้เราเข้าใจวิธีคิดและความเชื่อของคนในเอเชียใต้ ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ พระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม รวมเป็น ตรีมูรติ เมื่อเราเข้าใจก็ทำให้เรามองเห็น โอกาสการค้าการลงทุน กับตลาดที่มีประชากร 1,800 ล้านคน และปี 2565 เราจะเป็นเจ้าภาพ BIMSTEC ความร่วมมือกับเอเชียใต้
ทำไมประเทศญี่ปุ่นมีสถานที่ท่องเที่ยวน้ำพุร้อนหรือออนเซ็นมากมาย
ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ ของญี่ปุ่น คือหนาวเหน็บ หิมะปกคลุม ทำการเกษตรไม่ได้ แต่ว่าก็มีแนวภูเขาไฟ 108 ลูก ซึ่งมีพลังงานความร้อนใต้ดิน ใกล้แหล่งน้ำใต้ดิน ที่เหมือนถูกต้มอยู่ตลอดเวลา จึงดันน้ำพุร้อนพุ่งออกมา เป็นแหล่งน้ำพุร้อน ที่มีแร่ธาตุหลายชนิด กลายเป็นความศักดิ์สิทธิ์อันเกิดจากความแร้นแค้น ที่ต่อมาคนญี่ปุ่น ใช้ประโยชน์จากน้ำพุร้อนนี้ ด้วยบริการแช่ออนเซ็น ที่อาศัยคุณสมบัติของออนเซ็นแต่ละประเภทบำบัดสุขภาพ และมีวิธีการใช้ออนเซ็นและบริการเสริมมากมาย ออนเซ็นจึงกลายเป็นวีถีชีวิตของคนญี่ปุ่น
แต่ทำไม คนมีรอยสักถึงแช่ออนเซ็นไม่ได้?
ติดตามได้ในรายการ เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
เมื่อมีการระบาดของโควิด-19 ปี 2563-2564 ทำให้กิจกรรมทุกอย่างหยุดชะงักเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นขาลง ผู้คนต่างได้รับผลกระทบเพราะขาดรายได้ ไม่มีเงินใช้จ่าย
แต่เมื่อเข้าสู่ปี 2565 หรือ 2022 เราพอจะมีโอกาสพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้หรือไม่
ไทยจะมีโอกาส มีความหวังได้อย่างไร
อะไรพอที่จะเป็นปัจจัยทำให้เราพอมองเห็นโอกาสที่เศรษฐกิจจะดีขึ้นได้บ้าง เช่น
1.เห็นสัญญาณชัดเจนที่เศรษฐกิจโลก และห่วงโซ่มูลค่าระดับนานาชาติ (Global Value Chain) กำลังฟื้น เศรษฐกิจโลกจะเป็นขาขึ้น โดยอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าโควิด-19 การระบาดทรงตัวหรือดีขึ้น
2. โครงสร้างพื้นฐานพร้อมที่จะทำให้การค้าบนโลก on-line เปิดพรมแดนใหม่บน Cyberspace เกิดขึ้นได้จริง
3. ทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับไทยและอาเซียน ตลอดปี 2022 จากปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ และภูมิเศรษฐศาสตร์ ไทยเป็นเจ้าภาพ APEC อินโดนีเซียเจ้าภาพ G-20 และกัมพูชา เจ้าภาพอาเซียน และ East Asia Summit ในขณะที่สหรัฐจะเปิด trade deal ใหม่ในนาม Indo Pacific Economic Framework
ติดตามการวิเคราะห์ได้ในรายการ เล่ารอบโลก กับ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม
พิธีการชงชา หรือ ชาโดะ แปลว่าวิถีแห่งความสงบเรียบง่ายแห่งชา เริ่มมาตั้งแต่เมื่อชาเข้าไปในญี่ปุ่น เมื่อ 900 ปีที่แล้ว ผ่านการปรับวิธีชงชาให้ทันสมัย แต่แทรกไว้โดยปริศนาธรรม ปรัชญาญี่ปุ่น วิถีแห่งเซน ความพิถีพิถันเริ่มตั้งแต่เลือกสถานที่ชงชา โดยแยกเรือนออกมา มักอยู่ในสวนมีหิน ต้นไม้ ดอกไม้ สวยงาม สงบ ภาชนะที่ใช้ชงชาที่ออกแบบเฉพาะโดยอาจใช้ทุกส่วนของต้นไผ่ หรือถ้วยชาที่อาจไม่กลมสมมาตรแต่ขึ้นอยู่กับผู้ปั้นถ้วยชา แสดงถึง ความงามที่ไม่สมบูรณ์พร้อม หรือวาบิ ซาบิ รวมถึงวิธีการชงชาและการดื่ม ที่ต้องดื่มด้วยความเงียบ 2 ครั้ง แต่ดื่มครั้งที่ 3 ต้องสูดปากให้เหมือนสูดลมด้วยเพื่อลิ้มรสชาให้แตกต่าง และต้องเช็ดขอบถ้วยชาให้สะอาด หมุนถ้วยชาเพื่อชมความงามของถ้วยชา การชงชาแบบนี้ก็ด้วยแนวคิดการปฏิบัติดูแลผู้มาเยือนอย่างจริงใจ เพราะเราอาจได้พบกันแค่ครั้งเดียวจึงปฏิบัติต่อกันให้ดีที่สุด
ติดตามความละเอียดใส่ใจในวิถีของการชงชาแบบญี่ปุ่น ที่เป็นความงามที่เรียบง่าย ในรายการ เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์
"วิถีแห่งเซน วิถีแห่งชา"
การจะเข้าใจพิธีชงชาให้ถึงแก่นแท้ เราต้องเข้าใจวิถีแห่งเซนก่อน...
เซน (禅) คือนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานที่เน้นในเรื่องการทำสมาธิ มีต้นธรรมมาจากพระมหากัสสปะ หนึ่งในอัครสาวกคนสำคัญขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เล่ารอบโลก ตอนนี้ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม จะพาท่านผู้ฟังไปหาคำตอบว่า เซน กับ ชา เกี่ยวข้องกันอย่างไร พร้อมกับฟังเรื่องราวสนุก ๆ ของวัดเส้าหลิน ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ปิดท้ายด้วย 'ดารุมะ' ตุ๊กตาล้มลุกของญี่ปุ่น และกำเนิดศิลปะการชงชาใน 3 ตระกูลของญี่ปุ่น
มาเข้าใจแก่นแท้ของชาให้มากขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ใน เล่ารอบโลก EP.12 : วิถีแห่งเซน วิถีแห่งชา ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์
“ชาญี่ปุ่น ความหมายที่มากกว่าการดื่มชา”
บางคนอาจจะเคยได้ดื่มชาคั่วหอมๆ ชากลิ่นข้าวคั่ว ชาที่มีรสเหมือนสาหร่ายทะเล ชาเขียว
รู้ไหมว่า ชาญี่ปุ่นมีกี่ประเภท? ดื่มชาแล้วมีประโยชน์อย่างไร
คนญี่ปุ่นเขาเติมน้ำตาลในชาเขียวหรือไม่ และกินชาเขียวใส่นมจะดีไหม?
ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ชวนผู้ฟังไปสำรวจจักรวาลชาของญี่ปุ่น ค้นพบที่มาของชาชนิดต่าง ๆ จนถึงกำเนิดการชงชาจากปรัชญา เจอกันแค่หนึ่งครั้งในชีวิต Ichi-go ichi-e 一期一会
ติดตามใน “เล่ารอบโลก” ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์
เครื่องดื่มจากใบไม้เล็ก ๆ ในชีวิตประจำวันของชาวจีนที่ถูกใช้ในตอนเริ่มต้นเพื่อสรรพคุณทางยา เป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการล้ำค่าในอดีต เป็นสินค้าสำคัญที่ขนส่งบนเส้นทางสายไหมไปยังนานาชาติ เดินทางไกลหลายร้อยพันกิโลเมตรจนหยั่งรากลึกกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการดื่มยอดนิยมของหลาย ๆ ประเทศทั้งในเอเชีย อินเดีย ตะวันออกกลาง จนถึงยุโรป
“ชา” เคยทำให้อังกฤษขาดดุลการค้าจีนอย่างมาก กระบวนการผลิตที่ซับซ้อน ยาวนานจนเป็นชาชั้นดีทำให้ชาบางชนิดกลายเป็นของล้ำค่าที่ถูกนำมาใช้เก็งกำไรและมีมูลค่าสูงลิ่วเทียบเท่าหรือยิ่งกว่าไวน์ชั้นดีของประเทศตะวันตก
ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ชวนฟังเรื่องราวน่าสนใจของ "ชา" พืชเศรษฐกิจที่อยู่คู่ประวัติศาสตร์จีนมานานนับหลายพันปี ในรายการเล่ารอบโลก มาทำความรู้จักว่าชามีกี่ประเภท มีกรรมวิธีการผลิตอย่างไร แต่ละชนิดมีเสน่ห์โดดเด่นตรงไหนจนสามารถครองใจผู้คนได้ค่อนโลกให้หลงรักเครื่องดื่มกลิ่นหอมละมุนชนิดนี้
ติดตามรายการ "เล่ารอบโลก" ได้ทุกวันอาทิตย์ ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์
เครื่องเขียนชิ้นเล็ก ๆ ที่มีประวัติและพัฒนาการต่อเนื่องยาวนาน บางยี่ห้ออายุเก่าแก่กว่าร้อยปี กลายเป็นยี่ห้อยอดนิยมในดวงใจใครหลาย ๆ คนโดยเฉพาะผู้ที่ชอบขีด ๆเขียน ๆ
มาติดตามกลเม็ดเคล็ดไม่ลับจากแนวทางการทำธุรกิจ “ปากกา” จากบริษัทใหญ่เจ้าดัง เขามีวิธีจับใจลูกค้าอย่างไรจนเติบโตเป็นบริษัทผลิตปากกายักษ์ใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นได้
ใช้กลยุทธอย่างไรให้ ปากกา ของคุณเป็นที่พึงพอใจและดึงดูดลูกค้า ?
เล่ารอบโลก ดร.ปิติ ศรีแสงนาม จะชวนคุณผู้ฟังมาเรียนรู้เศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศและการบริหารธุรกิจจาก 'ปากกา' ที่เหน็บไว้ในกระเป๋าเสื้อของคุณ วันอาทิตย์นี้ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์
ปากกา เครื่องเขียนแสนธรรมดาที่เราแทบทุกคนเคยใช้และคุ้นชิน แต่ใครจะรู้บ้างว่าที่มาและประวัติศาสตร์ของปากกานั้นเป็นอย่างไร...
ชวนฟังว่า สีเทียน ทำมาจากอะไร และ ยางลบโพลิเมอร์ ทำไมจึงเป็น 'นวัตกรรม'
เชิญคุณผู้ฟังมาทำความรู้จักเรื่องราวของ ปากกา และเครื่องเขียน ที่แสดงให้เห็นถึงสุดยอด 'นวัตกรรม' ของมนุษย์
ใน เล่ารอบโลก EP. 8 : ประวัติศาสตร์ปากกา โดย ดร.ปิติ ศรีแสงนาม วันอาทิตย์นี้ ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์
ภูมิศาสตร์สัมพันธ์กับอาหารการกิน... เพราะเหตุใดคนในพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของจีนจึงนิยมรับประทานเผ็ด?
เชิญพบกับรสชาติเผ็ดร้อนของ 'ฮวาเจียว' (花椒) หรือพริกไทยเสฉวนในอาหารจากดินแดนทางตะวันตก
แล้วไปฟังกันว่าที่คนไทยเรียกเมนู 'หมาล่า (麻辣)' ถ้าไปสั่งที่เมืองจีนจะได้เมนูหน้าตาอย่างเดียวกันด้วยหรือไม่?
มาทำความรู้จักกับ 'หวังเหล่าจี๋' เครื่องดื่มเจ้าใหญ่สุดฮิตในจีน ที่เบื้องหลังมีเรื่องราววุ่นวายเกี่ยวกับความขัดแย้งทางธุรกิจ
ชวนคุณผู้ฟังมาปิดท้ายความอร่อยของเสน่ห์อาหารจีนได้ใน 'เล่ารอบโลก' โดย ดร.ปิติ ศรีแสงนาม วันอาทิตย์นี้ ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์
"ภูมิศาสตร์" สัมพันธ์กับ "อาหาร" อย่างไร
ประเทศจีนมีอาณาเขตรูปร่างคล้ายแม่ไก่ แต่ละพื้นที่มีอาหารที่โดดเด่นแตกต่างกัน
"เล่ารอบโลก" ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์ในตอนนี้
ดร.ปิติ ศรีแสงนาม จะมาชวนคุยเรื่องอาหาร หวยหยาง Huaiyang cuisine (淮揚菜) ซึ่งอยู่ในกลุ่มพื้นที่ทางตะวันออกแม่น้ำแยงซีเกียง และต่อยอดไปถึงอาหารฮกเกี้ยน
เสน่ห์ของ 'อาหารกวางตุ้ง' คืออะไร ทำไมเป็ดย่างหมูแดงกวางตุ้งจึงมีสีแดงและแตกต่างจากเป็ดปักกิ่ง?
ทราบหรือไม่ว่า "ซอสหอยนางรม" เครื่องปรุงยอดนิยมของหลาย ๆ บ้าน มีที่มาจากความบังเอิญและผิดพลาด
แล้วสูตรโจ๊กกวางตุ้งที่เราชอบรับประทานกันนั้น แท้จริงแล้วเป็นอย่างไรกันแน่ ?
สัปดาห์นี้ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม จะชวนคุยเกี่ยวกับ 'อาหารกวางตุ้ง' อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย เลือกใช้วัตถุดิบที่สด ดี มีคุณภาพ อาหารที่จะเติมเต็มความทรงจำและกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว ในรายการ "เล่ารอบโลก" ทุกวันอาทิตย์ ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์
อาหารจีนมีกี่ประเภท แต่ละภูมิภาคเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
“เล่ารอบโลก” สัปดาห์นี้ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ชวนผู้ฟังไปทำความรู้จักอาหารจีนในสายตระกูลต่าง ๆ เจาะลึกความเป็นมา ตำนานและเคล็ดลับของการทำ‘เป็ดปักกิ่ง’ หนึ่งในเมนูอันเลื่องชื่อ ซึ่งกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของแผ่นดินจีนไปแล้ว
ค้นหาคำตอบว่าเป็ดปักกิ่งในเมืองจีนต่างจากเมนูเดียวกันเมื่อเสริฟในเมืองไทยอย่างไร
พร้อมติดตามกรรมวิธีการผลิต ชาจีนดอกมะลิ (茉莉花茶) ที่ต้องละเอียดและปราณีตเพื่อผสมผสานความหอมกรุ่นละมุนของดอกมะลิกับกลิ่นใบชาให้ได้อย่างลงตัว
ติดตามเรื่อง ‘อร่อย ๆ’ กับ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม ในรายการ "เล่ารอบโลก" อีกครั้ง พร้อมอัพเดทตอนใหม่ทุกวันอาทิตย์ ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์
นอกเหนือจากรส หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม แล้ว ยังมีความอร่อยรสชาติที่ 5 คือ “อูมามิ” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของความกลมกล่อมในอาหารทุกจาน
อูมามิ เกิดจากอะไร? ชาติในภูมิภาคอาเซียนมีอาหารและเครื่องปรุงที่ทำให้เกิดรสอูมามินี้มากมายหลากหลายเมนู และเป็นอาหารที่มีวัฒนธรรมร่วมกันหรือกระทั่งมีเหมือนกันในหลาย ๆ ชาติ เพียงแค่คำเรียกขานแตกต่างกันไป ซึ่งเกือบทั้งหมดคืออาหารที่ถูกหมักบ่มในเวลาที่เหมาะสมจนเน่า แล้วกลายมาเป็นของอร่อยในที่สุด
ร่วมไขเคล็ดลับความอร่อยของอาหารที่ทำให้เกิดรสอูมามิในภูมิภาคอาเซียนนี้ กับ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ในรายการ "เล่ารอบโลก" ทุกวันอาทิตย์ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์
“หวย” กับ “ผี” เกี่ยวกันตรงไหน
รู้หรือไม่ว่าชาติใดคือผู้นำความเชื่อเรื่องการขอหวยกับผีแพร่ไปยังชาติอื่น ๆ ในอาเซียน
"เทพทันใจ" และ "เทพกระซิบ" แท้จริงแล้วคือใคร
ทำไม วิญญาณพยาบาทจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและเป็นปมความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่น
พร้อมทำความรู้จักกับวัดในลัทธิชินโต (神道) และความเชื่อเรื่องวิญญานของคนญี่ปุ่น
ดร.ปิติ ศรีแสงนาม จะมาเล่าเบื้องลึกเบื้องหลังใน "เล่ารอบโลก” รายการที่จะพาคุณผู้ฟังร่วมเดินทางไปรอบโลกพร้อมเรื่องราวสนุก ๆ ทุกวันอาทิตย์ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์
“ผี” มีจริงไหม ทำไมคนมากมายกลัวผี ทั้งที่ไม่เคยเห็นหรือรู้จักแม้แต่ครั้งเดียว จาก “แคน” เครื่องดนตรีเก่าแก่ในภูมิภาคอาเซียนนี้ ไปจนถึงออร์แกนซึ่งเป็นเครื่องดนตรี มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับ “ผี”
พบรายการใหม่ “เล่ารอบโลก” ทางไทยพีบีเอสพอดคาสต์ ที่ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญอาเซียน-อินเดีย จะมาไขปริศนาและความหมายของ ผี ที่ลุ่มลึก หลากมิติ และส่งท้ายด้วยเคล็ดไม่ลับจะไปพักโรงแรมต่างถิ่น ต่างประเทศอย่างไรไม่ให้ถูกผีหลอก ฟังรายการตอนนี้แล้วคุณจะมีมุมมองเกี่ยวกับผีที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
En liten tjänst av I'm With Friends. Finns även på engelska.